Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หญ้าแพงโกล่า มาดี มีสุข
•
ติดตาม
4 ส.ค. 2021 เวลา 04:33 • การเกษตร
#การปลูกหญ้าแพงโกล่า
หญ้าแพงโกล่า
(Digitaria eriantha ; syn. D. decumbens)
เป็นหญ้าอายุที่มีหลายปี ต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย ลำต้นเล็ก ไม่มีขน ใบเล็กเรียวยาว ใบดกอ่อนนุ่ม มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินแตกรากและหน่อตามข้อต้นอ่อนตั้งตรง เมื่ออายุมากขึ้นลำต้นจะทอดนอนไปตามพื้นดิน
หญ้าแพงโกล่า
เป็นหญ้าอายุที่มีหลายปี ต้นกึ่งตั้งกึ่งเลื้อย ลำต้นเล็ก ไม่มีขน ใบเล็กเรียวยาว ใบดกอ่อนนุ่ม มีลำต้นทอดนอนไปตามพื้นดินแตกรากและหน่อตามข้อต้นอ่อนตั้งตรง เมื่ออายุมากขึ้นลำต้นจะทอดนอนไปตามพื้นดิน
หญ้าแพงโกล่า
มีความยาว 40-64 ซม. มีปล้อง 7-13 ปล้อง
ปล้องยาว 3-8 ซม. ใบยาว 12-19 ซม. กว้าง 4 มม.
เหมาะสำหรับทำหญ้าแห้ง ทนน้ำท่วมขัง เจริญเติบโตดีในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะสำหรับปลูกในเขตชลประทาน หรือในพื้นที่ที่มีฝนตกเฉลี่ยมากกว่า 1,000 มม./ปี ขึ้นได้ดีในดินหลายชนิด ตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียว ทนแล้งได้ดีแต่ก็สามารถเจริญเติบโตได้ในพื้นที่ชุ่มน้ำ ชื้นแฉะ ทนน้ำท่วมขังได้พอสมควร
สามารถปลูกได้ทั้งพื้นที่ลุ่มและพื้นที่ดอน
ผลผลิตน้ำหนักแห้ง 5.0-7.0 ตันต่อไร่ต่อปี โปรตีน 7-11 เปอร์เซ็นต์
หญ้าแพงโกล่า
การปลูก
การปลูกในพื้นที่ลุ่ม
ช่วงเวลาปลูก สามารถปลูกหญ้าแพงโกล่าในพื้นที่ลุ่ม ที่มีการให้น้ำชลประทานได้ตลอดทั้งปี การปลูกในพื้นที่ลุ่มให้เตรียมดินโดยการทำเทือกแบบนาหว่านน้ำตม
การเตรียมท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกลา ใช้การตัดหญ้าแพงโกลาทั้งต้น เมื่ออายุ 50-60 วัน ท่อนพันธุ์ที่ได้ควรนำไปปลูกทันที หากปลูกไม่ทันให้นำท่อนพันธุ์เก็บไว้ในที่ร่มแล้วรดน้ำให้ชุ่ม อย่ากองท่อนพันธุ์ให้สูงและหนามากเพราะจะร้อนและตายนึ่ง
การปลูกแบบเหยียบย่ำท่อนพันธุ์โดยใช้รถไถเดินตาม
การปลูก หลังจากเตรียมดินทำเทือกไว้แล้ว ปรับระดับน้ำให้สูง 10-15 เซนติเมตร ใช้ท่อนพันธุ์ อัตรา250-300 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านท่อนพันธุ์ให้ทั่วแปลง แล้วนาบกดท่อนพันธุ์ให้จมน้ำด้วยท่อ PVC หรือท่อเหล็กนาบให้ท่อนพันธุ์พอจมน้ำ หรือแตะกับเทือกที่เตรียมไว้แช่ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วระบายน้ำออก เมื่อท่อนพันธุ์สัมผัสกับผิวดินระบบรากก็จะเจริญเติบโต หลังจากนี้รากของหญ้าสีขาวจะงอกยาว 3-5 ซม. ทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน หญ้าจะสูง 10-15 ซม.