Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เติมเต็ม (Full Fill)
•
ติดตาม
6 ส.ค. 2021 เวลา 10:32 • สุขภาพ
ทำไมเราถึงเห็นผู้สูงอายุล้มบ่อยจัง ?
https://mypvhc.com/what-you-need-to-know-about-falls-in-the-elderly/
ถ้าถามว่าเจอบ่อยขนาดไหน สำหรับผม..บ่อยมากครับ เริ่มเห็นบ่อยมากสุดก็ตั้งแต่อายุ 65 – 90 ปี ที่จริงก็อายุน้อยกว่านี้ก็เกิดขึ้นได้นะครับ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
เพจต่าง ๆ ก็ได้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลตัวเองและเฝ้าระวังการล้มในผู้สูงอายุอย่างแพร่หลาย วันนี้ผมก็จะมาทวนความรู้และเพิ่มเติมในบางส่วนที่ผมได้ผ่านประสบการณ์การดูแลผู้สูงมาอายุมาด้วย ผมจะแบ่งออกเป็นตอนนะครับ
เพื่อจะได้ไม่ยาวเกินไป
สำหรับตอนแรก..ผมจะมาอธิบายก่อนว่า ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการล้ม มันมีอะไรบ้าง
ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการล้มนั้นมีมากมายนะครับ แต่เวลาผมจำหรือเข้าใจผมจะแบ่งเป็นหมวดใหญ่ และย่อยลงไปเรื่อย ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ ลงรายละเอียด วันนี้ผมจะมาเล่าให้ลึกพอที่ทุกท่านได้เข้าใจร่างกายของคุณและคนที่คุณรักมากขึ้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการล้ม มี 2 ปัจจัยหลัก
1. ปัจจัยภายใน
2. ปัจจัยภายนอก
จบแล้วครับ.... ฮ่า ๆ ยัง ๆ ครับ อีกเยอะ
...ปัจจัยภายใน… แบ่งได้อีก 3 หัวข้อย่อย
1. อายุ
2. โรคที่เป็น
3. สภาวะจิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา
ปัจจัยภายใน หัวข้อที่หนึ่ง ........อายุ
เมื่อเราอายุเปลี่ยนแปลงไป ระบบร่างกายก็แปรเปลี่ยนตามไปด้วย
(แม้ตัวจะเด็กแต่สมองเป็น........ฮ่า ๆ.) ซึ่งอายุมากขึ้น ระบบร่างกายไม่ได้ดีขึ้นนะครับเมื่อถึงเวลามันก็จะเริ่มเสื่อมสภาพตามไปด้วย
People vector created by pikisuperstar - www.freepik.com
ตัวอย่างระบบที่สำคัญที่ส่งผลต่อการหกล้ม มี 4 ระบบ
1. ระบบประสาท
เช่น เมื่อระบบประสาททำงานช้าลง การรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อ กล้ามเนื้อ ทั้งการรับความรู้สึกช้าลง เช่น เจ็บ ปวด เย็น ร้อน
ส่งผลให้..การตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ลดลง เสี่ยงต่อการล้มง่ายขึ้น
..หรืออาจจะเกิดโรค postural hypotension หรือหน้ามืดหลังเปลี่ยนท่าทาง ซึ่งส่วนมากเป็นบ่อย เช่น นอนไปยืน แล้วความดันต่ำลง ทำให้เลือดที่เลี้ยงสมองหรือส่วนต่าง ๆ ไหลลงตามแรงโน้มถ่วงอาจไปที่ขาหรือท้อง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองหรือส่วนต่าง ๆ ไม่พอ จึงหน้ามืดได้
บางคนถึงกับล้มหัวฟาดเตียง ...
https://www.freepik.com/free-photo/elderly-patients-bed-asian-senior-woman-patients-headache-hands-forehead-medical-healthcare-concept_7813378.htm#page=1&query=ederly&position=30
2. ระบบการมองเห็น
เช่น เมื่อเราอายุมากขึ้นตาเราจะสั้น ยาว พร่ามัวมากขึ้น หลาย ๆ คนที่ผมเจอมักมีปัญหาต้อกระจกด้วย ลานสายตาหรือตาดำเราจะเริ่มแคบลง
เริ่มมีการบกพร่องในการแยกสี อาจจะส่งผลให้สะดุดและล้มได้ง่าย
3. ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก**
ตัวอย่างของการเปลี่ยนแปลงระบบกล้ามเนื้อที่ส่งผลต่อการล้ม
- มวลกล้ามเนื้อลดลง ฝ่อลีบง่าย อ่อนแรงมากขึ้น
- การหดตัวและยืดเหยียดกล้ามเนื้อลดลง
- การทรงตัวไม่ดี
- ความแข็งแรงของกระดูกลดลง
- ความยืดหยุ่นของข้อลดลง
4. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ
หลัก ๆ ที่เจอจะมีปัญหาที่กล้ามเนื้อหูรูดอ่อนแรง ส่งผลให้ไม่สามารถกลั้นปัสสาวะได้ ทำให้บางครั้งต้องรีบไปเข้าห้องน้ำอาจจะสะดุดและล้มได้
People vector created by pch.vector - www.freepik.com
ปัจจัยภายใน หัวข้อที่สอง ........โรคที่เป็น
โรคต่าง ๆ มีส่วนอย่างมากที่เกิดอิทธิผลต่อการหกล้ม ผมจะยกตัวอย่าง 4 ระบบนะครับ
1. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
เช่น เมื่อมีความผิดปกติของหัวใจย่อมส่งผลต่อการบีบและคลายของหัวใจ
เมื่อหัวใจบีบตัวได้ลดลง เลือดที่ออกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ จึงลดลง การลำเลียงไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและสมองก็น้อยลง เมื่อเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงเกิดภาวะขาดเลือดสมองเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมและล้มได้
2. ระบบประสาท
เช่น เมื่อมีโรคสมองเสื่อม, สมองตาย, โรคหลอดเลือดสมอง, พาร์กินสัน หรือโรคที่ผมเคยเขียนไว้ก่อนหน้า vertigo วิงเวียนศีรษะ
ซึ่งส่งผลให้การควบคุมของสมองส่วนกลางผิดปกติ การทำงานของระบบต่าง ๆ ไม่ประสานกัน สูญเสียสมดุลของร่างกาย ส่งผลต่อการล้ม
https://www.researchgate.net/
3. ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
เช่น โรคข้ออับเสบ, เข่าเสื่อม กระดูกพรุน กระดูกหัก กล้ามเนื้อฉีกขาด กระดูกสันหลังเสื่อม โรคที่กล่าวมามีผลต่อการทรงตัวทั้งสิ้น
4. ความผิดปกติของสมดุลกรดด่างและอิเล็คโทรไลท์
เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ – ใจสั่น หน้ามืด
โซเดียมสูงหรือต่ำกว่าปกติ – ซึม และสับสน
โปแตสเซียมต่ำกว่าปกติ – กล้ามเนื้ออ่อนแรง
People photo created by katemangostar - www.freepik.com
ปัจจัยภายใน หัวข้อที่สาม ........สภาวะจิตใจ อารมณ์ และสติปัญญา
ในเรื่องที่ผมพบเจอได้บ่อยในข้อนี้คงหนีไม่พ้นในเรื่องของความมั่นใจ
ไม่มั่นใจในการเดินของตัวเอง เดินแบบกล้า ๆ กลัว ๆ เอื้อมไปหยิบสิ่งของต่าง ๆ ที่มีสิทธิ์ทำให้ล้มได้ การเดินแบบมั่นใจ จะลดความเสี่ยงได้มากกว่า
...ปัจจัยภายนอก… แบ่งได้อีก 3 หัวข้อย่อยที่พบเจอได้บ่อย
ปัจจัยภายนอก หัวข้อที่หนึ่ง ........สิ่งแวดล้อม
หลัก ๆ ที่เราสามารถควบคุมและดูแลได้ง่ายที่สุด คือ บริเวณบ้าน
แบ่งเป็น ภายนอก และ ภายใน
ภายใน เช่น
- ห้องน้ำห้องส้วม ไม่เป็นชักโครก หรือไกล
- พื้นห้องน้ำ พื้นบ้านลื่น
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- จัดตำแหน่งสิ่งของในบ้านใหม่บ่อยเกินไป
- พรมเช็ดเท้าลื่น
ภายนอก เช่น
- พื้นเต็มไปด้วยส่งของขรุขระ
- พุ่มไม้รกรุงรัง
- ของเล่นเด็ก และ สิ่งของต่าง ๆ รกเต็มทางเดิน
- พื้นที่ทางเดินแคบเกินไป
- พื้นไม่สม่ำเสมอ เปียก แฉะ
Coffee photo created by tirachardz - www.freepik.com
ปัจจัยภายนอก หัวข้อที่สอง .......การใช้ยา
ยาที่ต้องพึงระวัง
- ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
- ยารักษาภาวะหัวใจติดผิดจังหวะ
- ยาขับปัสสาวะ
- ยานอนหลับ
- ยาต้านภาวะซึมเศร้า
- ยาคลายกังวล
หากจำเป็นต้องใช้ยา ควรเลือกชนิดที่มีระยะครึ่งชีวิตที่สั้นและขนาดต่ำสุดก่อน
Hand photo created by jcomp - www.freepik.com
ปัจจัยภายนอก หัวข้อที่สาม .......รองเท้า
ปัจจัยนี้ไม่ว่าจะวัยไหน ๆ ก็สามารถส่งผลต่อการหกล้มได้เหมือนกัน เช่นรองเท้าที่เป็นส้นสูง ลื่น พื้นรองเท้าขาด รองเท้าแตะ เป็นต้น
https://www.freepik.com/free-vector/active-elderly-people-concept-illustration_9558509.htm#page=1&query=ederly&position=2
จริง ๆ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการล้มนั้นมีมากกว่านี้ อย่างเช่น งานวิจัยของต่างประเทศที่ได้ทำการศึกษา พบว่า มีปัจจัยจากเรื่องเศรษฐกิจและสังคม เช่น ในปัจจุบันหนุ่มสาวบางคนมีความต้องการที่จะใช้ชีวิตคนเดียว ไม่อยากมีครอบครัว หรือคนที่มีครอบครัวแล้วไม่อยากมีลูกด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ จึงอาจจะทำให้เป็นผู้สูงอายุที่อาศัยเพียงลำพัง หรือปัจจัยเรื่องของรายได้ ฐานะทางการเงินไม่ดีทำให้เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังมีปัจจัยทางพฤติกรรม เช่น เป็นคนไม่ชอบออกกำลังกาย ชอบกินแต่ของมัน ของหวาน มีนิสัยเที่ยว สูบบุหรี่ ใช้ยาเสริมต่าง ๆ
https://betterhealthkare.com/elderly-fall-prevention-tips/
บางครั้งผมเคยเจอผู้สูงอายุที่ล้มแล้วญาติไม่ได้มาดูแลอาจเพราะเขาอาจจะไม่เข้าใจตัวโรค หรือตัวผู้ป่วยดีพอ คิดว่าแกไม่ดูแลตัวเองทำให้ญาติต้องมาลำบากเพราะญาติก็ต้องทำงานหาเลี้ยงครอบครัว จึงไม่ค่อยได้มาดูแลที่โรงพยาบาล ซึ่งผมก็จะเป็นคนที่คอยกระตุ้น คอยรักษาตลอด ...ผมรู้สึกว่าถ้าญาติเข้าใจผู้ป่วยมากกว่านี้อาจจะดี อาจจะมีแนวทางการป้องกันและดูแลกันมากขึ้น
บทความนี้เราได้รู้คร่าว ๆ แล้วว่า ทำไมเราถึงเห็นผู้สูงอายุล้มบ่อย ?
บทความหน้าผมจะพูดถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อผู้สูงอายุหกล้ม
https://www.freepik.com/free-vector/happy-senior-people-dancing-party_8271033.htm#page=1&query=ederly&position=1
ขอบคุณทุกท่านที่อ่านและนำไปปรับใช้นะครับ หวังว่าจะได้ความรู้เสริมไม่มากก็น้อย
ถ้ามีข้อผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยด้วยนะครับ
ถ้าใครชอบฝากกดไลค์ กดแชร์ กดติดตามได้นะครับ
ขอบคุณที่ดูแลตัวเอง และแบ่งความรักในการดูแลคนอื่น ๆ
ช่วงนี้ โควิด -19 อย่าลืมดุแลสุขภาพนะครับ
ขอบคุณแหล่งความรู้ดี ๆ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้นะครับ
professor assistant Puttipong poncumhak
paccayseiyngtxkarhklmniphusungxayu.pdf (
researchgate.net
)
บันทึก
3
3
2
3
3
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย