Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
งานวิจัยใกล้แค่เอื้อม
•
ติดตาม
8 ส.ค. 2021 เวลา 02:00 • สุขภาพ
เมื่อ “Fake News” เกิดจากความไม่ตั้งใจ และเหตุผลว่าทำไมมันถึงได้รับความนิยม
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Indian Journal of Social Psychiatry ปี 2020 เกี่ยวกับข้อมูลบิดเบือนในสื่อออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด19 ค่ะ
(Background source: Cottonbro จาก Pexels )
เพราะโควิด19 ไม่ได้นำมาซึ่งการป่วยและความตายเพียงเท่านั้น แต่ยังพ่วงมาด้วยสภาพจิตใจที่ย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็นความวิตกกังวล ความตื่นตกใจ หรือแม้กระทั่งอุปาทานหมู่
ด้วยยุคสมัยแห่งเทคโนโลยี นอกจากการแพร่ระบาดของตัวไวรัสเองแล้ว ก็ยังมีการระบาดของอีกสิ่งที่แอบแฝงอยู่นั่นคือ “Digital Infodemic” ที่ทำให้การระบาดครั้งนี้แตกต่างจากสถานการณ์ครั้งก่อนๆ
ผู้เขียนขออนุญาตอธิบายเพิ่มเติมว่า “Digital Infodemic” คือการประกอบคำของ digital (ดิจิทัล) information (ข้อมูล) + pandemic (การระบาด) = การระบาดของข้อมูลดิจิทัล
แน่นอนว่าในบรรดาเนื้อหาทั้งหมดย่อมมีข้อมูลที่บิดเบือนและข่าวปลอมอย่างแน่นอน โดยพวกมันมักมาพร้อมกับ “มลภาวะทางข้อมูล” ที่กระตุ้นความวิตกกังวล ความกลัว ความไม่มั่นคง และความปั่นป่วนที่นำไปสู่การรักษาที่ไม่ถูกต้อง การไม่ปฏิบัติตามมาตการป้องกัน ความอคติ และการแย่งชิงทรัพยากรทางสุขภาพ
งานวิจัยยังชี้อีกว่าการใช้เวลาบนหน้าจอดิจิทัลที่มากขึ้นควบคู่กับการใช้สื่อเทคโนโลยีอย่างไม่สร้างสรรค์ในช่วงการแพร่ระบาดนี้เป็นผลจากมาจากการกักตัวที่บ้านและความพยายามที่จะอัพเดตข่าวใหม่ๆ ตลอดเวลา ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้เป็นตัวช่วยเผยแพร่และส่งเสริมข้อมูลที่บิดเบือนในหลายรูปแบบ
(Source: Engin Akyurt จาก Pexels)
นอกจากนี้พฤติกรรมข้างต้นยังก่อให้เกิดความทุกข์และความตื่นตระหนก รวมทั้งความไม่สบายทางอารมณ์ อาการเจ็บปวดทางร่างกาย อาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ และภาวะซึมเศร้า นี่คือผลจาก toxic overuse นั่นเองค่ะ
บทเรียนจากการระบาดครั้งก่อนๆ ได้นิยามสื่อโดยเฉพาะโซเชียลมีเดียหรือสื่อสังคมว่าเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการส่งเสริมความรู้ด้านสุขภาพและควบคุมการแพร่ระบาด แต่ในการศึกษานี้ โซเชียลมีเดียนับว่าเป็นดาบสองคมที่แม้จะช่วยสร้างความตระหนักรู้และการสื่อสารที่มีคุณภาพในช่วงวิกฤต แต่ก็กลับเป็นแหล่งผลิตเฟกนิวส์ด้วยเช่นกัน
และนี่คือมุมมองทางจิตวิทยาบางส่วนว่าทำไมเฟกนิวส์ถึงได้รับความนิยมและแพร่หลายค่ะ
❗️1. ถึงผิดแต่ก็เชื่อ: จากกรณีการแพร่กระจายของข้อความ “ขิงและขมิ้นสามารถรักษาโควิด19 ได้” บนโซเชียลมีเดีย สามารถอธิบายได้ว่าแม้ว่าขิงจะมีฤทธ์ในการยับยั้งไวรัสแต่ก็ไม่มีหลักฐานที่เด่นชัดว่ามันสามารถต้านโคโรนาไวรัสได้
❗️2. ปรับความเชื่อผิดๆ ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน: จากความเชื่อผิดๆ ที่ว่าการดื่มน้ำร้อนจะช่วยเอาชนะโรคต่างๆ ได้ ซึ่งก็ไม่แปลกใจเลยว่าผู้คนจะคิดว่าน้ำร้อนสามารถฆ่าเชื้อโควิดได้เช่นกัน
❗️3. ทฤษฎีการปลูกฝัง: การเปิดรับข่าวนั้นซ้ำๆ ทั้งข่าวจริงและปลอมสามารถ “เน้นย้ำ ยืนยัน และปรับเปลี่ยน” คุณค่า ความเชื่อ และการรับรู้ความเป็นจริงได้ โดยวิธีการที่เนื้อหาถูกถ่ายทอดเป็นสิ่งสำคัญเพราะนี่คือสิ่งที่โฆษณาใช้กัน
(Source: Venafi)
❗️4. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม: พฤติกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นจากการลอกเลียนแบบและสังเกตคนดังในสื่อ ทั้งการกระทำ กริยาท่าทาง และแนวคิดของพวกเขาจะได้รับความนิยมในสังคมผ่านกลไกนี้
❗️5. การให้ความสำคัญกับเรื่องแง่ลบ: การห้ามหรือปฎิเสธเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกมองว่าเป็นมาตรการป้องกัน ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ได้ผลมากกว่าบอกให้คนสวมแมสก์หรือล้างมือเสียอีก
❗️6. แบบจำลองข่าวลือ: คำบอกเล่าหรือข่าวลือกลายเป็นพฤติกรรมที่ถูกเรียนรู้เพราะความกลัวที่จะถูกกีดกันจากสังคม ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมทำสิ่งใดมันก็เป็นเรื่องง่ายกว่าที่จะปิดหูปิดตาแล้วทำตามเขาไป
❗️7. การตีความเกินเหตุและการแปรผลวิทยาศาสตร์ผิด: เฟนิล/ครีโซล/เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ เป็นที่รับรู้ว่าสามารถฆ่าไวรัสได้ แต่กลับมีการนำตรรกะนี้ไปใช้กับไวรัสโคโรนาโดยปราศจากหลักฐานการสนับสนุน
❗️8. เหตุผลจากความกลัว: มนุษย์กลัว “ความไม่รู้” หรือ “ความไม่แน่นอน” ในสถานการณ์แบบนี้จิตใจที่เป็นกังวลจะปรุงยาขึ้นเองและมีแนวโน้มที่จะยอมรับความจริงที่แปลกประหลาดหรือไร้เหตุผลที่สุด
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมยอดขายยาปฏิชีวนะถึงเพิ่มขึ้นมากแม้ว่ามันจะไม่มีฤทธิ์ในการรักษาโควิด19 นั่นเป็นเพราะการรักษาและเขียนใบสั่งยาด้วยตัวเอง อีกทั้งการกักตุนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ยาต้านไวรัส และน้ำยาฆ่าเชื้อไม่เพียงแต่สร้างความตื่นตกใจ แต่ยังทำให้โรงพยาบาลและผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ขาดแคลนสิ่งเหล่านี้อีกด้วย
(Source: Henrikas Mackevicius จาก Pexels)
❗️9. เลือกเชื่อแค่สิ่งต้องการ: มนุษย์มักยอมรับสิ่งต่างๆ ที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและประเพณี เช่น ชาวอินเดียนแดงเชื่อว่าการใช้โหระพาและตรีผลาในการรักษาจะได้ผลดีกว่าทั้งที่มีหลักฐานสนับสนุนเพียงน้อยนิด ในทำนองเดียวกันพวกเขาก็ปรับใช้ความเชื่อเหล่านี้เข้ากับการระบาดของไวรัส
❗️10. ทฤษฎีย้อนกลับในสื่อสังคม: วิดิโอปลอมนับร้อยเกี่ยวกับการแพร่ระบาดในอินเดีย การฝังศพหมู่ในจีน ไวรัสที่กระจายผ่านฝูงสัตว์ในหลายๆ ช่องทางของสื่อออนไลน์ชี้ให้เห็นอันตรายของการแชร์ข้อมูลที่ไม่พิจารณาให้ดี หรือแม้กระทั่งทฤษฎีสมคบคิดอย่างการใช้ไวรัสโคโรนาเป็นอาวุธชีวภาพหรือขยะชีวภาพอาจทำให้เกิดการโต้เถียง แต่ในท้ายที่สุดมันจะกลายเป็นความตื่นตระหนกและอุปาทานหมู่ระดับโลกได้
เห็นอย่างนี้แล้ว ผู้อ่านคงทราบกันแล้วใช่ไหมคะว่าเฟกนิวส์อาจเกิดจากความไม่ตั้งใจได้จริงๆ แต่เพราะการจมกับสื่อบวกกับสภาวะความคิดและจิตใจตอนนั้น ข้อมูลที่ผลิตหรือส่งต่ออาจถูกบิดเบือนได้ ดังนั้นควรตรวจสอบให้ดีก่อนโพสต์หรือแชร์นะคะ :)
อ้างอิงงานวิจัย
Psychology of misinformation and the media: Insights from the COVID-19 pandemic
https://www.indjsp.org/article.asp?issn=0971-9962;year=2020;volume=36;issue=5;spage=131;epage=137;aulast=Banerjee
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย