6 ส.ค. 2021 เวลา 19:17 • อสังหาริมทรัพย์
Case Study : Ashton Asoke
ทุกปัญหาย่อมมีทางออก
ถ้าซื้อตึกแถวออกถนนอีกฝั่งเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน
จากกรณีโครงการถูกศาลตีความว่า
ไม่มีถนนเข้า-ออกโครงการตามข้อกำหนดอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ(ซึ่งจะเป็นโจทย์ในการแก้ปัญหาต่อไป จำตัวเลขให้ดีดี)
1
1-อาคารสูงต้องอยู่ติดถนนสาธารณะกว้าง 10 เมตร
และยาวไปเจอถนนเส้นที่ใหญ่กว่า
2-อาคารสูงต้องมีความกว้างของที่ดินอย่างน้อย 12 เมตร
และสัมผัสถนนตามข้อ 1
3-อาคารขนาดใหญ่พิเศษเกิน 30,000 ตร.ม.
ต้องอยู่ติดถนนสาธารณะกว้าง 18 เมตร ยาวไปเจอถนนเส้นที่กว้างกว่า
1
4-ซอยสุขุมวิท 19 มีความกว้างเกิน 18 เมตร
(เอกสารอ้างอิงใน Comment และวัดจากระวางแดงก็กว้างถึงอยู่)
5-หากพิจารณามูลค่าโครงการที่ 6500 ล้านบาท(เลขกลมๆ)
ที่ถ้าหากแพ้คดี ...
แล้วต้องมีการเยียวยาลูกบ้านทุกคนอาจจะต้องจ่ายแพงกว่านี้รวมดอกเบี้ยต่างๆนานา รวมไปถึงค่าตกใจ...
6-ซึ่งหากพิจารณาอีกทางเลือกคือ
ซื้อที่ดินตึกแถวเจาะทะลุออกซอยสุขุมวิท 19
จะเป็นไปได้ไหม(ถ้าหากตึกแถวยินยอมขายให้ด้วยนะ)
ค่าชดเชยอาจจะน้อยกว่า 6500 ล้านบาทก็เป็นได้
7-ที่ดิน 291.3 ตารางวา คือเนื้อที่ดินที่ต้องทำการซื้อ
เพื่อทำเป็นถนนสาธารณะ 18 เมตร
ใช้ในการขออนุญาตเข้า-ออกโครงการ
โดยคิดจากวัดเร็วๆจากที่ดินโครงการถึงซอยสุขุมวิท 19
(โดยระยะต่างๆและแปลงที่ต้องซื้อ อยู่ในภาพประกอบ)
8-มูลค่า 873.9 ล้านบาท
คือราคาที่ต้องจ่ายค่าที่ดินทั้งหมด
หากคิดที่ดินราคาตลาดแถวนั้นที่ขึ้นสามารถอาคารสูงได้
และคิดในเรทที่พิเศษหน่อยเพราะเป็นเคสพิเศษ
(คิดแบบไวไว ตารางวาละ 3 ล้านบาท ใจใจไปเลย)
ซึ่งนับว่าอาจจะคุ้มค่ากว่า...การโดนทุบตึกและเยียวยา
1
9-บริเวณที่ดินที่ซื้อเพิ่ม จะรวมไปถึงที่ว่างหน้าอาคาร 12 เมตร
ตามข้อบัญญัติ กทมที่อาจจะต้องมีเก็บที่ดินเพิ่ม
เพื่อให้ได้ตามข้อกำหนดนี้
โดยอ้างอิงจากตัวเลขเดิมในเล่ม EIA
ที่ต้องมีที่ว่างกว้าง 12 เมตร
ยาว 36.58 เมตร
(จึงเป็นที่มาตามกรอบที่ต้องซื้อเพิ่ม)
1
10-หากทำได้ อาจจะต้องมีการพิจารณาขอใบอนุญาตใหม่
แต่อาจจะเป็นการพิจารณาแบบกรณีพิเศษ
ในเรื่องถนนและรูปแบบอาคารที่เสร็จแล้ว
โดยไม่ขัดกับกฎหมายและรถดับเพลิงเข้า-ออกได้สะดวก
และไม่กระทบต่อชุมชนแถวนั้น
11-และอาคารต้องมีระยะไม่เกิน 2H จากฝั่งซอยสุขุมวิท 19
ซึ่งความสูงอาคารปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 193 เมตร
ถ้าวัดจากขอบที่ดินในระยะตั้งฉากถึงเขตทางอีกด้านของซอยสุขุมวิท 19 จะมีระยะ 92 เมตร
และรวมกับระยะ Set Back อาคารอีก 6 เมตร
จะได้ระยะ H ที่ 98 เมตร
ดังนั้น 2H จะเท่ากับ 196 เมตร
สรุปว่า ในเรื่องความสูงอาคาร ไม่เป็นปัญหาในเคสนี้
สรุป
มีโอกาสเป็นไปได้ในกรณีนี้
หากศาลตัดสินไม่ให้มีถนนภาระจำยอมผ่านพื้นที่ รฟม.
โดยที่เจ้าของที่ดินต้องยอมขายทาง อนด. ด้วย
ประกอบกับ Process EIA และการขออนุญาตต่างๆผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ต้องพิจารณาอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ
(หรือพูดง่ายๆกว่าเห็นใจลูกบ้านทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ)
สุดท้ายขอให้ทุกฝ่ายมีทางออกที่ดีที่สุด..สำหรับกรณีนี้
"Opportunity is EVERYWHERE,
if you look closely"
#Ashton #Landeverywhere
ที่มา
โฆษณา