6 ส.ค. 2021 เวลา 03:50 • ธุรกิจ
อยากตัดสินใจแล้ว ไม่เสียใจทีหลัง ลองใช้ทฤษฎี 10-10-10
1
เป็นเรื่องธรรมดาที่คนเรามักจะเจอกับเหตุการณ์ที่ “ทำอะไรลงไปแล้ว มารู้สึกเสียใจทีหลัง”
เพราะบางทีเราก็ตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ไปด้วยอารมณ์ชั่ววูบ
ไม่ว่าจะจากความรู้สึกที่มีความสุข ความพอใจ หรือความรู้สึกโกรธเคือง หรือหวาดกลัว
ทำให้พอได้สติกลับมา ความจริงปรากฏ ก็รู้สึกผิดหวังในการตัดสินใจของตัวเอง
3
ทำให้บางคนเลือกที่จะไม่ตัดสินใจอะไรเลย เพราะกลัวความผิดพลาด บางคนก็ทำตัวหลับใหลเวลามีสิ่งยาก ๆ วิ่งเข้ามา
แต่อย่าลืมว่าในโลกความเป็นจริง เราหนีเรื่องยาก ๆ ไปไม่ได้ตลอด..
7
ดังนั้นนี่จึงเป็นเหตุผล ที่เราจำเป็นต้องหาเครื่องมือบางอย่าง เพื่อมาช่วยให้เราตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้นหรือเสียใจกับสิ่งที่ทำลงไป น้อยลง
3
วันนี้ THE BRIEFCASE จะมานำเสนอ “กฎ 10-10-10”
ที่อาจจะช่วยให้ใครหลายคน ลดการใช้อารมณ์ชั่ววูบในการตัดสินเรื่องต่าง ๆ ได้มากขึ้น
2
ทฤษฎีที่ว่านี้ถูกอธิบายโดย Suzy Welch ซึ่งเป็นหนึ่งในนักเขียนชื่อดัง และเป็นภรรยาของ Jack Welch อดีต CEO ผู้เลื่องชื่อของ General Electric
2
และ Suzy Welch ก็ได้ร่วมกันกับสามี เขียนหนังสือขายดีอย่างหนังสือ “เรียน MBA ข้างถนนกับ Jack Welch” อีกด้วย
1
แล้วกฎ 10-10-10 นี้คืออะไร ?
1
- “10 นาที” หลังจากที่ตัดสินใจไปแล้ว เรารู้สึกอะไรบ้าง ?
- “10 เดือน” หลังจากนี้เราจะรู้สึกอย่างไร ?
- “10 ปี” ต่อจากนี้เราจะยังรู้สึกว่ามันคุ้มค่าต่อการตัดสินใจแบบนี้ อยู่หรือไม่ ?
14
การมองเหตุการณ์แบบ 3 ระยะเวลาจากนาที เป็นเดือน ไปจนถึงเป็นปี จะช่วยให้เราจินตนาการถึงผลลัพธ์ในระยะกลางและยาวได้มากขึ้น โดยเรื่องนี้เราสามารถปรับใช้ได้ทั้งกับเรื่องราวในชีวิตประจำวันและเรื่องของการทำงาน
ซึ่งก็มีกรณีศึกษาจากคู่รักคู่หนึ่งที่ชื่อว่า แอนนี่ กับ คาร์ล
2
โดยคู่นี้ไม่เคยแสดงออกทางความรู้สึกต่อกันเลย เพราะฝ่ายชายเคยโดนทำร้ายจิตใจมาก่อน
1
แต่ฝ่ายหญิงเริ่มรู้สึกอยากให้ความสัมพันธ์มีการพัฒนาต่อ เพราะอายุที่มากขึ้นของเธอ จะทำให้เธอมีปัญหาในการตั้งครรภ์ได้
1
แอนนี่เลยเลือกใช้เฟรมเวิร์ก 10-10-10 มาเป็นกรอบในการช่วยตัดสินใจว่า เธอควรจะบอกรักบอกความรู้สึกกับฝ่ายชายไปตรง ๆ ดีหรือไม่ ? เพื่อให้ความสัมพันธ์นั้นเดินหน้าต่อ
โดยเธอก็ได้ลองจินตนาการดังนี้
5
10 นาทีแรกหลังจากพูดออกไป ตัวเธอน่าจะรู้สึกประหม่าตื่นเต้น แต่ก็คงจะภูมิใจที่ตัวเองกล้าฝ่า Safe Zone ออกมาได้
3
10 เดือนต่อจากที่เธอพูดออกไป เธอก็คิดว่าถ้าฝ่ายชายจะแยกทางไปเพราะคำพูดของเธอ ตัวเธอเองก็คงไม่เสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น หรือมันอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเขาชัดเจนมากขึ้นก็ได้ ดังนั้นมันคุ้มที่จะเสี่ยง เพื่อให้ทุกอย่างมันชัดเจน
6
แล้ว 10 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร ? เธอมองว่ามันคงไม่สำคัญแล้ว เพราะอย่างน้อยถ้าไม่ได้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ตัวเธอก็คงจะได้ไปอยู่ในความสัมพันธ์ใหม่ ที่มีความสุขกับคนอื่น
1
เมื่อเธอลองคิดทบทวนเรื่องนี้ด้วยหลักการ 10-10-10 อย่างมีสติ เธอก็ได้ตัดสินใจบอกรักฝ่ายชาย
เพื่อหวังว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไป
สุดท้ายฝ่ายชายก็ยังไม่ได้บอกรักฝ่ายหญิงกลับมาตรง ๆ แต่พวกเขาก็มีความคืบหน้าในความสัมพันธ์มากขึ้น เช่น ใช้เวลาอยู่ร่วมกันมากขึ้น หรือกล้าเปิดเผยมุมที่อ่อนแอของตัวเขามากขึ้น
3
และการใช้หลัก 10-10-10 นี้ก็สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้เช่นกัน
เช่น เวลามีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นในการทำงาน แล้วเราพยายามจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เพื่อพูดคุยกับทีมงาน ให้ลองคิดถึงกฎนี้ดู
2
หากคุณเลือกที่จะพูดคุยกับทีมตรง ๆ 10 นาทีต่อจากนี้คุณอาจจะมีความกังวลบ้าง แต่ 10 เดือนต่อจากนี้ กระบวนการทำงานอาจจะดีขึ้น เราอาจจะโล่งใจและภูมิใจกับสิ่งที่เราทำวันนี้ก็ได้
2
หรือหากเราเป็นคนทำหน้าที่คัดพนักงานเข้าบริษัท
กำลังสัมภาษณ์งานกับพนักงานคนหนึ่ง ที่โปรไฟล์ดีมาก ๆ เราก็จะเกิดความรู้สึกอยากรับคนคนนี้เข้ามาทำงาน โดยที่ไม่สนว่าจะต้องจ่ายค่าตอบแทนเท่าไร
เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ ให้คุณลองคิดดูว่า 10 นาทีหลังจากที่ตัดสินใจรับเขาเข้าทำงานมา
คุณอาจจะรู้สึกตื่นเต้น แต่ 10 เดือนต่อจากนี้ คุณจะรู้สึกเสียใจหรือไม่ ที่ต้องจ่ายเงินเดือนราคาแพง
แล้วทีมงานคนอื่น ๆ ทำงานร่วมกับคนคนนี้ไม่ได้
1
หรือ 10 ปีข้างหน้า พนักงานที่ดูเจ๋งสุด ๆ ในวันนี้ เขายืดหยุ่นพอที่จะปรับตัวไปกับธุรกิจของคุณ ที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้หรือไม่ ?
อย่างไรก็ตาม กฎ 10-10-10 นี้ก็ไม่ได้ทำให้เราคาดการณ์อนาคตในระยะยาว ได้อย่างแม่นยำ
1
แต่ทฤษฎีนี้ จะช่วยทำให้เราแน่ใจมากขึ้นว่า
การตัดสินใจในวันนี้ มันไม่ใช่มาจาก “อารมณ์เพียงชั่ววูบ” มากจนเกินไป..
โฆษณา