3 ส.ค. 2021 เวลา 03:49 • สิ่งแวดล้อม
🦧💕ตื่นตาตื่นใจไปกับขั้นกว่าของบรรพบุรุษ
“โคราชพิเธคัส” เอปแห่งเอเชียอาคเนย์
📌 🙈 ง่าย ๆ เลย “เอป” ก็คือ ลิงใหญ่ที่ไม่มีหาง มีแขนที่ยาวกว่าลิงในวงศ์อื่น ๆ มีนิ้วที่ใช้ในการหยิบจับและใช้ประโยชน์คล้ายคลึงกับมนุษย์มากกว่าตระกูลลิงอื่นใด สามารถเดินตัวตรงได้ เช่น อุรังอุตัง, ชิมแปนซิ, ชะนี และกอริลลา ซึ่งเอปจัดได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์ หรือมีความใกล้ชิดทางสายวิวัฒนาการกับมนุษย์มากที่สุดเลยก็ว่าได้
📌 🙉 และรู้หรือไม่ว่า ที่น่าตื่นเต้นไปมากกว่านั้นคือ ซากดึกดำบรรพ์ของเอปขนาดใหญ่ถูกขุดพบที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกแห่งนี้ คือที่ประเทศไทยนั่นเอง ซึ่งขุดพบครั้งแรกที่ บ่อเหมืองบ้านสระ อ.เชียงม่วน จ.พะเยา ในปี 2542 แต่ต่อมาในปี 2545 คุณพิริยะ วัชจิตพันธ์ ได้มอบซากดึกดำบรรพ์เอปส่วนของขากรรไกรล่าง พร้อมฟันจำนวน 11 ซี่ ที่ขุดพบในแหล่งบ่อทราย อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา ตั้งแต่ปี 2542 และมีสภาพที่สมบูรณ์กว่าฟอสซิลเอปที่เคยพบ ให้กับกรมทรัพยากรธรณีและเครือข่ายเป็นผู้ตรวจสอบ จนเป็นผลสำเร็จ และให้ชื่อเอปสกุลและชนิดใหม่ของโลกนี้ว่า “โคราชพิเธคัส พิริยะอิ” เพื่อเป็นเกียรติตามชื่อของผู้มอบให้ และจากข้อมูลระบุว่ามีอายุอยู่ในช่วง ไมโอซีนตอนปลาย (7-6 ล้านปีก่อน)
📌🙊 ซึ่งเอปโคราชมีลักษณะคล้ายคลึงอุรังอุตังในปัจจุบัน ทั้งขนาดตัวที่เท่ากัน ฟันและกรามคล้ายอุรังอุตังปัจจุบันอย่างมาก อีกทั้งยังไม่มีรอยกล้ามเนื้อที่ใช้เปิดปิดปากใต้กรามส่วนหน้าเช่นเดียวกัน เพราะอวัยวะส่วนนั้นได้พัฒนามาเป็นถุงลมขนาดใหญ่ ไว้ใช้กู่ร้องสื่อสารกัน ซึ่งถุงลมดังกล่าวพบได้แค่ในอุรังอุตังไม่พบในสัตว์ชนิดอื่น จึงมั่นใจได้ว่า “โคราชพิเธคัส พิริยะอิ” จัดเป็นญาติใกล้ชิดที่สุดของอุรังอุตังเลยก็ว่าได้ และในปัจจุบันอุรังอุตังพบเฉพาะในเกาะบอเนียว และเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น จึงคาดว่าในอดีตประเทศไทยในสมัยไมโอซีนเคยมีสภาพเป็นป่าฝนเขตร้อน เช่นเดียวกับอินโดนีเซียปัจจุบัน และเชื่อว่าประเทศไทยเราเป็นต้นกำเนิดแห่งเอป และอุรังอุตังในปัจจุบันนั่นเอง
โฆษณา