Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรียนรู้..ไปพร้อมๆกัน
•
ติดตาม
5 ส.ค. 2021 เวลา 10:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บทบาทของแผง Solar cell กับค่ายผู้ลี้ภัย
ไฟฟ้าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตของมนุษย์อย่างปฎิเสธไม่ได้
แสงสว่าง ความอบอุ่น การหุงต้ม การถนอมอาหาร ฯลฯ ต้องอาศัยไฟฟ้า
...
...
ไฟฟ้า คือ ปัจจัยพื้นฐาน
ด้วยภูมิประเทศ ที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัย ..
การผลิตไฟฟ้า .. จากแผง Solar Cell คือคำตอบที่ดีที่สุด
ติดตั้งได้รวดเร็ว ไม่กระทบกับโรงไฟฟ้าเดิมในพื้นที่
(เคลื่อนย้ายสะดวก)
บทบาทแผง Solar Cell ค่ายผู้ลี้ภัย มีให้เห็นที่ไหนกันบ้าง?
เริ่มจากที่ค่ายผู้อพยพของชาวซีเรีย ..
1️⃣ ประเทศจอร์แดน : การติดตั้งแผง solar cell ใช้งาน
🔸รัฐบาลเยอรมนี ให้ความช่วยเหลือประเทศจอร์แดนในการผลิตไฟฟ้า.
จากแสงอาทิตย์ ในขนาด 30 -35 เมกะวัตต์
🔸นำไปใช้งานสำหรับโรงพยาบาล ศูนย์บริการสุขภาพ
และหน่วยงานจัดการน้ำภายในค่ายลี้ภัย
🔸เงินช่วยเหลือจากเยอรมนีเป็นเงิน 44 ล้านยูโร (ราว 1,600 ล้านบาท)
🔸โครงการดีๆแบบนี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2560 ครับ
🔸ค่ายลี้ภัย (Za’atari) เป็นค่ายที่ติดตั้ง Solar cell ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จำนวนผู้ลี้ภัยกว่า 80,000 คน
เครดิตภาพ https://www.kfw.de/
☀️เกร็ดเสริม : ในช่วงเวลาใกล้ๆกันมูลนิธิ IKEA และ UNHCR ได้มีโครงการลักษณะเดียวกัน ติดตั้ง solar cell ด้วย สำหรับผู้ลี้ภัยจำนวน 20,000 คน ในค่ายผู้ลี้ภัย แห่งหนึ่งในจอร์แดน เช่นเดียวกัน
2️⃣ ประเทศตุรกี : การอบรมทักษะเรื่อง solar cell
🔸 รัฐบาลเกาหลีใต้ ให้ความช่วยเหลือในลักษณะการอบรมทักษะเกี่ยว
กับ solar cell เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพของผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย และ
คนในท้องถิ่นในชุมชน (พื้นที่ตั้งของค่ายผู้ลี้ภัย)
🔸 หลักสูตรการอบรมมีจำนวน 247 ชั่วโมง ฝึกอบรมหัวข้อการผลิต
การติดตั้ง การบำรุงรักษาระบบพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม
🔸 หลังจบหลักสูตรมีใบประกาศนียบัตรจากหน่วยงานของรัฐบาลตุรกี
🔸 เงินช่วยเหลือในปีนี้ 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มเติมจากที่ช่วยเหลือ
ก่อนหน้านี้ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว 1.7 ล้านเหรียญ
☀️เกร็ดเสริม : แนวคิดนี้ดีมากๆครับ .. เป็นการสร้างโอกาสในการหาอาชีพของผู้ลี้ภัย และรวมถึงคนในท้องถิ่น
เครดิต : https://www.unhcr.org
ถัดมาค่ายผู้ลี้ภัย .. ชาวอัฟกัน
3️⃣ ประเทศปากีสถาน : แผง Solar Cell สำหรับการสูบน้ำ
🔸สำหรับผู้ลี้ภัย 9,000 คน ระบบสูบน้ำจาก solar cell 18 ชุด
🔸ผู้ที่ได้รับประโยชน์ คือ ผู้หญิง และเด็ก ที่ต้องไปขนน้ำที่ไกลออกไป
(โดยเฉพาะผู้หญิง : ปลอดภัยจากการห่างจากที่พัก)
🔸โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก UNHCR
จบโพสต์นี้ด้วย :
ไฟฟ้า มีอีกแง่มุมหนึ่งที่เรามักจะลืมนึกถึง .. นั้นคือ
…
…
ความปลอดภัยในยามค่ำคืน : แสงไฟฟ้าจากแผง solar cell ตอบโจทย์ !!
เราจึงมักเห็น “เสาไฟฟ้าแบบ solar cell” ติดตั้งใช้งานในค่ายผู้ลี้ภัย
ถูกที่ .. ถูกเวลา
เรียนรู้ .. ไปพร้อมๆกัน
5 สิงหาคม 2564
ติดตามซีรีส์ เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้จาก ลิงค์นี้ 👇🏼👇🏼
https://www.blockdit.com/series/5ee9a59c6d714905b7247279
เครดิตภาพ : pixabay
อ้างอิง
https://globthailand.com/germany_0002/
https://www.irena.org/newsroom/articles/2018/Aug/Harnessing-the-power-of-renewables-in-refugee-camps
https://reliefweb.int/report/turkey/training-renewable-energy-benefit-syrians-and-turkish-host-communities
https://www.unrefugees.org/news/clean-energy-clean-water-how-solar-power-brings-safe-water-to-refugee-camps/
2 บันทึก
21
43
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
จาก”เม็ดทราย”มาเป็นพลังงานสะอาด : solar cell
2
21
43
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย