RFID เทคโนโลยีพื้นฐานสู่โลกอนาคต – Next generation of RFID Technology
หลายๆคนมอาจจะองข้ามเทคโนโลยีนี้กันไปแล้ว แต่ใครจะทราบว่าตอนนี้เทคโนโลยี RFID นั้นกลายเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานแห่งโลกอนาคตไปแลว เทคโนโลยีนี้ได้เข้ามาแทรกซึมและอยู่ในชีวิตประจำวันของเราไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้ารู้แบบนี้แล้วเรามาทำความรู้จักเทคโนโลยี RFID ให้มากขึ้นกันดีกว่าครับ
การทำงานของเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (RFID) หรือเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นความถี่วิทยุในเชิงธุรกิจนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อ กรองหรืออ่านข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน RFID tag หรือ RFID card ไปสู่เครื่องอ่านหรือ RFID reader และนำข้อมูลนั้นไปประมวลผล หรือตรวจสอบก่อนจะสั่งการไปยังอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ให้ทำงานในขั้นตอนต่อไป เช่น ระบบแตะบัตรเพื่อตัดเงินในบัตรรถไฟฟ้า, ระบบตัดเงิน Easy Pass บนทางด่วน เป็นต้น
RFID นั้นจะถูกแยกออกตามคลื่นความถี่และระยะการอ่านระหว่างเครื่องอ่าน RFID และ RFID tag ซึ่งคลื่นความถี่ของเทคโนโลยี RFID นั้นจะถูกแยกออกเป็น 4 คลื่นหลัก ได้แก่ คลื่นความถี่ต่ำ (Low- Frequency, LF) คลื่นความถี่สูง (High Frequency, HF) คลื่นความถี่สูงยิ่ง (Ultra-High Frequency, UHF) และคลื่นไมโครเวฟ (Microwave) ซึ่งระยะการอ่านในแต่ละคลื่นความถี่จะแตกต่างกันตามช่วงความถี่ที่ถูกระบุไว้ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่แบบสัมผัสไปถึงระยะ 20-30 เมตร ขึ้นอยู่กับเครื่องอ่านและ RFID tag
องค์ประกอบของระบบ RFID นั้นถูกแยกส่วนประกอบออกมา 2 ส่วน ได้แก่ ป้ายอาร์เอฟไอดี (RFID tag) และเครื่องอ่านอาร์เอฟไอดี (RFID reader) โดย RFID tag จะถูกออกแบบให้มีรูปลักษณ์และขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสมของแต่ละการประยุกต์ใช้งาน เพื่อให้สามารถยึดหรือติดกับวัตถุ หรือสินค้าใดๆ ที่ต้องการติดตาม หรือระบุตัวตนได้อย่างแม่นยำ ส่วน RFID reader คือ เครื่องสื่อสารกับป้าย RFID โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุในการรับค่าหรือเขียนข้อมูลลงไปในป RFID tag
ป้ายกำกับสินค้าหรือวัตถุ หรือ RFID tag จะประกอบไปด้วยวงจรคู่ควบและไมโครชิป โดยที่วงจรคู่ควบจะทำหน้าที่ในการแยกแยะข้อมูลสัญญาณนาฬิกา และพลังงานที่ถูกส่งรวมกันมาทางคลื่นความถี่วิทยุ และในส่วนของไมโครชิปจะมีหน่วยความจำ และตัวประมวลผลซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซึ่ง RFID tag นั้นยังถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่ RFID passive tag และ RFID active tag นอกจากนี้ RFID tag สมัยใหม่ยังถูกออกแบบมาให้ทนทานและสามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น ไม่เหมือนสมัยก่อนที่ต้องอาศัยการออกแบบที่ซับซ้อน ทำให้ตอนนี้บุคคลทั่วไปก็สามารถใช้งาน RFID ได้เช่นกันครับ
โดยทั่วไปภายในเครื่องอ่านจะมีการติดตั้งวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น วงจรภาครับและวงคารส่งคลื่นความถี่วิทยุ, วงจรควบคุมการทำงานและวงจรคู่ควบ เพื่อทำหน้าที่ในการติดต่อสื่อสารกับ RFID tag สำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งพลังงานผ่านคลื่นความถี่วิทยุไปยัง RFID tag เพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับป้อนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายใน RFID tag นอกจากนี้เครื่องอ่านยังถูกออกแบบให้มีจุดเชื่อมต่อในรูปแบบต่างๆ เช่น RS-232, RS-485, USB และ TCP/IP เพื่อสามารถติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้อย่างสะดวกและเหมาะสมกับลักษณะการใช้งานในแต่ละงานประยุกต์
www.matchpoint.co.th
หากท่านสนใจประยุกต์ใช้งาน RFID สามารถติดต่อเราได้ที่เบอร์ 083-075-7726 หรือ 02-743-2533-34 ได้เลยครับ แต่ถ้าหากว่าท่านอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดตามเราเพื่อรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ท่านได้เลยครับ