จึงปล่อยน้ำเข้าอีกครั้งขังน้ำไว้ 2 วัน แล้วระบายน้ำออก ขณะดินแฉะใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ปล่อยทิ้งไว้อีก 1-2 สัปดาห์ จึงให้น้ำอีกครั้งพร้อมหว่านปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 10 กก./ไร่
หลังการปลูกประมาณ 60 วันเริ่มสามารถตัดไปใช้เลี้ยงสัตว์ได้
การปลูกในที่ดอน
การปลูกในพื้นที่ดอน
ช่วงเวลาปลูก ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน เพราะหญ้าจะได้รับน้ำฝนทำให้หญ้าตั้งตัวเร็วและเจริญเติบโตได้ดี
การเตรียมดินเช่นเดียวกับการปลูกพืชไร่ ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ทำการไถดะ (ใช้รถไถติดผาน 3 หรือ 4 จาน) ไถแปร (ใช้รถติดไถผาน 7 จาน) ไถพรวน (ใช้รถไถติดจอบหมุนตีนเป็ด) ไถในทิศทางสานกัน (ทิศตะวันออกไปตก
แล้วไถสานทิศเหนือไปทิศใต้) เพื่อย่อยดิน และปรับหน้าดินให้ราบเรียน
อาจใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 ตัน/ไร่ ในช่วงเตรียมดิน
ท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่า
การเตรียมท่อนพันธุ์ ใช้ท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่าเช่นเดียวกับการปลูกในที่ลุ่ม เมื่ออายุ 50-60 วัน ใช้ท่อนพันธุ์ อัตรา 250-300 กิโลกรัมต่อไร่
การปลูก หลังจากไถพรวนแล้ว ชักร่องห่างกัน 30 เซนติเมตร ลึก
ประมาณ 10 เซนติเมตร วางท่อนพันธุ์ 3-5 ท่อน เรียงต่อกันเป็นแถว ใช้ดินกลบเล็กน้อย ให้เหลือส่วนยอดไว้เล็กน้อย และเหยียบให้แน่น หรือใช้ท่อนพันธุ์หญ้าแพงโกล่า 300-350 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านให้เต็มพื้นที่ทั้งแปลง หลังหว่านเสร็จใช้รถฟาร์มแทร็กเตอร์ติดผานพรวน พรวนกลบทั้งแปลง โดยไม่พรวนกลบให้ลึกมาก
ประมาณ 10 เซนติเมตร และควรให้น้ำทันทีหลังปลูก โดยให้ดินมีความชื้น 1-2 สัปดาห์ ภายในเวลา 5-7 วันหญ้าจะเริ่มแตกต้นอ่อน ในช่วงเดือนแรกของการปลูกควรรักษาความชื้นของดิน ให้ดินมีความชื้นจะทำให้หญ้าแพงโกล่าแตกหน่อได้ดีและเลื้อยเต็มพื้นที่ได้รวดเร็ว
หญ้าแพงโกล่า
การใส่ปุ๋ย
ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้น และควรใส่ปุ๋ยคอกร่วมด้วย ในแต่ละรอบของการตัดควรใส่ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) 2 ครั้ง ๆ ละ 10 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งแรกหลังตัด 1วัน และครั้งที่ 2 หลังตัด 10-15 วัน หลังการให้น้ำแต่ละครั้งหรือขณะดินมีความชื้นเหมาะสมสำหรับการใส่ปุ๋ยรองพื้น สูตร 15-15-15 ในปีต่อไปควรใส่ตอนต้นฤดูฝนขณะดินมีความชื้นเหมาะสม
หญ้าแพงโกล่าและวัชพืช
การกำจัดวัชพืช
การปลูกหญ้าแพงโกล่าในที่ลุ่มจะมีวัชพืชหลายชนิดได้แก่ กก เทียนนา หนวดปลาดุก และโสน ถ้าวัชพืชขึ้นไม่มากให้ใช้วิธีการตัดปรับเมื่อหญ้ามีอายุ 60 วัน วัชพืชจะถูกหญ้าแพงโกล่าปกคลุมและจะลดปริมาณลงเมื่อตัดหญ้าจ านวน 2-3 ครั้ง หากมีวัชพืชในแปลงรุนแรงควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดใบกว้าง
เช่น สารกำจัดวัชพืช 2, 4-D (Disodiumsalt) อัตรา 150 กรัม ผสมน้ำ 100 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ ให้ทั่วแปลงขณะดินมีความชื้นแต่ไม่มีน้ าท่วมขังแปลง ทิ้งไว้ไม่น้อยกว่า 3 วันถึงจะให้น้ าได้ หากเป็นพื้นที่ดอน การกำจัดวัชพืชจะใช้วิธีการตัดปรับสภาพเพื่อกำจัดวัชพืชเป็นหลัก ถ้ามีวัชพืชหนาแน่นใช้การตัดปรับสภาพ 3-4 ครั้ง วัชพืชจึงจะลดลง
การตัดหญ้าแพงโกล่า
การให้น้ำ
การปลูกในพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่นา ควรมีการให้น้ำหลังจากการตัดหญ้าไปใช้ประโยชน์ และให้น้ำครั้งต่อไปทุกๆ 10-15 วัน โดยวิธีการปล่อยน้ำเข้าแปลง ในปริมาณน้ำที่คาดว่าน้ำจะแห้งได้ภายใน 1-2 วัน ส่วนในพื้นที่ดอนที่ไม่สามารถปล่อยน้ำเข้าแปลงได้ ควรให้น้ำด้วยระบบน้ำฝอย หรือสปริงเกอร์ ทุกๆ สัปดาห์ ในช่วงฝนทิ้งช่วงหรือในฤดูแล้ง
สภาพแปลงแพงโกล่าที่ยังไม่ให้น้ำ
การใช้ประโยชน์
การตัดหญ้าแพงโกล่าไปใช้เลี้ยงสัตว์ ควรตัดหญ้าครั้งแรก 60 วันหลังปลูก
และตัดครั้งต่อไปทุก ๆ 30-45 วัน ถ้าหญ้าเจริญเติบโตดีมากให้ตัดทุกๆ 30 วัน โดยตัดสูงจากพื้นดิน 5-10 เซนติเมตร
การตัดหญ้าแพงโกล่าในแต่ละครั้งจะได้น้ำหนักสด 3,000-4,000 กก./ไร่ หรือได้ผลผลิตเป็นน้ำหนักแห้ง 800-1,200 กก./ไร่
หญ้าแพงโกล่าให้ผลผลิตมากหรือน้อยขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน สภาพภูมิอากาศ การใส่ปุ๋ย การให้น้ำเป็นต้น ในรอบ 1 ปีสามารถตัดหญ้าแพงโกลาไปใช้ประโยชน์ได้ 6-8 ครั้ง หากเป็นพื้นที่ลุ่มอาจมีปัญหาการลงตัดยาก ไม่สามารถลงตัดได้เนื่องจากสภาพดินที่ชื้นแฉะ
การเจริญเติบโตของหญ้าแพงโกล่า
กรณีการใช้ประโยชน์แบบการปล่อยสัตว์เข้าแทะเล็ม ควรปล่อยสัตว์ลงแทะเล็มครั้งแรกเมื่อหญ้าอายุ90 วัน เพื่อให้ระบบรากของหญ้าแพงโกลามีความแข็งแรงก่อน วงรอบการปล่อยแทะเล็มครั้งต่อไปทุก ๆประมาณ 45 วัน หญ้าแพงโกล่าเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ ม้า ในรูปหญ้าสด หญ้าแห้ง หรือ หญ้าหมัก
การเก็บเกี่ยวหญ้าแพงโกลาที่อายุ 45 วัน มีวัตถุแห้ง (DM) 32%, มีโปรตีน 7.9%
เยื่อใยรวม (CF)27.9% คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย NFE 52.5% เยื่อใย ADF 35.7% เยื่อใย NDF 63.3% และ เถ้า (Ash) 8.6%
การเก็บเกี่ยวหญ้าแพงโกลาที่อายุมากกว่า 59 วัน มีวัตถุแห้ง (DM) 42%, มีโปรตีน 5.2% เยื่อใยรวม (CF) 29.6%
คาร์โบไฮเดรตที่ย่อยง่าย NFE 55.5% เยื่อใย ADF 38.3% เยื่อใย NDF 65.3% และ เถ้า (Ash)7.2%
การผลิตหญ้าแพงโกล่าแห้ง
การผลิตหญ้าแห้ง หมายถึง การทำให้พืชอาหารสัตว์ต่างๆ (ทั้งพืชตระกูลหญ้าและพืชตระกูลถั่ว) แห้งซึ่งมีความชื้นประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ หรือน้อยกว่านั้น โดยคุณค่าทางอาหารลดน้อยที่สุด ซึ่งสามารถเก็บถนอมไว้ให้สัตว์กินในฤดูกาลขาดแคลนอาหารสัตว์หญ้าแพงโกลาแห้งที่มีคุณภาพดีจะต้องมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับสัตว์ มีความน่ากิน อาจพิจารณาได้จาก สี กลิ่น ปริมาณใบ และสัตว์ชอบกินด้วย
ปัจจัยที่ควบคุมคุณภาพของหญ้าแห้ง
1. ต้องเป็นพืชที่มี คุณค่าทางอาหารสูง ให้ผลผลิตสูงและมีใบดก ก้านและลำต้นไม่แข็ง ไม่อวบน้ำมาก
นัก เพราะถ้าอวบน้ำจะทำให้เสียเวลาในการผึ่งและตากแดดนาน หญ้าแพงโกล่าเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมเนื่องจาก
เป็นหญ้าที่ใบดก ลำต้นเล็ก ไม่อวบน้ำ สามารถผลิตเป็นหญ้าแห้งได้ดี
2. การตัดหญ้าแพงโกลาเพื่อมาทำหญ้าแห้งในเวลาที่เหมาะสมจะมีอิทธิพลต่อคุณภาพของหญ้าแห้งมาก การตัดเมื่ออายุน้อยจะทำให้มีความชื้นมาก ผลผลิตน้ำหนักแห้งน้อยแต่เมื่อตัดเมื่ออายุมากจะทำให้การเพิ่มของสารเยื่อใยมาก ทำให้การย่อยได้ต่ำ ฉะนั้นการทำหญ้าแพงโกล่าแห้งจะต้องคำนึงถึงคุณภาพควบคู่กับ
ผลผลิตที่จะได้รับ อายุแพงโกลาที่เหมาะสมที่จะตัดทำหญ้าแห้งอยู่ในช่วง 30-45 วัน
3. วัชพืชหรือสิ่งปลอมปนในแปลงหญ้าแพงโกล่า มักจะพบวัชพืชจำนวนมากจะทำให้ได้หญ้าแห้งคุณภาพไม่ดี สัตว์ไม่ชอบกิน วัชพืชบางอย่างยังอาจมีพิษต่อสัตว์อีกด้วย จึงควรให้ความสำคัญกับการกำจัดวัชพืชในแปลงหญ้าแพงโกล่าด้วย
4. หลังการผลิตเป็นหญ้าแห้ง การเก็บรักษาต้องอยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น โรงเรือนที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกมีหลังคากันฝนเพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา
วิธีการทำหญ้าแห้ง
หลักสำคัญในการทำหญ้าแห้ง คือ การลดความชื้นทำได้ 2 วิธี คือ
1. การทำหญ้าแห้งโดยวิธีผึ่งแดด
1.1 การตัด โดยตัดในวันที่มีอากาศแห้ง คาดว่าฝนจะไม่ตก 3-5 วัน ควรตัดในเวลาเช้า หลังจาก
น้ำค้างแห้งแล้วเพื่อเป็นการลดความชื้นโดยเร็ว
1.2 การตาก หลังจากตัดแล้วตากหญ้าจนเหี่ยว หญ้าหมาดจำเป็นต้องมีการกลับกองหญ้าเพื่อให้แห้ง
เร็วขึ้น ประมาณ 1-3 ครั้ง การทดสอบโดยการนำหญ้ามาสักกำมือแล้วบิดสวนทางกันแล้วดูต้นหญ้าที่แตกถ้า
ไม่มีร่องรอยความชื้นถือว่าใช้ได้
2. การทำหญ้าแห้งโดยใช้เครื่องมือช่วย
2.1 การใช้ลมเป่า ซึ่งอาจเป็นลมธรรมดาหรือลมร้อนก็ได้ โดยการกองหญ้าไว้อย่างโปร่งๆ ในโรงเก็บหรืออาจทำเป็นชั้นๆ ที่มีท่อลมผ่านทำตามวิธีนี้ต้องใช้เวลา 7-14 วันขึ้นอยู่กับหญ้าที่ตัดมาในแปลงปล่อยให้แห้งพอสมควรและใช้ลมธรรมดาหรือลมร้อน
ข้อดีและข้อเสียของการทำวิธีนี้
- สามารถทำหญ้าแห้งได้ในขณะที่ดินฟ้าอากาศไม่อำนวย
- มีการสูญเสียจากการทำลายของแดดน้อยลง ทำให้มีหญ้าแห้งคุณภาพดีกว่า
- ค่าใช้จ่ายสูง ทั้งค่าอุปกรณ์และแรงงานในการขนหญ้าที่ยังไม่แห้ง
- การใช้เครื่องอบแห้ง วิธีนี้ลดการสูญเสียเกือบสิ้นเชิง ได้หญ้าแห้งที่มีคุณภาพสูง โดยเหตุที่ตัดพืชและนำมาทำแห้งทันที แต่ค่าใช้จ่ายสูง
3. การอัดก้อน
เมื่อหญ้าแห้งแล้วควรอัดเก็บไว้ โดยวิธีการใช้เครื่องจักรกลอัดชนิดที่ติดแทรกเตอร์ อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยม น้ำหนัก 18-20 กิโลกรัม หรืออัดแบบก้อนกลมขนาดใหญ่ น้ าหนัก 250-300 กิโลกรัม หรือใช้ลังไม้ที่ทำขึ้นเองอัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมก็ได้
ข้อดีของหญ้าแห้ง
1. วิธีการทำไม่ยุ่งยาก ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมสามารถทำให้เสร็จได้ใน 2-3 วัน
2. เมื่อนำไปให้สัตว์กินส่วนที่เหลือไม่สูญเสียโดยง่ายเหมือนกับหญ้าหมัก
3. สิ้นเปลืองแรงงานและต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าหมัก
4. สามารถนำไปเลี้ยงสัตว์และขายได้ทันที
ข้อเสียของหญ้าแห้ง
1. การทำหญ้าแห้งต้องขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ
2. มีการสูญเสียจากการร่วงหล่นของใบ
3. ในการเก็บต้องระมัดระวังเรื่องไฟไหม้และเปียกฝนทำให้ขึ้นรา
ขอขอบพระคุณข้อมูลวิธีการปลูกหญ้าแพงโกล่า
จากเอกสารของ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์
การเจริญเติบโตของหญ้าแพงโกล่า
สภาพหญ้าแพงโกล่า
การเจริญเติบโตและการเลื้อยขยายพันธุ์
หญ้าแพงโกล่าปลูกไว้ข้างบ้าน
บันทึก
1
5
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย