Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
งานวิจัยใกล้แค่เอื้อม
•
ติดตาม
6 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • ครอบครัว & เด็ก
เพราะ “ลายมือ” ไม่ใช่แค่การฝึกเขียน
ลายมือเกี่ยวข้องอะไรกับพัฒนาการของลูก เรามาหาคำตอบกันค่ะ
ผู้เขียนได้รับแรงบันดาลใจจากอาจารย์ที่เคารพซึ่งโพสต์สเตตัสในเฟซบุ๊กว่า “จะไม่ยอมให้ลูกจับดินสอจนกว่าจะขึ้นประถม” ผู้เขียนจึงไปหางานวิจัยที่สอดคล้องกันมาเผยแพร่ให้ทุกคนได้อ่านค่ะ
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร The Journal of Physical Therapy Science ปี 2018 เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมัดเล็กและระดับความอ่านง่ายของลายมือในเด็กวัยก่อนเข้าโรงเรียน
พ่อแม่หลายคนคงเคยประสบปัญหากับลายมือยึกยือของลูกน้อยอย่างแน่นอน แค่ขีดเส้นตามรอยประยังยาก จะให้เขียนเป็นคำได้คงต้องพับไปก่อน
(Source: Pixels)
การฝึกเขียนเป็นกิจกรรมที่ควรฝึกในช่วงประถมต้น ซึ่งจะผันแปรไปตามความเจริญของระบบประสาท ประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อม และความสนใจในตัวอักษรของเด็กแต่ละคนค่ะ
✏️ จะประเมินการฝึกเขียนได้จากอะไร?
1. ขอบเขตความยาก 2. ระดับความอ่านง่าย 3. ความเร็วในการเขียน และ 4. ลักษณะทางสรีระศาสตร์
แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านคงให้ความสำคัญกับระดับความอ่านง่ายหรือความสวยใช่ไหมคะ โดยปัจจัยที่ทำให้ตัวหนังอ่านง่ายประกอบด้วย รูปร่าง ขนาด การจัดวาง และช่องไฟของตัวอักษรค่ะ
✏️ ทำไมลูกเขียนไม่สวยสักที เราพลาดอะไรไป?
เพราะแท้จริงแล้วลูกน้อยก็ต้องเตรียมพร้อมก่อนเริ่มฝึกเขียนเหมือนกันค่ะ ซึ่งการเตรียมพร้อมในที่นี้จะเน้นด้านร่างกายเป็นหลัก ได้แก่ ความเข้าใจในระบบประสาทสัมผัสที่หลากหลายโดยเฉพาะการมองเห็น การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก-มัดใหญ่ ทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กในการใช้มือ นิ้ว ข้อมือ และ ทักษะการหยิบ-จับ ควบคุมด้วยมือ
เพราะหากพวกเขาเตรียมพร้อมไม่พออาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการเขียนที่แย่ในระยะยาวได้ค่ะ
(Source: Pixels)
งานวิจัยนี้ทดลองกับเด็กวัยก่อนเข้าเรียนจำนวน 52 คน พบว่า ความแม่นยำของกล้ามเนื้อมัดเล็กมีส่วนช่วยในระดับความอ่านง่ายของตัวหนังสือถึง 60% อีกทั้งทักษะการใช้มือ นิ้ว และข้อมือก็ยังมีส่วนเช่นเดียวกัน
สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่ว่าเด็กที่จับดินสอด้วยท่าทางที่ไม่เหมาะสม จะมีลายมือที่อ่านออกยาก ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กที่มีส่วนช่วยในการควบคุมเครื่องมือการเขียน กล่าวคือ ลายมือที่อ่านออกยากอาจมีส่วนจากความไม่พร้อมของกล้ามเนื้อค่ะ
✏️ เราจะช่วยลูกได้อย่างไร?
งานวิจัยแนะนำให้ลองหากิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะกล้ามเนื้อมัดเล็กก่อนเริ่มคัดลายมือค่ะ เพื่อพัฒนามัดกล้ามเนื้อและทักษะการควบคุมสิ่งของด้วยมือ ยิ่งฝึกฝนมากเท่าไรก็ยิ่งก็จะส่งผลดีมากเท่านั้น เช่น ปั้นดินน้ำมัน ฝึกติดกระดุม ต่อตัวต่อ หรือฝึกใช้อุปกรณ์ทานอาหารค่ะ หรืออาจลองปรึกษานักกิจกรรมบำบัด (occupational therapist) เพื่อหากิจกรรมที่เหมาะสมกับลูกน้อยได้เช่นกันค่ะ
(Source: Pixels)
รู้แบบนี้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมเตรียมพร้อมกล้ามเนื้อมัดเล็กให้ลูกก่อนเริ่มฝึกเขียนเพื่อผลลัพธ์ที่ดีและพัฒนาการที่เหมาะสมนะคะ :)
อ้างอิงงานวิจัย
The effect of fine motor skills on handwriting legibility in preschool age children (Seo, 2018)
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5851374/
อ้างอิงบทความทั่วไป
10 ways to improve your child’s fine motor skills
https://www.inspiro.org.au/blog/improve-your-childs-fine-motor-skills
บันทึก
1
2
1
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย