8 ส.ค. 2021 เวลา 03:32 • ไลฟ์สไตล์
10 วิธีที่ทำให้บทสนทนาดีขึ้น
2
ปัจจุบันในโลกใบนี้ที่พวกเราอาศัยอยู่ ที่ซึ่งทุก ๆ การสนทนา สามารถเป็นการโต้เถียงกันได้ ไม่ว่าเรื่องที่สนทนาจะเป็นเรื่องเล็กแค่ไหน ก็ยังมีคนคิดจะสู้ และถกเถียงเพื่อมัน
และส่วนหนึ่งเกิดจากเทคโนโลยี ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตคนเรามาขึ้น จากการศึกษาของสถาบัน พิว พบว่าวัยรุ่นอเมริกันประมาณหนึ่งในสาม ส่งข้อความมากกว่า 100 ข้อความต่อวัน ซึ่งหลายคนมักส่งของความหาเพื่อนมากกว่าที่จะคุยต่อหน้า
10 วิธีที่ทำให้บทสนทนาดีขึ้น
ทักษะในการสนทนาไม่ควรถูกมองข้าม เพราะมันคือชีวิตประจำวันของเรา และเกือบทุกอาชีพต้องใช้มัน
และเรามี 10 วิธีง่าย ๆ ที่จะถ่ายทอดความรู้นี้ให้คุณ และคุณไม่จำเป็นต้องทำได้ทุกข้อ แค่ฝึกสักสองสามข้อจนชำนาญ คุณก็จะได้เพลิดเพลินไปกับ บทสนทนาดี ๆ แล้ว
ข้อที่ 1 อย่าทำอะไรหลายอย่างพร้อมกัน
การสนทนาที่ดี ไม่ควรจะพูดหรือฟังไปด้วยและทำอย่างอื่นไปด้วย มันดูไม่ใส่ใจคู่สนทนาของคุณ และก็ดูครึ่ง ๆ กลาง ๆ บางทีถ้าคุณไม่อยากคุย คุณก็ไม่ได้ต้องคุณ แต่อย่าคุยแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ
ข้อที่ 2 อย่าวิจารณ์
ถ้าคุณอยากออกความคิดเห็นโดยไม่ต้องการการตอบโต้ หรือการพัฒนาใด ๆ การเขียนบล็อกก็เป็นทางเลือกหนึ่งของคุณ
เรามักวิจารณ์เพียงเพราะพวกเราต่างกัน การฟังที่แท้จริงจำเป็นจะต้องเก็บใจไว้ และหมายถึง ยอมสละความคิดเห็นส่วนตัวไปด้วย การทำอย่างนี้ ทำให้มีโอกาสที่จะเปิดเผย ความในใจของคู่สนทนาของคุณอีกด้วย
ข้อที่ 3 ใช้คำถามปลายเปิด
ในกรณีนี้ ให้เอาอย่างนักข่าว ขึ้นต้นคำถามด้วย ใคร อะไร เมื่อไหร่ ที่ไหน ทำไม หรือ อย่างไร
ถ้าคุณใช้คำถามที่ซับซ้อน คุณก็จะได้คำตอบเรียบ ๆ ถ้าฉันถามคุณว่า "คุณสนุกหรือเปล่า" และคำตอบคือ "ใช่ ฉันสนุก" กับ "ไม่ ฉันเบื่อ"
ลองเปลิ่ยนไปใช้คำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้คิด และได้บรรยายออกมา เช่น "เป็นอย่างไรบ้าง" "คุณรู้สึกอย่างไร" และคุณจะได้คำตอบที่น่าสนใจ กว่าเดิมขึ้นเยอะเลย
ข้อที่ 4 โฟกัสคู่สนทนาของคุณ ต่อให้เขาจะพูดนานก็ตาม
ข้อนี้คิดว่าหลายคนก็เป็นกัน คือเมื่อเรากำลังฟังสิ่งที่เขาหรือเธอกำลังพูด อยู่ ๆ ก็มีเรื่องต่าง ๆ เข้ามาในหัว จนบางทีทำให้เราหลุดโฟกัสกับคู่สนทนา วิธีแก้คือ ปล่อยให้ความคิดนั้นเข้ามา แล้วก็ให้มันไหลออกจากความคิดไป
ข้อที่ 5 เมื่อไม่รู้ ก็บอกว่าคุณไม่รู้
หากคุณไม่ได้รู้จริงเกี่ยวกับเรื่องที่คุณจะพูด คุณก็บอกพวกเขาไปเลยว่าคุณไม่รู้ คำพูดไม่ควรเป็นเพียงลมปาก เราสื่อสารกันเพื่อที่จะเข้าใจกันและกันมากขึ้น และอีกอย่างคุณจะได้ไม่เกร็งเวลาต้องแสดงว่าคุณรู้ลึก รู้จริง
ข้อที่ 6 อย่าเทียบประสบการณ์คุณกับของเขา
ถ้าหากมีคนมาพูดเรื่องปัญหาที่เขาเจอในที่ทำงาน อย่าบอกว่าคุณเกลียดงานของคุณแค่ไหน มันไม่เหมือนกัน ทุกประสบการณ์ เป็นเรื่องเฉพาะคน และแน่นอนว่าพวกเขาต้องการคนรับฟัง ไม่ใช่เป็นฝ่ายรับฟังคุณเสียเอง
ข้อที่ 7 พยายามอย่าทวนคำพูดตัวเอง
มันทั้งดูอวดดี และน่าเสียอารมรณ์มาก เรามักอยากได้การยอมรับจากสังคม เราจึงมักจะอยากย้ำเตือน หรือพูดใหม่หลาย ๆ รอบ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จงอย่าทำแบบนั้น
ข้อที่ 8 พยายามอย่าลงรายละเอียดมากไป
พูดตามตรง คนอื่นเขาไม่สนใจ เรื่องปี, เรื่องชื่อ, เรื่องวันที่, รายละเอียดทั้งหลายเท่าไร เขาสนแต่เรื่องคุณ เขาสนว่า คุณเป็นอย่างไร คุณมีอะไรที่เหมือนกับเขา ฉะนั้น จำไว้ว่าพูดแต่เนื้อหา ประเด็นหลัก
ข้อที่ 9 ฟังด้วยเจตนาที่จะเข้าใจ ไม่ใช่โต้ตอบ
การฟัง อาจเป็นทักษะที่สำคัญ มากที่สุดเป็นอันดับ "ถ้าคุณอ้าปากพูด คุณก็กำลังอดที่จะเรียนรู้" และคาลวิน คูลลิดจ์ เคยกล่าวว่า "ไม่มีใคร ที่ฟังแล้วต้องตกงาน"
ตามปกติ คนทั่วไปพูดประมาณ 225 คำต่อนาที แต่เราสามารถรับฟังได้มากถึง 500 คำต่อนาที เพราะ สมองเราพยายามเติมอีก 275 คำที่เหลือ
ถ้าหากคุณทำไม่ได้ เท่ากับ่ว่าคุณไม่ได้ร่วมวงสนทนาเลย คุณเป็นคนที่ตะโกนใส่กัน ด้วยประโยคที่ไม่เกี่ยวข้องกันสักนิด เพราะฉะนั้นจงพยายามเข้าใจสิ่งที่เขาจะสื่อสาร แทนที่จะโต้ตอบแบบไร้ประโยชน์
ข้อที่ 10 พูดให้สั้นเข้าไว้
การสนทนาที่ดี ก็เหมือนกับกระโปรงสั้น ต้องสั้นพอที่จะดึงดูดความสนใจ แต่ก็ยาวพอที่จะครอบคลุมจุดสำคัญ
#Wasabi ขอเพียงมีส่วนเล็ก ๆ ที่ช่วยให้คุณ!
"เจริญเติบโต ก้าวหน้า สำเร็จ อย่างภาคภูมิใจ"
แหล่งที่มา / แหล่งอ้างอิง
#สาระจี๊ดจี๊ด #Wasabi #ความรู้ขึ้นสมอง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา