7 ส.ค. 2021 เวลา 03:00 • สุขภาพ
ติด Covid-19 ! ต้อง Home Isolation จัดบ้านอย่างไรให้ลดการแพร่เชื้อสู่คนในครอบครัว
1
ในสถานการณ์โรคระบาดไวรัส Covid – 19 ปัจจุบันนี้ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆนะคะ ส่งผลให้จำนวนเตียงว่างในโรงพยาบาลต่างๆแทบไม่มีเลย แม้แต่งโรงพยาบาลสนามเองยังต้องรอคิวในการเข้าไปรักษา จึงเกิดวิธีการรักษาใหม่สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หรือผู้ที่ป่วยไม่มาก อยู่ในอาการสีเขียว ให้ทำ Home Isolation แยกกักตัวที่บ้านกันก่อน เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นได้รับการรักษาก่อน
4
แล้วการทำ Home Isolation ต้องทำอย่างไร เหมือนการกักตัวหรือไม่ ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง แล้วถ้าอยู่ร่วมกันหลายคนในบ้านจะมีวิธีการลดความเสี่ยงติดเชื้อได้อย่างไร เราไปชมพร้อมๆกันเลยค่ะ
7
สำหรับการจัดบ้านเพื่อแยกกักตัว Home Isolation ให้ปลอดภัย ใครที่อยู่คนเดียวอยู่แล้วก็ไม่ยาก เพียงแค่ไม่ออกไปไหนก็เพียงพอแล้ว แต่สำหรับบางครอบครัวอยู่กันหลายคน แม้ว่าข้อกำหนดจะอนุญาตให้ผู้ติเชื้ออยู่ร่วมกับสมาชิกในครอบครัวเพียงคนเดียว แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำได้นะคะ เรามาดูกันว่าเราจะจัดพื้นที่ Home Isolation อย่างไรให้เหมาะกับที่อยู่อาศัยของเรากันค่ะ
แนวทางการจัดพื้นที่ Home Isolation นี้อาจไม่การันตีได้ว่าจะไม่ติดเชื้อ 100% แต่ถ้าสามารถทำได้ ก็จะช่วยลดการติดเชื้อลงไปได้ตามความเคร่งครัดของสมาชิกในบ้านทุกคน ยกตัวอยากผู้ติดเชื้อจริงสามารถอยู่ร่วมกับสมาชิกในบ้านได้ครบ 14 วัน โดยที่สมาชิกในบ้านไม่มีใครติดเชื้อเลย ถ้าจัดพื้นที่แยกส่วนกันอย่างถูกต้องค่ะ
สิ่งสำคัญในการติดเชื้อของสมาชิกภายในบ้านนั้นอยู่ที่การอยู่ในพื้นที่เดียวกัน และใช้สิ่งของร่วมกัน ถ้าแยกกันได้ครบทุกอย่างก็จะทำให้ลดความเสี่ยงไปได้เยอะเลย แต่สิ่งที่ยากที่สุดและเป็นข้อจำกัดของหลายๆบ้าน นั่นก็คือ “ห้องน้ำ” นั่นเองค่ะ ห้องน้ำเป็นพื้นที่เสี่ยงในการติดเชื้อค่อนข้างมาก เนื่องจากเชื้อสามารถติดได้จากสารคัดหลั่งต่างๆ เราจึงใช้เกณฑ์ “พื้นที่ส่วนตัว” และ “ห้องน้ำ” เป็นข้อสำคัญการจัดพื้นที่ Home Isolation ค่ะ
บ้านที่มีพื้นที่แยกส่วนชัดเจน
สำหรับบ้านที่มีพื้นที่แยกสัดส่วนชัดเจน อย่างเช่น ห้องนอนที่มีห้องน้ำในตัว เป็นพื้นที่ที่เหมาะกับการทำ Home Isolation ที่สุดค่ะ เพราะสามารถแยกโซนผู้ติดเชื้อให้ไม่ใช้สิ่งของและพื้นที่ร่วมกันกับสมาชิกคนอื่นๆในบ้านได้ ทำให้โอกาสการแพร่เชื้อน้อยลงไปมาก คนอื่นๆภายในบ้านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติค่ะ
จัดพื้นที่ให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องที่มีห้องน้ำส่วนตัว และสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องออกมานอกห้อง สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศ หรือเปิดหน้าต่างระบายอากาศก็ได้ค่ะ แต่การเปิดหน้าต่างระบายอากาศจะช่วยลดความเสี่ยงเมื่อเปิดประตูมารับ – ส่งของนอกห้องได้ค่ะ ซึ่งทุกครั้งที่มีความจำเป็นต้องออกมาข้างนอก เช่น รับอาหาร ผู้ติดเชื้อต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งนะคะ
Tips : อาจตั้งโต๊ะเล็กๆสำหรับวางเครื่องดื่ม อาหาร ขนมและยาส่งให้ผู้ติดเชื้อหน้าห้อง เพื่อลดการสัมผัสโดยตรง และฉีดสเปรย์แอลกอฮอลทุกครั้งที่รับ – ส่งของจากผู้ติดเชื้อค่ะ
บ้านที่มีห้องน้ำใช้ร่วมกันใน 1 ชั้น
ส่วนใหญ่แล้วบ้านแต่ละหลังมักมีห้องน้ำอย่างน้อย 2 ห้องอยู่แล้วนะคะ ทำให้การทำ Home Isolation ที่บ้านสามารถลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไปสู่สมาชิกในครอบครัวได้มาก ถ้าบ้านไหนมีห้องน้ำใกล้ห้องนอนห้องเดียว ให้แยกกักตัวผู้ติดเชื้อในห้องนอนและใช้ห้องน้ำห้องนั้นๆไปเลย
เช่น ผู้ติดเชื้อ Home Isolation อยู่ชั้น 2 ให้ใช้ห้องน้ำที่ชั้น 2 ส่วนสมาชิกคนอื่นๆ ให้ใช้ห้องน้ำที่ชั้น 1 แทนค่ะ และให้ผู้ติดเชื้อเดินออกมาเข้าห้องน้ำในเวลาที่ไม่ตรงกับมีคนอื่นๆ เดินผ่านบริเวณนั้นนะคะ
ห้องพักอาศัยที่มีพื้นที่แยกส่วน แต่มีห้องน้ำใช่ร่วมกัน
สำหรับคนที่อยู่ในห้องพักอาศัยไม่ว่าจะเเป็นคอนโดมิเนียม อะพาร์ตเมนต์ ห้องเช่าที่มีห้องแยกสัดส่วนชัดเจน เช่น 1 Bedroom, 1 Bedroom Plus ก็ไม่ต้องกังวลค่ะ เนื่องจากสามารถแยกห้องนอนจากกันได้ ควรจัดพื้นที่ให้ผู้ติดเชื้อนอน 1 ห้อง (ด้านในไม่ต้องผ่านทางเข้า – ออก) ส่วนห้องน้ำถ้าเป็นไปได้เพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุดผู้ที่อยู่อาศัยร่วมด้วยควรใช้ห้องน้ำในพื้นที่ส่วนกลางแทน แต่ถ้าไม่มีห้องน้ำส่วนกลางให้ใช้ การเข้าห้องน้ำต้องปฎิบัติ ดังนี้ค่ะ
การใช้ห้องน้ำร่วมกันของผู้ติดเชื้อโควิด-19
๐ ควรให้สมาชิกภายในบ้านเข้าห้องน้ำก่อน และผู้ติดเชื้อเข้าห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย
๐ ผู้ติดเชื้อต้องล้างห้องน้ำเองทุกครั้งหลังการใช้งาน ด้วยน้ำยาล้างห้องน้ำ หรือ ๐ ผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวความเข้มข้น 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5%
๐ ผู้ติดเชื้อควรปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกด เพื่อกันการฟุ้งกระจาย
๐ ทุกคนควรล้างมือหลังจากการเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
๐ ถ้าทำได้จะทำให้ความเสี่ยงในกรแพร่เชื้ออยู่ในระดับต่ำ แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ความเสี่ยงในการแพร่เชื้ออาจเพิ่มขึ้นตามลำดับค่ะ
ห้องพักอาศัยที่ไม่มีพื้นที่แยกเป็นสัดส่วน
สำหรับคนที่อยู่ในห้องพักอาศัยที่ไม่ได้มีพื้นที่กั้นห้องแยกเป็นสัดส่วนชัดเจน เช่น ห้อง Studio เป็นต้น มีข้อแนะนำในการปฎิบัติ ดังนี้
ข้อปฎิบัติเมื่อต้องอยู่ร่วมกันกับผู้ติดเชื้อโควิด – 19
๐ เว้นระยะห่างจากผู้ทำ Home Isolation อย่างน้อย 1 – 2 เมตร
๐ ทำฉากกั้น มุ้ง หรือเต็นท์ เพื่อแยกสัดส่วนระหว่างผู้ทำ Home Isolation และสมาชิกคนอื่นๆในบ้านให้ชัดเจน
๐ จัดห้องให้โปร่ง เปิดหน้าต่างระบายอากาศให้ได้มากที่สุด และมีแสงสว่างเพียงพอ
๐ ทุกคนต้องสวนแมสตลอดเวลาถ้าทำได้ เมื่อต้องรับประทานอาหารให้สลับกันทาน โดยผู้ติดเชื้อไม่ถอดหน้ากากอนามัยตรงกับสมาชิคนอื่นๆ
๐ เมื่อเข้าห้องน้ำ ให้ปฏิบัติตามวิธีการใช้ห้องน้ำร่วมกันของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ด้านบน หรือเพื่อความมั่นใจ ให้จัดห้องน้ำเฉพาะกิจสำหรับผู้ติดเชื้อเพื่อลดความเสี่ยงค่ะ
ห้องน้ำเฉพาะกิจสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด – 19
สำหรับบ้านไหนที่มีห้องน้ำห้องเดียว แต่มีสมาชิกภายในบ้านอยู่กันหลายคน เราสามารถทำห้องน้ำ DIY ขึ้นมาเพื่อรองรับการใช้งานของผู้ทำ Home Isolation ได้ ลดการใช้งานร่วมกันให้มากที่สุด ก็จะมั่นใจได้ในระดับนึงถึงความปลอดภัยของคนในครอบครัวค่ะ และลดให้ผู้ติดเชื้อต้องล้างห้องน้ำบ่อยๆด้วย
ห้องน้ำผู้ติดเชื้อเราแนะนำให้หาฉากกั้นที่ทำได้ง่ายๆ สะดวกในการเคลื่อนย้าย ยกตัวอย่างเช่น เต็นท์สำหรับเปลี่ยนเสื้อผ้าพับเก็บได้ ซึ่งมีขายอยู่ตามร้านค้าออนไลน์ ในราคาประมาณ 400 – 1,500 บาท ใช้ร่วมกับกระโถน และถุงขยะติดเชื้อ หรือถุงขยะทั่วไปที่แยกจากขยะอื่นๆภายในบ้านค่ะ รวมๆแล้วค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ที่เราเลือกใช้ได้เลยค่ะ ส่วนขั้นตอนต่อไปเราไปดูกันว่าจะต้องทิ้งขยะติดเชื้ออย่างไรบ้างค่ะ
การทิ้งขยะติดเชื้อ
การทิ้งขยะติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นสิ่งปฏิกูลจากห้องน้ำ หรือขยะทั่วไปควรแยกเอาไว้ และต้องกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปสู่คนอื่นๆในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้เก็บขยะ หรือคนที่ในบ้านเองนะคะ
ขยะติดเชื้อมีอะไรบ้าง?
1
๐ กระดาษทิชชู
๐ หน้ากากอนามัย
๐ ชุดตรวจแอนติเจนแบบเร็ว (Antigen Test Kit)
๐ ภาชนะใส่อาหารและช้อนส้อมพลาสติก (แบบใช้ครั้งเดียว)
๐ ขวดน้ำดื่ม หรือหลอดดูดน้ำพลาสติก (แบบใช้ครั้งเดียว)
โดยมีวิธีทิ้งขยะติดเชื้อตามในภาพนี้เลยค่ะ
เมื่อทำ Home Isolation ครบ 14 วันโดยไม่มีอาการแย่ลง ก็ยินดีด้วยนะคะ ถือว่าผู้ติดเชื้อหายดีแล้วค่ะ แต่อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังตัวอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม เพราะเชื้อโควิด – 19 สายฟันธุ์เดลต้า สามารถติดซ้ำได้ ผู้ป่วยที่หายแล้วอาจมีภูมิคุ้มกันอยู่ได้ไม่นานนะ
สำหรับคนที่กักตัวครบ 14 วันแล้วไม่จำเป็นต้องตรวจเชื้อซ้ำด้วย Antigen Test Kit แล้วนะคะเพราะมีโอกาสให้ผลเป็นบวกได้มาก หมายถึงเจอเชื้อในตัวแต่ไม่สามารถแพร่ได้แล้ว แต่ถ้าอยากมั่นใจให้ตรวจด้วยวิธี RT-PCR เพื่อยืนยันผล CT ratio โดยแพทย์วินิจฉัยความเข้มข้นของเชื้อน้อยก็ถือว่าไม่สามารถแพร่เชื้อได้แล้วค่ะ
สุดท้ายนี้ของให้ทุกท่านดูแลสุขภาพ และปลอดภัยจากเชื้อ Covid – 19 กันทุกคนนะคะ
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่นี่นะคะ >> https://bit.ly/37EfYcB
3
ติดตามพวกเราได้ที่
Facebook : ThinkofLiving
LINE Official Account : https://lin.ee/svACOxc
โฆษณา