3 ส.ค. 2021 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
“FOBO” ภาวะไม่กล้าตัดสินใจ เพราะกลัวเจอสิ่งที่ดีกว่า แล้วจะเสียดาย
6
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า FOMO (Fear Of Missing Out) หรือที่หมายถึง การกลัวว่าตัวเองจะตกกระแส เลยรีบตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อไม่ให้ตกเทรนด์
11
แต่คำว่า FOBO (Fear Of Better Options) คือสิ่งที่ตรงกันข้าม โดยคนที่มีอาการนี้มักจะตัดสินใจอะไรช้าแทบจะทุกเรื่อง ไปจนถึงการ “ไม่กล้าตัดสินใจอะไรด้วยตัวเองเลย” เพราะกลัวว่าถ้าเลือกไปแล้ว เดี๋ยวจะต้องเจอตัวเลือกที่ดีกว่าแน่ ๆ แล้วตัวเราจะเสียดาย
4
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังมีอาการ FOBO
และถ้าเรากำลังเป็นอยู่ วิธีไหนที่จะช่วยแก้ไขได้บ้าง ?
1
ขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เราอยากกินข้าวหน้าเนื้อ แต่ตัดสินใจไม่ได้เสียทีว่าจะกินร้านไหน เราก็มักจะถามคนรอบข้าง หรือตั้งโพสต์ถามคนในโซเชียล
และเมื่อมีคนแนะนำร้านต่าง ๆ มาแล้ว เราก็ยังตัดสินใจไม่ได้อีก มัวแต่คิดเรื่องราคาบ้าง คิดเรื่องหน้าตาอาหาร คิดเรื่องระยะทาง คิดไปต่าง ๆ นานา เพื่อหาความคุ้มค่า จนใช้เวลาที่นานมากเกินไป สำหรับการกินอาหารสักหนึ่งมื้อ
ซึ่งบางครั้ง เราก็อาจจะยกเลิกการกินข้าวหน้าเนื้อไปเลย เพราะกลัวว่าในตัวเลือกที่เรามีอยู่ เราอาจจะไปเลือกสิ่งที่มันไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด
โดยเรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกมิติในชีวิต ตั้งแต่เรื่องของการลงทุน การทำงาน
1
เช่น นักลงทุนมือใหม่ ไม่กล้าลงทุนในกองทุน A เพราะกลัวว่าข้อมูลที่มีอยู่ยังไม่รอบด้าน
และแม้ว่าจะเจอตัวเลือกที่ดีแล้ว ก็ยังไม่ตัดสินใจซื้อ เพราะคิดว่าถ้าหาข้อมูลต่ออีกหน่อย น่าจะเจอตัวเลือกที่ดีกว่านี้แน่ ๆ
ซึ่งการตัดสินใจที่ล่าช้านี้เอง ก็ทำให้ใครหลายคน พลาดโอกาสในการลงทุนไปมากมาย
และหากอาการ FOBO เกิดขึ้นในที่ทำงาน เราก็จะเป็นคนที่ไม่กล้าลงมือทำอะไรเลย รอฟังแต่คำสั่ง หรือเอาแต่ถามจุกจิกทั้งวัน ซึ่งมันก็อาจจะส่งผลให้เพื่อนร่วมงานเกิดความรำคาญ
ซึ่งอาจทำให้กระบวนการทำงานล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็น หรือบางทีอาจทำอะไรไม่เสร็จเป็นชิ้นเป็นอันเลย ซึ่งแน่นอนว่ามันจะส่งผลด้านลบต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเรา
แล้วจะมีวิธีอะไรที่พอจะช่วยแก้อาการ FOBO ได้บ้าง ?
1. ตั้งเกณฑ์มาตรฐาน และตัดชอยซ์
เราควรตั้งเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่งขึ้นมา จากนั้นก็พยายามตัดชอยซ์ ให้ตัวเลือกเหลือน้อยที่สุด
ซึ่งจะช่วยให้เราใช้เวลาในการตัดสินใจได้ไวมากขึ้น โดยตัดสิ่งที่เรารู้สึกพอใจน้อยที่สุดออกไปก่อน หรือสิ่งที่ไกลจากเกณฑ์ที่เราตั้งไว้ เพื่อที่จะได้ใช้เวลาในการเปรียบเทียบน้อยลง
1
เช่น เราไม่อยากสั่งอาหารร้านที่ราคาแพง ก็ควรตั้งเกณฑ์ไปเลยว่า ร้านไหนราคาเกิน 200 ก็ตัดออกจากตัวเลือก
2. ลำดับความสำคัญ อย่าให้ทุกเรื่องในชีวิตสำคัญเท่ากันหมด
เราต้องตั้งต้นให้ดีว่า เรื่องที่เรากำลังคิดหรือตัดสินใจอยู่นี้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากน้อยแค่ไหน อย่าให้ทุกเรื่องมันมีความสำคัญเท่ากันหมด เพราะมันจะกลายเป็นว่าไม่มีอะไรสำคัญมากที่สุดจริง ๆ
3
อย่างเช่น เรื่องเสื้อผ้าที่จะใส่ไปทำงานทุกวัน ถ้าเราใช้เวลากับมันมากเกินไป เราก็จะเสียเวลาที่จะต้องไปทำเรื่องอื่น
ซึ่งเหตุผลนี้ก็ทำให้มหาเศรษฐีอย่าง มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก เลือกที่จะใส่เสื้อผ้าสบาย ๆ คล้าย ๆ กันทุกวัน เพื่อให้เขานั้นได้ใช้เวลากับเรื่องที่ไม่จำเป็นให้น้อยที่สุด
เพราะแค่การเลือกเสื้อผ้า เขามองว่า มันไม่ได้ส่งผลกับอนาคตของบริษัท..
แต่ถ้าหากเป็นเรื่องการกำหนดทิศทาง หรือกลยุทธ์ของบริษัท นี่ต่างหากคือเรื่องที่ต้องใช้เวลากับมันให้ยาวนาน เพราะมันส่งผลกระทบต่อบริษัทและอีกหลายชีวิต
ดังนั้นการฝึกจัดลำดับความสำคัญ จะช่วยให้เราตัดสินใจกับเรื่องเล็ก ๆ ได้เร็วขึ้น
1
3. ควรปรับความเข้าใจต่อโลกใหม่ว่า “เราไม่มีทางรู้เลยว่าอะไรคือสิ่งที่เพอร์เฟกต์”
2
ในทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์จุลภาค ระบุว่า อาการ FOBO เกิดจากการที่คนเราต้องการความพอใจขั้นสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว เราไม่มีทางรู้เลยว่า เราจะพอใจสุด ๆ ตอนไหน
4
เราไม่มีทางรู้เลยว่า อะไรคือตัวเลือกที่ดีที่สุด ถ้าเราไม่รู้ว่าอะไรสำคัญหรืออะไรเป็นหลักเกณฑ์ที่เราถืออยู่
1
ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ เราต้องคิดเสมอว่าไม่มีอะไรเพอร์เฟกต์ ถ้ามัวแต่ต้องเสียเวลาเลือกสิ่งที่ดีที่สุดในทุก ๆ เรื่องของชีวิต
2
เพราะเราอาจจะพลาด “เวลา” สำคัญ ที่สามารถเอาไปใช้ทำอย่างอื่นที่มีประโยชน์กว่านี้ ได้อีกมหาศาล..
2
โฆษณา