5 ส.ค. 2021 เวลา 05:40 • ปรัชญา
ปกติเราชอบทำอะไรแบบฉายเดี่ยวค่ะ​ มีความฝันเพื่อตัวเอง​ "แค่คนเดียว" ​แต่ถึงแม้จะชอบอยู่คนเดียว​แค่ไหนและคุ้นชินกับตัวคนเดียวมากเท่าไหร่​ บางครั้งทั้งๆที่มองไปรอบๆก็ยังเห็นผู้คนเดินสวนไปมา​ มีผู้คนเยอะแยะเดินอยู่รอบกายแต่เรารู้สึกว่าทำไม​ "เราตัวคนเดียว" ทำไมในใจมันโหวงๆจัง​ (อารมณ์​นี้ไม่ได้เหงาค่ะ​ แต่รู้สึกว่าเราไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโลกและสังคมนี้​ และถ้าเป็นซึมเศร้าจะลาจากโลกนี้ไปแบบเงียบๆง่ายๆเลยค่ะ)​
หลังจากนั้นเราก็ตามหาคำตอบมา​เรื่อยๆจนพบว่า​ มนุษย์​เราโดยสาปให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันค่ะ​ เพราะมนุษย์​คือสัตว์สังคม​ ( ต้องมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งในสังคมหรือโลกนี้ไม่งั้นจะเหมือนคนถูกโลกนี้ลืมค่ะ)​ ดังนั้นสิ่งที่จะกำจัดความโหวงเหวงในจิตใจ​คือการออกไปช่วยเหลือผู้คนหรือไปช่วยสัตว์​หรือทำอะไรเพื่อสังคม​นิดๆหน่อยๆก็ได้​ เมื่อเรามอบความสุขให้คนอื่นแล้ว​ แต่ตัวเราก็กลับมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือเพื่อนร่วมโลกมากๆค่ะ​
เพราะในโลกนี้มีห่วงโซ่ที่มองไม่เห็นคล้องกัน​ มนุษย์​ สัตว์​เลี้ยง​ ธรรมชาติ​ แม้แต่ปรสิต​ ถ้าส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป​ฟันเฟืองก็จะพัง​เพราะทุกสิ่งบนโลกธรรมชาติได้สรรสร้างมาครบชุด​และลงตัวที่สุด บางครั้งเราเศร้าแค่ไหน​ แต่สัตว์​เลี้ยงในบ้านก็ทำให้เรามีความสุข​ และสัตว์​ก็อิ่มและไม่ต้องเผชิญกับอันตรายเพราะเราเลี้ยงดู​มัน ต้นไม้ในบ้านได้รับน้ำจากเรา​และต้นไม้ก็ฟอกอากาศให้เรา​ เราช่วยเหลือสุนัขจรแม้วันที่เราออกไปเดินเล่นมันก็วิ่งมาทักทายเราเหมือนคนรู้จัก​ สรรพสิ่งในโลกมันคล้องจองกันแบบนี้ค่ะ​
2
ดังนั้นการเกิดมาเป็นมนุษ​ย์​ก็คือการยอมรับที่จะอยู่ในห่วงโซ่และช่วยเหลือกันเพื่อขับเคลื่อน​ให้ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้ดำเนินต่อไป​ หากใครปฏิเสธ​การหยิบยื่นช่วยเหลือกันและกัน​ คนเหล่านั้นก็จะโดนธรรมชาติ​ปฏิเสธค่ะ​ ไม่ต่างอะไรกับการอยู่บนโลกนี้คนเดียว "แม้จะเกิดมามีความสุขเท่าไหร่แต่ก็ไม่รู้สึกอิ่มเอมใจค่ะ" ดังนั้นหรือแม้เราจะมีความสุขกับการอยู่คนเดียวแค่ไหน​ บางครั้งก็ต้องหาเวลาเพื่อช่วยสังคมเช่นกันค่ะ
ฉะนั้นคำตอบคือการเกิดมาเพื่อแบ่งปันประโยชน์​ให้สังคมคือความสุขอันสูงสุด​ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ค่ะ
โฆษณา