7 ส.ค. 2021 เวลา 13:15 • ไลฟ์สไตล์
วิกฤตโควิดสอนอะไรเราบ้าง อะไรที่เราควรทำเพื่อเป็นแผนสำรองยามมีเรื่องฉุกเฉินเกิดขึ้นในชีวิต ยุคนี้คนรวยวันนึงก็กลับมาจนได้ คนธรรมดาหาเข้ากินค่ำ วันนึงก็หมดทางหากิน แล้วจะทำยังไง แนวคิดไหนที่เราควรเปลี่ยน มาค่ะ จะเล่าให้ฟัง
หลายๆครั้ง ที่เราไม่เคยสังเกตุตัวเองว่า ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยแค่ไหน มีแต่ชอบอะไร รักอะไรก็ทำไป คิดแค่ว่าสนุกวันนี้ให้เต็มที่ วันไหนจะตายก็ไม่รู้ เอาวันนี้ก็พอ แต่เราลืมไปว่า ถ้าเรายังไม่วันนี้ หรือพรุ่งนี้หล่ะ เราจะทำยังไง จะวางแผนชีวิตยังไง แผนเอ แผนบี มีมั๊ย แล้วแผนสำรองอื่นที่ควรมีละ
เอาง่ายๆ อยู่ๆ ใครจะไปคาดคิดว่า จะมีโควิดโผล่ขึ้นมาในโลกนี้ โรคอุบัติใหม่ที่ไม่ใช่คร่าชีวิตผู้คนท่านั้น แต่มันบีบคั้นหัวใจผู้คนให้ดิ้นรน หนีความอดอยาก อดตาย
ประเทศไทยเป็นเมืองท่องเที่ยว พอชาวต่างชาติไม่มาเศรษฐกิจก็พังครืน แถมจะออกบ้านทำมาหากินก็ทำไม่ได้ โรคระบาดอาละวาดเต็มเมือง ลำบากเลือดตาแทบกระเด็นด้วย แล้วเราควรจะทำยังไง เปลี่ยนค่ะ เปลี่ยนความคิดนิดเดียว แล้วชีวิตคุณจะง่ายขึ้น ดีขึ้นค่ะ
📌 เริ่มต้นที่ความคิดเดิมๆ อันแรกก่อนค่ะ ประเภทของมันต้องมี เห็นอะไรที่ชอบก็ซื้อๆเก็บไว้ อันนี้จะว่าไปก็ไม่ได้แย่อะไรมาก อย่าเปลี่ยนกระทันหันค่ะ จะลงแดงเอาได้😅
ของมันต้องมี เปลี่ยนเป็นของที่ขายได้ยามฉุกเฉิน เมื่อยามต้องการเงินค่ะ
แค่ลองมามองมุมใหม่ค่ะ คือ เมื่อเรามีเงินเหลือ อยากซื้อของสะสม อยากซื้อของที่เราชอบ ปรับเปลี่ยนมุมคิดนิดเดียว "เปลี่ยนค่ะ" ไอ้ความคิดที่จะซื้ออย่างเดียว คิดต่ออีกนิดค่ะ ว่ามันขายต่อได้มั๊ย เมื่อถึงคราวจำเป็น มันสามารถแปรเปลี่ยนเป็นเงินได้มั๊ย ซื้อมานานๆราคามันสูงขึ้นหรือมันถูกลงละ
3
ถ้าสูงขึ้นก็ซื้อได้แบบนี้ค่ะ แค่ปรับมุมคิดชีวิตก็จะเริ่มมีแผนสำรองค่ะ อะไรที่ขายได้ยามวิกฤต เช่น สร้อยทอง พระเครื่อง(อันนี้เฉพาะกลุ่มค่ะ) ที่ดิน เป็นต้น
วางแผนก่อนใช้จ่ายค่ะ
แล้วอะไรที่ซื้อแล้วราคาของจะลดลง ก็เช่น รถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ มือถือ คอมพิวเตอร์ เสื้อแบรนด์เนม เป็นต้นค่ะ พอเห็นภาพนะคะ
📌 อันที่สอง งานอดิเรก hobbyของคุณทำเงินมั๊ยคะ หรือมันมีแต่ซื้อๆ จ่ายเงินเพื่อความสนุก สะใจอย่างเดียวคะ ลองกลับมาเปลี่ยนมุมคิดค่ะ เอาที่สนุกด้วย ได้เงินด้วยค่ะ
อย่างที่รู้งานอดิเรก เป็นการผ่อนคลายแบบหนึ่ง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันก็เสียเวลาในชีวิตเราไม่น้อย เราคลั่งไคล้อะไรซักอย่าง ใจก็ฝักใฝ่ เห็นอะไร ไปไหนก็เป็นนึกถึงแต่เรื่องนั้นๆ เอาใหม่ค่ะ หางานอดิเรกที่เราสนุก ใช้เวลาคุ้มค่าและทำให้เกิดรายได้ค่ะ
