6 ส.ค. 2021 เวลา 13:47 • สุขภาพ
ผู้ติดเชื้อกรุงเทพฯ 1 แสนราย เข้าสู่การรักษาตัวแบบที่เรียกว่า Home Isolation ลองมาทำความรู้จักกันดูครับ
2
HI : Home Isolation หรือการรักษาแบบแยกกักที่บ้าน คือ การดูแลรักษาผู้ที่ติดเชื้อเป็นโควิดแล้ว แต่ไม่มีอาการ
2
HQ : Home Quarantine หรือการกักตัวที่บ้าน คือ การกักตัวผู้ที่ยังไม่ได้ติดเชื้อ แต่มีประวัติสัมผัสเสี่ยง
1
ในเรื่องการกักตัว (Quarantine ) จะแยกออกเป็นสามประเภทคือ
1
1) HQ : Home Quarantine กักตัวที่บ้าน
2) SQ : State Quarantine กักตัวในสถานกักตัวของรัฐ
3) ASQ : Alternative State Quarantine กักตัวในสถานที่อื่นที่รัฐกำหนด เช่น โรงแรม
3
ส่วนกรณีที่ติดเชื้อแล้ว จะมีสถานที่ดูแลรักษาแบ่งเป็นสามระดับ ได้แก่
1) Isolation ดูแลรักษาแยกกัก
1.1) ที่บ้าน HI : Home Isolation
1.2) ในชุมชน CI : Community Isolation
1
2) Field Hospital :โรงพยาบาลสนาม
3) Hospital: โรงพยาบาลหลัก
กล่าวเฉพาะ Home Isolation หรือการดูแลรักษาแบบแยกกักที่บ้าน จะต้องมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้
3
1) อายุน้อยกว่า 60 ปี
2) ไม่มีปัจจัยเสี่ยง คือ ไม่อ้วน ไม่มีโรคประจำตัว
3) สบายดีไม่มีอาการ
4) อยู่คนเดียวหรือมีผู้ร่วมพักไม่เกินหนึ่งคน
เมื่อเข้าเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว และสมัครใจที่จะรับการดูแลแบบนี้ ก็จะได้รับการสนับสนุนประกอบด้วย
1
1) อุปกรณ์ประเมินอาการ ได้แก่ ปรอทวัดไข้ และอุปกรณ์วัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือดชนิดตรวจที่ปลายนิ้ว
2) อาหารสามมื้อ
3) ยาที่จำเป็น เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ
ยาฟ้าทะลายโจร
4) ได้รับการประเมิน ผ่านการพูดคุยกับแพทย์หรือพยาบาลทุกวัน และให้คำปรึกษาแนะนำ ทางโทรศัพท์หรือสื่อช่องทางอื่นๆ
5) ส่งต่อในกรณีที่มีอาการเพิ่มขึ้น
โดยระหว่างที่ดูแลรักษาแบบแยกกักที่บ้านนั้น ควรจะปฏิบัติตัวดังนี้
1) งดออกจากบ้านหรือเคหสถาน
2) แยกห้องนอนจากผู้ที่อยู่ร่วมด้วย ถ้าแยกไม่ได้ ขอให้แยกมุมหนึ่งและมีฉากกั้น และระบายอากาศที่ดี
3) แยกห้องน้ำ ถ้าแยกไม่ได้ให้ใช้เป็นคนสุดท้ายและทำความสะอาดเสมอ
4) สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
5) เว้นระยะห่างจากผู้อยู่ในบ้าน ตั้งแต่สองเมตรขึ้นไป
6) ไม่ทานอาหารร่วมกัน
7) ล้างมือบ่อยๆ
8) แยกซักผ้า
2
ขณะนี้ มีผู้ติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์ของการรักษาแบบแยกกักที่บ้าน หรือ Home Isolation ในกรุงเทพฯประมาณ 100,000 ราย
5
จึงนับเป็นระบบที่สำคัญมาก ที่จะช่วยรองรับ ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ เพื่อไม่ให้เตียงในโรงพยาบาลหลักและโรงพยาบาลสนามเต็ม จากผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ
แล้วทำให้ผู้ที่มีอาการปานกลางหรืออาการหนัก ไม่มีโรงพยาบาลสนามหรือโรงพยาบาลหลักรองรับ
ขณะนี้ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) และกรมสนับสนุนบริการ ได้ทำความเข้าใจกับคลินิกต่างๆหลายพันแห่ง ที่จะเข้าร่วมดูแลกลุ่มผู้ติดเชื้อดังกล่าวแล้ว
3
Reference
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
กรมสนับสนุนบริการ
กรมการแพทย์
โฆษณา