Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
4 ส.ค. 2021 เวลา 13:02 • สุขภาพ
นักวิจัยญี่ปุ่นพบโควิด 'แลมบ์ด้า' อันตรายกว่า 'เดลต้า' แพร่เร็ว-ต้านภูมิคุ้มกัน
4
"ศบค." เผยข้อมูลสำคัญ นักวิจัยญี่ปุ่นพบโควิดสายพันธุ์ "แลมบ์ด้า" ที่เปรูอันตรายยิ่งกว่า "เดลต้า" แพร่เร็ว-ต้านภูมิคุ้มกันได้
1
นักวิจัยญี่ปุ่นพบโควิด 'แลมบ์ด้า' อันตรายกว่า 'เดลต้า' แพร่เร็ว-ต้านภูมิคุ้มกัน
วันที่ 4 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊คศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 ได้เปิดเผยข้อมูลการแถลงข่าว ศบค. ประจำวันที่ 4 ส.ค.2564 ในหัวข้อประเด็นที่น่าสนใจมีข้อมูลจากนักวิจัยญี่ปุ่นพบ "แลมบ์ด้า" อันตรายยิ่งกว่า "เดลต้า" แพร่เร็วต้านภูมิคุ้มกันได้โดยทีมนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นเผยแพร่ผลศึกษาวิจัย ระบุว่า เชื้อกลายพันธุ์แลมบ์ด้า ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศเปรู และระบาดในหลายประเทศในอเมริกาใต้ นอกจากจะแพร่ได้สูงมากแล้ว ยังมีความสามารถในการต้านทานภูมิคุ้มกัน ซึ่งเกิดจากการกระตุ้นของวัคซีนได้มากกว่า เชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม
5
ทั้งนี้ นักวิจัยญี่ปุ่นนำโดย เคอิ ซาโตะ นักวิจัยอาวุโสประจำมหาวิทยาลัยโตเกียว ใช้วิธีการวิเคราะห์ในระดับโมเลกุลเพื่อจำแนกและประเมินความสัมพันธุ์ทางพันธุกรรม (molecular phylogenetic analysis) ของไวรัสกลายพันธุ์นี้ พบการกลายพันธุ์ สำคัญ 3 จุดที่เกิดขึ้นบริเวณ ตุ่มโปรตีน หรือ สไปล์ โปรตีนของแลมบ์ด้คือ SYLTPGD246-253N, 260 L452Q และ F490S ซึ่งช่วยให้แลมบ์ด้า มีความสามารถในการต่อต้านภูมิคุ้มกันในร่างกายที่เกิดจากการกระตุ้นของวัคซีน
6
โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ RSYLTPGD246-253N ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์แบบสอดแทรกเข้ามาเพิ่มซึ่งเกิดขึ้นในส่วนของปลาย เอ็น ของสายพันธุกรรม (the N-terminal domain-NTD) มีส่วนสำคัญอย่างมากในการทำให้ไวรัสกลายพันธุ์นี้สามารถหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้
4
28 บันทึก
69
6
141
28
69
6
141
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย