10 ส.ค. 2021 เวลา 01:30 • คริปโทเคอร์เรนซี
Ep. 6 : Defi ความโกลาหลที่งดงาม อินเตอร์เน็ตเลเยอร์ 1 เลเยอร์ 2 อิหยังวะ? Part.2
- จากบทความที่ผ่านมาท่านน่าจะทราบแล้วว่าระบบอินเตอร์เน็ตที่ท่านใช้ หรือ อินเตอร์เน็ต Layer 1 ทำงานอย่างไร
- และในบทความนี้ท่านจะได้ทราบว่า Blockchain หรืออินเตอร์เน็ต Layer 2 นั้นสร้างมูลค่าให้กับเหรียญ หรือคริปโตได้อย่างไร ซึ่งมันรวมไปถึงมูลค่างานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้นบนโลกออนไลน์เช่นกัน
- เพิ่งสอบเสร็จครับ เลยเขียนห่างนิสๆ 🤤🤤
1
Centralized system หรือ Cefi ในปัจจุบันอย่างที่เราทราบกันว่าหลักๆ มันคือการรวมศูนย์ในทุกๆ อย่าง ซึ่งในที่นี้มันหมายถึงข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าด้วย
- แล้วมันก็โจมตีได้ง่าย เพราะถ้าอยากได้ตัง ก็ตี "ศูนย์กลาง" ก็สิ้นเรื่ิอง
- และอย่างที่บอก ว่าการที่มันสามารถ "ก๊อบ" งานได้ไม่จำกัด ดังนั้นแน่นอนครับ มันขาด "มูลค่า"
- ถ้าเราจำกันได้ภาพมันจะเป็นประมาณนี้
ภาพ Cefi (แต่จริงๆ โครงข่ายมันเยอะกว่านี้ ผมขี้เกียจครับ)
สมมุติใครที่อยากนำเงินไปฝาก ทุกอย่างมันต้องถูกนำไปเก็บไว้ตรงกลาง ถูกไหม? เพราะอะไร? เพราะมันปลอดภัยที่สุด
ขอบคุณเจ้าของแบลนเช่นเดิมครับ (ไลน์บนขวดยังคงใช้ไม่ได้)
ทนกับงานตัดต่อระดับ 4K ไปก่อนนะครับ
- ด้วยระบบแล้ว Cefi ต้องให้มีผู้ที่ฝากเงินเข้ามาระดับหนึ่ง เพื่อนำเงิน 90 เปอร์เซ็นไป "ปล่อยกู้" เพื่อนำดอกเบี้ยมาเป็นผลกำไร และแจกจ่ายปันผลในรูปแบบ "ดอกเบี้ยเงินฝาก" ถูกไหมครับ
- สมมุติมีการจู่โจมจุดศูนย์กลางโดยการ "แฮ็ก" มันก็แค่พยายามบุกมันเข้าไป
Hacker Vs. Cefi
สมมุติไอ้หมอนี่มันทำสำเร็จ ดูดน้ำผลไม้สกัดเย็นไปหมดคลัง มันของใครล่ะ?
ก็ของคุณนั่นแหล่ะครับ
- มีหลายครั้งที่เกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจแล้วเราไม่สามารถที่จะ "ถอน" เงินสดได้ ซึ่งเดี๋ยวค่อยคุยกันครับ
- ปัจจุบันธนาคารแห่งชาติของประเทศ Looklakruk ลดการคุ้มครองเงินฝาก จากบัญชีละ 5 ล้าน บาท เหลือบัญชีละ 1 ล้านบาท
- เหตุผลหรือครับ? ไม่ทราบครับ ลองดูสถานการณ์ปัจจุบันประกอบ ส่วนตัวผมไปเปิดข้อมูลทั้งสองด้าน ผมก็เห็นเหมือนท่านหลายคนครับ ฮ่าๆๆ
- ด้วยตัวผมยังมีเงินในบัญชีไม่ถึง 200 บาทในตอนนี้ครับ เลยไม่ได้รับผลกระทบเท่าไร 🤤🤤
Hacker และน้ำผลไม้สกัดเย็นของเค้า!!! (พื้นที่โฆษณาครับ)
ถึงอย่างไรการยกตัวอย่างดังกล่าวมันแค่การโดนตบทรัพย์แบบที่เกิดได้ยากพอสมควรครับ ด้วยมันมีหลายๆ วิธีที่จะได้ตังง่ายกว่าไปเสียเวลาเจาะระบบ Cefi แบบตรงๆ เช่น ฟิชชิ่ง สวมรอยเว็บไซต์ โจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต ฯลฯ
- นี่ยังไม่รวมการที่ความเสียหายที่เกิดจากกรณีแชร์ลูกโซ่ ที่เค้าพูดๆ กันว่าคนฝากกันเป็นพันๆ ล้าน ยังไงก็ไม่โกง สุดท้ายก็วงแชร์ล่ม เจ้ากับหัวรวยหมด ส่วนเราหมดตัว......
- หากท่านคิดว่ามันห่างไกลเรานะ พวกแฮ็กเกอร์ ลองมาดูกัน
- ขโมยเพจ Facebook
- ปลอมแปลงตัวตน ตามลำดับ
- อนึ่ง แม้ท่านจะไม่ได้โดยดูดเงินออกจากบัญชีของท่าน แต่ก็บ่อยครั้งไม่ใช่หรือ ? ที่อยู่ดีๆ ก็มีบริษัทประกันโทรมาหาท่านว่าสนใจประกันตัวใดเป็นพิเศษหรือไม่
- หากฉุกคิดสักนิด มันก็คือข้อมูลที่ท่านอาจจะเผลอไปกรอกไว้ที่ไหนสักแห่งนั่นแหล่ะ ซึ่งการที่ข้อมูลของท่านถูกเผยแพร่ไปให้บริษัทต่างๆ ไม่วิธีใดวิธีหนึ่ง มันเป็นการ "โจรกรรม" ข้อมูลหรือไม่
- บางประเทศ เรื่องดังกล่าวร้ายแรงมาก ซึ่งหากท่านคิดว่าเพราะท่าน "รายได้สูง" เค้าเลยโทรมาขายประกัน อันนี้ก็แล้วแต่ความสบายใจของท่าน ผมห้ามไม่ได้ 😆😆
ข้อมูลจะถูกบันทึกหรือก็คือ Block และเชื่อมกันด้วย Chain
- ถ้ากล่าวถึง Layer 2 มันปลอดภัยยังไง มา ผมจะอธิบายแบบพื้นๆ ให้ฟัง
- คือการที่ปกติหากผมจะสร้างงานอาร์ตและอยากนำไปปล่อยใน Blockchain เมื่อมันถูกส่งต่อ มันก็จะไม่ถูก Copy แต่งานนั้นมันจะ "หาย" ไปจากมือผมจริงๆ
- หากสังเกตุมันคือการสร้าง "มูลค่า" หากงานนั้นๆ ถูกส่งต่อไปเรื่อยๆ มันก็จะแพงขึ้น เพราะมันมีแค่ "ชิ้นเดียว"
- ดังนั้นเมื่อเอาระบบธุรกรรมขึ้นมาอยู่บน Blockchain มันก็ย่อมทำได้ เพราะมันมีการ "เปลี่ยนมือ" โดยมีการเก็บ "ค่าแปลภาษา" ที่น้อยต่อกว่า ทำให้เสียค่าธรรมเนียมที่น้อย
- แล้วทีนี้ มันปลอดภัยกว่าอย่างไร นั่นสิ? ลองมาดูกัน
- สมมุติผมต้องการที่จะส่งต่อ "เหรียญ D juice" (นามสมมุติ) ให้กับน้องส้ม (นามสมมุติ) จำนวน 1 ขวด ในบล็อกที่ 1 มันก็จะทำการบันทึกไว้
สมมุติผมเอาอะไรซักอย่างไปลงบน BlockChain
- ในบล็อกที่สองมันก็จะทำการบันทึกว่า "เหรียญ D juice" ได้เปลี่ยนมือไปอยู่ที่น้องส้มเรียบร้อยแล้ว
เปลี่ยนมือและ D Juice Coin(?) ได้หายไปจากมือผมแล้ว
- ใน 1 บล็อก จะมีระยะเวลากำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับ เชนนั้นๆ กำหนดไว้ว่าเวลาต่อ 1 บล็อก ใช้เวลาเท่าไหร่ ซึ่งแต่ละบล็อกจะเชื่อมโยงต่อกันไปเรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด ซึ่งการเชื่อมโยงเราก็เรียกว่า "เชน"
- ทีนี้ ถ้ามีแฮ็กเกอร์ต้องการเจาะระบบล่ะ? เค้าก็จะต้องพยายามเจาะเข้ามาในบล็อกใดบล็อกหนึ่ง เพื่อโจรกรรมทางใดทางหนึ่ง ถูกไหม
- แฮ็กเกอร์พยายามที่จะ "เจาะ" เข้ามา เพื่อจะเอา "เหรียญ D Juice" ในบล็อกนั้น
- มันก็ดูง่ายกว่าการแฮ็กบนระบบ Cefi อีกเนอะ เพราะมันก็แค่เจาะบล็อกเดียว จริงป่ะ?
- ด้วยระบบBlockchain มันมีข้อดีอย่างหนึ่งครับ คือ แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์มันจะส่งสำเนาข้อมูลทั้งหมดระหว่างกัน หรือเรียกว่าระบบ "Peer to Peer network"
- กล่าวคือ คอมพิวเตอร์ 1 ตัว เราก็เรียกว่า 1 peer 2 ตัวก็ 2 peer ไปเรื่อยๆ หรือบางทีก็เรียกว่า "โหนด" (Node)
สมมุติว่ามีแค่ 3 Peer นะครับ
- ซึ่งข้อดีของมันคือ มันตรวจสอบกันเองระหว่าง Peer ต่างๆ ตัวอย่างเช่น
- สมมุติแฮ็กเกอร์ได้ทำการดึงเหรียญออกมาแล้วจาก Peer 1 ซักสองเหรียญ ทีนี้ Peer 2 กับ 3 มันบันทึกไว้ว่า "เหรียญ D juice" มันมีสามเหรียญ ดังนั้น ใน Peer 1 มีความ "ผิดปกติ" แน่นอน
แฮ็กเกอร์พยายามขโมยเหรียญ D Juice Coin
- ระบบมันก็จะทำการยืนยันข้อมูลของทุก Peer ให้มันตรงกัน ดังนั้น เหรียญที่ Hacker พยายามจะเอามันออกไปมันก็ไม่สามารถทำได้ เพราะแต่ละ Peer มัน "มอง" กันตลอด
- ซึ่งส่งผลให้การทำธุรกรรมที่ไม่โปร่งใสดังกล่าว ไม่สามารถบันทึกลงใน Block ได้ เพราะข้อมูลมันไม่ตรงกัน
มันเข้าไปล้วงไม่ได้ เพราะระบบมัน "มอง" กันเองตลอด
- แฮ็กได้หรือไม่? บอกเลยว่าได้ โดยหากจะทำการ "แฮ็ก" คุณต้องแฮ็กมากกว่า 50 เปอร์เซ็น หมายความว่าในวงจรนี้คุณต้อง "แฮ็ก" 2 Peer ขึ้นไป เพื่อให้ข้อมูลคุณมีมากกว่า 50 เปอร์เซ็น
ถ้าโดนแฮ็กพร้อมกันเกิน 50 เปอร์เซ็น ก็อาจจะสำเร็จมั้ง?
- ปัจจุบัน BTC มีโหนดอยู่หลักแสนโหนด และมีเวลาต่อ 1 บล็อก เท่ากับ 10 นาที สมมุติมีโหนดอยู่ทั้งหมดหนึ่งแสนโหนด หมายความว่าคุณต้อง "แฮ็ก" โหนดห้าหมื่นหนึ่งพันเครื่อง พร้อมๆ กันภายในระยะเวลาหนึ่งบล็อก
ถ้าจะแฮ็กจริงๆ คงยากกว่าแยกโฟรโดไปมอร์ดอร์
- และจริงๆ การโอนเหรียญบนโลกคริปโตเค้าก็ไม่ใช้เชน BTC แล้ว เพราะมันถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ถือว่า "เก่า" บนโลกของ Blockchain นักลงทุนเลยเปรียบเสมือนว่า BTC มันก็คือ "ทอง" บนโลกของคริปโต
- ทำไมไม่ใช้ Chain ของ BTC? เพราะมันช้า ค่า Gas แพงนรกแตก ในขณะที่เชนอื่น ๆ มันลดระยะเวลาต่อบล็อกได้จนถึงหลักวินาทีไปแล้ว และค่าธรรมเนียมมันก็ถูกแบบโดนหั่นกันเห็นๆ
- นี่ยังไม่รวมที่ ETH เค้า Hard Fork ได้สำเร็จที่กรุง London ด้วยนะ คือมันส่งผลหลายอย่าง ทั้งราคาของตัว ETH เอง ค่า Gas ที่ลดลง และมีการ " เผา" เหรียญออกเมื่อมีการทำธุรกรรม ส่งผลให้ราคามันอาจจะ "นิ่ง" ขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต
- ทั้งนี้ BTC มีการอัพเกรดด้วยการมี Taproot ซึ่งเชนของ BTC จะสามารถตีตลาด Defi ได้หรือไม่ มันก็น่าติดตามในอนาคต
อนึ่ง ถ้าโหนดมันใหญ่ๆ ระดับ Master Node มันก็มีระบบป้องกันแบบ Cefi มาทำงานร่วมด้วยนั่นแหล่ะ
ถามว่า Layer 2 หรือ Blockchain มันดีกว่า Layer 1 หรือไม่? ก็ตอบได้ว่า "ใช่" ในแง่ความปลอดภัย และที่สำคัญมัน "โปร่งใส" (เดี๋ยวผมจะบอกว่ามัน "โปร่งใส" อย่างไร)
- และแน่นอนผมก็จะตอบว่า "ไม่" ในแง่ของการส่งต่อข้อมูลเพราะเอาจริงๆ มันก็ยัง "ช้า" กว่าบน Layer 1 บวกกับจำนวนคนที่ใช้เชนในเวลานั้นๆ ซึ่งมันก็เสียทั้งค่า Gas ไม่ว่าคุณจะส่งแล้วมันสำเร็จหรือไม่สำเร็จ คุณก็เสียค่า Gas อยู่ดี
- แต่ปัจจุบันมันทำงานร่วมกันได้ ทำให้อินเตอร์เน็ตทั้งสองเลเยอร์มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น มันมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งในโลกของ Cefi และ Defi แน่นอนครับ Defi มันก็เหมือนยุค "ฟองสบู่ดอทคอม" เพราะอะไรทีมันมารันอยู่บน Blockchain เราก็มักคิดว่ามัน "โปร่งใส" และเหล่าวัยรุ่นก็พร้อม "ซิ่ง" เช่นกัน จะกล่าวว่าเราอาจจะเห็นอะไรที่มัน "เหมือนๆ กันไปหมด" บนโลก Defi
- เราเห็นอะไรหลายๆ อย่างที่มันค่อนข้าง "พิสดาร" พอสมควร รวมทั้งอะไรที่มัน "ล่ม" ในเวลาไม่กี่นาที (หรือไม่กี่วินาที) ในวงการ Defi เช่นกัน
ผมที่เห็นคนเล่นท่ายากใน Defi (และก็ไม่เข้าใจมันอยู่ดี)
- ถึงอย่างไร มันก็เป็น "อนาคต" เพราะ Blockchain ก็ยังถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมันก็ทำงานอยู่ "เบื้องหลัง" บางกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันเช่นกัน เพียงแต่ผมและท่าน ไม่รู้ตัวก็เพียงเท่านั้นแหล่ะครับ
- งานตัดต่อห่วยแตกมากครับ ขอโทษครับ 🙏🙏
- ขอบคุณเจ้าของแบรนด์เช่นเดิมครับ และขอบคุณทุกท่านที่ออกทะเลกันผมอีกครับ 🚤🚤
ไปเที่ยวทะเลกัน
ขอบคุณที่ติดตามครับ
ฝากซีรี่ Critical Thinking : Defi ความโกลาหลที่งดงาม ด้วยครับ
ฝากกดติดตามด้วยครับ (เดี๋ยวผมมีไรจะเล่าให้ฟัง🤔🤫)🙏🙏🙏
เหมือนเดิมครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา