6 ส.ค. 2021 เวลา 13:30 • สุขภาพ
ตรวจ ATK ได้ผลบวก รับยาทันที รวมเบอร์ 50 เขต ตอบ Home Isolation
🔸หลังตรวจ ATK รู้ผลเป็นบวก ตั้งสติ ประเมินอาการตัวเอง ก่อนติดต่อเข้าระบบ การกักตัวรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation
4
🔸4 ขั้นตอนเข้าสู่ระบบ Home Isolation เผย 50 เบอร์โทรของ 50 เขต สอบถามข้อมูล
🔸กรมการแพทย์ออกหนังสือถึง รพ. ทุกสังกัด พิจารณาจ่ายยาให้แก่ผู้ติดเชื้อ จากผล ATK ได้ทันที
3
เป็นที่รู้กันดีว่า ระบบสาธารณสุขของไทยตอนนี้ ประสบปัญหาเตียงสำหรับการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเหลือง สีแดง ไม่เพียงพอ แม้ว่าแต่ละพื้นที่จะมีการเพิ่ม รพ.สนาม หรือ ศูนย์พักคอย ให้มากขึ้น แต่สถานที่เหล่านี้ ก็ต้องใช้บุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครด่านหน้า ที่มีจำนวนจำกัด ในการช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งนั้น
2
ต่อมาทางกระทรวงสาธารณสุข ต้องการที่จะลดจำนวนผู้ป่วยโควิดกลุ่มสีเขียว เข้ามาในสถานพยาบาล เพื่อสำรองเตียงไว้ให้ผู้ป่วยสีเหลือง และสีแดง ที่มีอาการมากกว่า จึงออกมาตรการเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ให้สามารถกักตัวรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation ผ่านระบบติดตามอาการ ซึ่งรวมถึงผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วัน และสามารถกลับไปพักฟื้นต่อที่บ้านได้
1
ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้ที่จะทำเข้าโปรแกรม Home Isolation ได้นั้น ต้องได้รับความยินยอมจากแพทย์ ซึ่งประเมินอาการ และความสมัครใจของผู้ป่วยด้วย
🟢แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เราเป็นผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวหรือไม่ ซึ่งสามารถประเมินได้จากอาการต่างๆ ดังนี้
2
👉🏻เป็นผู้ป่วยที่เพิ่งตรวจพบเชื้อ ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย
👉🏻มีไข้ได้ตั้งแต่ 37.5 ขึ้นไป
👉🏻ระดับออกซิเจนไม่ต่ำกว่า 96%
👉🏻ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
👉🏻ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง มีผื่น
👉🏻ถ่ายเหลว
❌ไม่มีอาการหายใจเร็ว
❌ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
❌ไม่มีอาการหายใจลำบาก
❌ไม่มีปอดอักเสบ
แต่นอกเหนือจากจะเป็นผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อยแล้ว ผู้ที่จะเข้าระบบ Home Isolation จะต้องเป็น
4
👉🏻ผู้มีอายุไม่เกิน 60 ปี
👉🏻มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
👉🏻อยู่คนเดียว หรือมีผู้อยู่ร่วมที่พักไม่เกิน 1 คน
👉🏻ไม่มีภาวะอ้วน
👉🏻ไม่มีโรคร่วม เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ หลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และเบาหวานที่คุมไม่ได้ เป็นต้น
👉🏻ยินยอมแยกตัวในที่พักของตนเอง
โดยผู้ติดเชื้อจะต้องเตรียมพร้อม อุปกรณ์สำหรับป้องกันเชื้อ ไว้ที่บ้าน อาทิ
4
👉🏻เจลล้างมือ
👉🏻แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ
👉🏻หน้ากากอนามัย
👉🏻ถุงสำหรับขยะติดเชื้อ
👉🏻ทิชชูแห้ง ทิชชูเปียก
👉🏻น้ำยาฟอกขาวสำหรับทำความสะอาด
👉🏻ยารักษาโรคที่กินเป็นประจำ
1
จากนั้นผู้ที่จะเข้า Home Isolation จะมี 4 ขั้นตอน เพื่อเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้าน คือ
1. ใช้ชุดตรวจโควิด Antigen Test Kit (ที่ผ่านการรับรองจาก อย.) ตรวจด้วยตัวเอง หรือตรวจจากหน่วยตรวจโควิดเชิงรุก
2. หากผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ) และผู้ป่วยต้องการแยกกักตัวที่บ้าน ให้ติดต่อ 1330 หรือกรอกข้อมูลผ่านระบบคิวอาร์โค้ด หรือคลิกที่นี่
1
3. เจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับ หลังจากจับคู่ผู้ป่วยกับคลินิก ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาล ที่จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วย ระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน
2
4. แพทย์จะทำการพิจารณาผู้ป่วยอีกครั้ง หากไม่มีอาการ หรืออาการเล็กน้อย (สีเขียว) จะสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้านได้
1
ตรวจด้วย ATK ผลเป็นบวก จ่ายยาทันที
1
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกหนังสือถึงแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม และโรงพยาบาลเอกชน เรื่องแนวทางการดูแลผู้ที่มีผลตรวจหาเชื้อ โควิด-19 ด้วย Antigen Test Kit หรือ ATK เป็นบวก โดยระบุว่า จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการกระจายเชื้ออย่างรวดเรร็ว ส่งผลต่อระบบสาธารณสุขของประเทศ ทั้งด้านการควบคุมโรค และการเข้าถึงการรักษา
กระทรวงสาธารณสุข จึงมีแนวทางการใช้การตรวจแบบ Antigen Test Kit หรือ ATK เพื่อตรวจหาเชื้อโควิดเบื้องต้น และลดปัญหาการเข้าถึงการตรวจด้วยวิธี RT-PCR ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงระบบการรักษาล่าช้า
1
กรมการแพทย์ จึงขอแจ้งแนวทางการดูแลผู้ที่มีผลการตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit และผลเป็นบวก ดังนี้
2
- หากผลเป็นบวก เรียกว่า “ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย” สามารถรับยา และเข้ารับการรักษาแบบ Home Isolation ได้ทันที
3
- หากจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในลักษณะ Community Isolation หรือในสถานพยาบาล “ผู้ติดเชื้อเข้าข่าย” ควรได้รับการตรวจ RT-PCR คู่ขนาน และให้พยายามแยกจากผู้ป่วยโควิด ระหว่างรอผลตรวจ RT-PCR เนื่องจากการตรวจด้วย ATK ให้ผลบวกลวงได้ร้อยละ 3-5
1
☎️เบอร์โทร 50 เขต สอบถาม Home Isolation
นอกจากนี้ กรมการแพทย์ ได้รวมหมายเลขโทรศัพท์ประจำเขต 50 เขต สำหรับการสอบถามเรื่องการทำ Home Isolation และ Community Isolation ในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็น
☎️หมายเลขประจำเขตเขตกรุงเทพเหนือ
เขตจตุจักร : 02-026-3100
เขตดอนเมือง : 02-026-3122
เขตบางเขน : 02-026-3166
เขตบางซื่อ : 02-026-3233
เขตลาดพร้าว : 02-026-3499
เขตสายไหม : 02-026-3500
เขตหลักสี่ : 02-026-6800
5
☎️หมายเลขประจำเขตเขตกรุงเทพกลาง
เขตดินแดง : 02-092-7016
เขตดุสิต : 02-092-7121
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย : 02-092-7313
เขตพญาไท : 02-092-7580
เขตพระนคร : 02-092-7643
เขตราชเทวี : 02-092-7701
เขตวังทองหลาง : 02-092-7910
เขตสัมพันธวงศ์ : 02-094-1429
เขตห้วยขวาง : 02-096-9112
1
☎️หมายเลขประจำเขตเขตกรุงเทพตะวันออก
เขตคลองสามวา : 02-096-9202
เขตคันนายาว : 02-483-5000
เขตบางกะปิ : 02-483-5001
เขตบึงกุ่ม : 02-483-5002
เขตประเวศ : 02-483-5003
เขตมีนบุรี : 02-483-5004
เขตลาดกระบัง : 02-483-5005
เขตสะพานสูง : 02-483-5006
เขตหนองจอก : 02-483-5007
2
☎️หมายเลขประจำเขตเขตกรุงเทพใต้
เขตคลองเตย : 02-096-2823
เขตบางคอแหลม : 02-096-2824
เขตบางนา : 02-096-2825
เขตบางรัก : 02-096-2826
เขตปทุมวัน : 02-096-2827
เขตพระโขนง : 02-096-2828
เขตยานนาวา : 02-096-2829
เขตวัฒนา : 02-096-2830
เขตสวนหลวง : 02-096-2831
เขตสาทร : 02-096-2832
1
☎️หมายเลขประจำเขตกรุงธนฯ เหนือ
เขตคลองสาน : 02-023-9900
เขตจอมทอง : 02-023-9911
เขตตลิ่งชัน : 02-023-9922
เขตทวีวัฒนา : 02-023-9933
เขตธนบุรี : 02-023-9944
เขตบางกอกน้อย : 02-023-9966
เขตบางกอกใหญ่ : 02-023-9977
เขตบางพลัด : 02-023-9988
3
☎️หมายเลขประจำเขตกรุงธนฯ ใต้
เขตทุ่งครุ : 02-483-5008
เขตบางขุนเทียน : 02-483-5009
เขตบางแค : 02-483-5010
เขตบางบอน : 02-483-5011
เขตภาษีเจริญ : 02-483-5012
เขตราษฎร์บูรณะ : 02-483-5013
เขตหนองแขม : 02-483-5014
4
⚠️มีอาการมากขึ้น ติดต่อแพทย์ทันที
แต่หากระหว่างการแยกกักตัวที่บ้าน เกิดอาการดังต่อไปนี้ ต้องรีบติดต่อแพทย์ทันที
4
👉🏻ไข้สูงมากกว่า 38.5 องศา
👉🏻ท้องเสีย อาเจียน กินอาหารไม่ได้
👉🏻หายใจไม่สะดวก ติดขัด พูดเป็นประโยคยาวๆ ไม่ได้
👉🏻วัดค่าออกซิเจนปลายนิ้วได้ต่ำกว่า 96%
👉🏻ไอมากขึ้น แน่นหน้าอกต่อเนื่อง นอนราบไม่ได้
👉🏻มีการซึมลง เรียกไม่รู้สึกตัว หรือไม่ตอบสนอง
👉🏻ขณะที่ผู้ติดเชื้อที่เป็นเด็ก หากมีภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ให้รีบพาไปโรงพยาบาลโดยเร็ว
2
👉🏻หายใจหอบ
👉🏻ไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
👉🏻ใช้แรงในการหายใจ เช่น หายใจอกบุ๋ม ปีกจมูกบาน
👉🏻ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 96%
👉🏻ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม กินอาหารไม่ได้
3
ทั้งนี้ ผู้ติดเชื้อจะสิ้นสุดการรักษาแบบกักตัวที่บ้านได้ก็ต่อเมื่อ ได้รับการประเมินจาก แพทย์ผู้ดูแล
อย่างไรก็ตาม แม้ผู้ป่วยโควิดสีเขียว จะพร้อมทำการ Home Isolation เพื่อสละเตียงในสถานพยาบาลให้ผู้ป่วยที่อาการหนักกว่า แต่ก็ยังมีเสียงเล็ดลอดออกมาจากผู้ป่วยบางรายว่า ไม่ได้รับการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ ไม่ได้รับแม้กระทั่งยา อุปกรณ์จำเป็น หรือคำแนะนำใดๆ จากแพทย์ ซึ่งเรื่องนี้ ทางผู้เกี่ยวข้อง อาจจะต้องสำรวจ ติดตาม ผู้ป่วยให้ครอบคลุมมากขึ้น หากผู้ป่วยมีอาการเลวร้ายลง จะได้ประเมินการรักษาได้ทันท่วงที เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสีย ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดตามมา.
1
ผู้เขียน : ไอลดา ธนะไพรินทร์
กราฟฟิก : Varanya Pae-araya, Sathit Chuephanngam
โฆษณา