ขอยกตัวอย่างนะคะ ถ้าคุณชอบทำขนมกินเอง ทำบ่อยๆ กินกันเองในบ้านจนอ้วน "เปลี่ยนค่ะ" ลองดูว่าขนมอะไรที่คนนิยม หรือคนหากินยากแต่คนนิยม ลองฝึกทำค่ะ ทำให้อร่อยแล้วเริ่มแจกให้คนข้างบ้านชิม ให้เพื่อนร่วมงานชิม ต่อไปเริ่มขายค่ะ
ง่ายมั๊ยคะ ได้ทำที่เราชอบแถมได้เงินด้วย
งานอดิเรก&สร้างรายได้ ได้ด้วย เวิร์คสุดค่ะ
ตัวอย่างที่สอง ถ้าปกติคุณชอบโพสโน่นโพสนี่ในแอปโซเชียลต่างๆ เขียนคล่องแคล้ว บ่นโน่นบ่นนี่ไปเรื่อย "เปลี่ยนค่ะ" ลองเปลี่ยนสไตล์การเขียน เป็นรีวิว แนะนำ แชร์ประสบการณ์ต่างๆ หรือจะสอนทำอะไรซักอย่าง แล้วลองมองหาแพลตฟอร์มใหม่ ที่สามารถเขียนแล้วทำเงินได้ค่ะ อย่างBlockditนี่ละค่ะ อันนี้เรียกได้ระบายอารมณ์แถมได้เงินค่ะ น่าสนใจดีนะคะ
📌 อันที่สาม เวลามีค่าค่ะ แต่คนส่วนมากปล่อยมันผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์ การไถมือถือดูแอปโน้นแอปนี้เผื่อความบันเทิง ค่อนข้างเป็นเรื่องน่าเสียดายค่ะ เสียดายเวลาน่ะค่ะ "เปลี่ยนค่ะ" ถ้าเราลองเปลี่ยนใหม่ ลองลดการเสพสื่อเพื่อความบันเทิงลงบ้าง เปลี่ยนมาเติมความรู้ให้ตัวเองค่ะ เพิ่มความรู้ในด้านที่ตัวเองถนัดและไม่ถนัด คนสมัยนี้ควรมีความรู้แบบรู้ลึก แต่แตกกว้างค่ะ เหมือนตัว T ค่ะ คนที่อายุเท่ากัน วุฒิการศึกษาเท่ากัน มีเกรดเฉลี่ยเท่ากัน แต่ความรู้นอกสายมีมากกว่ากัน มีของแถมแบบนี้ คุณคิดว่านายจ้างจะรับใครเข้าทำงานคะ
ยกตัวอย่างค่ะ เหมือนคุณจบวิศวะมา ด้วยคะแนนสูง อันนี้มีหาได้ทั่วไปค่ะ แต่โชว์เหนือ ด้วยการมีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ สามารถเขียนโปรแกรมได้ เขียนแผนงานได้ ขับรถยนต์และมอเตอไซค์ได้ ขายของได้ แถมpresentงานได้ แบบนี้คุณคิดว่าน่า
จ้างมั๊ยคะ มีคนเดียวคุ้มค่าขนาดนี้ สมัยนี้อย่าเกี่ยงงานค่ะ ทำอะไรได้ทำไปค่ะ
นี่ละค่ะ สามไอเดียที่จะทำให้คุณไม่อยู่ในวิกฤตอีกค่ะ เพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน ถือครองทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ เพิ่มมูลค่าตัวเองให้นายจ้างต้องการตัว สะสมประสบการณ์ไปเยอะๆ วันนึงก็จะพร้อมทำธุระกิจของตัวเองค่ะ อย่ารอให้เกิดวิกฤตอีกรอบ เพื่อจะล้มอีกรอบค่ะ อยู่แบบลอยตัวในทุกวิกฤตจะดีกว่านะคะ เอาไว้เจอกันค่ะ
#ทางรอดยามวิกฤต #โควิดทำพิษ #แผนสำรอง #ภาวะฉุกเฉิน
อยากเพิ่มแผนสำรองอื่นๆอ่านโพสนี้ https://www.blockdit.com/posts/610e07d2a46ddd0ff4b2b065
reference
หนังสือ งานประจำสอนทำธุระกิจ
โดย นาอิส อิสลาม

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา