Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TODAY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
7 ส.ค. 2021 เวลา 11:22 • ธุรกิจ
คปภ. ปลดล็อกปมเอกสารพิสูจน์การติดเชื้อโควิด-19 เพื่อเคลมประกันแบบ ‘เจอ-จ่าย-จบ’ สั่งบริษัทประกันภัยใช้เอกสารการตรวจโดยวิธี RT-PCR สำหรับการจ่ายผลประโยชน์ แทนใบรายงานหรือใบรับรองจากแพทย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน
1
วันที่ 7 ส.ค. 2564 ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทย ได้กระจายออกไปเป็นวงกว้าง และเกิดคลัสเตอร์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันระบบสาธารณสุข ก็มีขีดความสามารถรองรับผู้ป่วยที่จำกัดมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนและผู้เอาประกันภัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1
สำนักงาน คปภ. ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับมาตรการของรัฐบาลที่ได้ปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนผู้เอาประกันภัย โดยการขยายความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยที่เกี่ยวข้อง
ได้แก่ ขยายความคุ้มครองการรักษาพยาบาลเนื่องจากการติดเชื้อโควิด-19 ในโรงพยาบาลสนามหรือ hospitel ให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย เช่นเดียวกับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไป และขยายความคุ้มครองกรณีผลกระทบจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่กระทำการโดยแพทย์ พยาบาล หรือบุคลากรที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องตามกฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะดําเนินการ ณ สถานที่ใดก็ตาม ให้ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย เช่นเดียวกับการฉีดวัคซีนในโรงพยาบาลทั่วไป
รวมทั้งขยายความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและค่าชดเชยรายวันกรณี Home Isolation หรือ Community Isolation หากมีความจำเป็นทางการแพทย์ที่ต้องรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน ในสถานพยาบาล ไปแล้วนั้น
แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในปัจจุบันมีความรุนแรง ทำให้มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวนมาก ส่งผลให้การพบแพทย์เพื่อเข้าถึงการรักษาพยาบาลและการขอใบรับรองแพทย์ในสถานพยาบาลของผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปได้ยาก และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้เอาประกันภัย รวมทั้ง ลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดจนให้เกิดความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติการให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID–19 แบบเจอ จ่าย จบ ซึ่งมีความล่าช้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนในหลายๆ กรณี
ในฐานะนายทะเบียนจึงได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 45/2564 เรื่อง การใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันชีวิต และคำสั่งนายทะเบียนที่ 46/2564 เรื่อง การใช้เอกสารประกอบการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย
โดยกำหนดให้บริษัทประกันภัยใช้เอกสารการตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับการตรวจหาเชื้อได้ จากห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยวิธี RT-PCR แทนใบรายงานหรือรับรองจากแพทย์ สำหรับการจ่ายผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 กรณีผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือตรวจพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้ (แบบเจอ-จ่าย-จบ)
“การออกคำสั่งนายทะเบียนทั้งสองฉบับนี้ ได้ดำเนินการโดยใช้มาตรการจากเบาไปหาหนัก กล่าวคือ เริ่มจากการใช้มาตรการขอความร่วมมือไปก่อน แต่ก็ยังพบว่ามีหลายบริษัทประกันภัยที่ยังมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจทำให้ประชาชนผู้ใช้บริการสับสนและไม่ได้รับความสะดวก ดังนั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเพื่อให้บริษัทประกันภัยทุกแห่งปฏิบัติในทิศทางเดียวกัน อันจะเป็นการลดภาระให้กับประชาชนและผู้เอาประกันภัยที่จะต้องใช้หลักฐานแสดงเพื่อเคลมประกันภัย COVID-19 แบบเจอ-จ่าย-จบ ได้รวดเร็วยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการทางกฎหมายด้วยการออกคำสั่งนี้” เลขาธิการ คปภ. กล่าว
1
ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สายด่วน คปภ. 1186 หรือ Add Line Official @oicconnect
#TODAYBizview
#workpointTODAY
#สาระความรู้เพื่อวันนี้
ไม่พลาดข่าวธุรกิจ การตลาดที่สำคัญ ติดตาม TODAY Bizview
https://bit.ly/3picIeS
ติดตามรายการของ workpointTODAY ทาง YouTube
https://bit.ly/2YDfyiK
ติดต่อโฆษณา E-mail:
advertorial@workpointnews.com
8 บันทึก
21
25
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
TODAY Bizview
8
21
25
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย