ซึ่งแน่นอนว่ามือถือที่ทรงศักยภาพและได้รับความนิยมมากที่สุดเครื่องหนึ่งนั่นก็คือ Iphone จากบริษัทสัญชาติอเมริกันชื่อดังนาม Apple นั่นเอง ช่วงนั้นคือช่วงที่ผมได้ยินชื่อ สตีฟ จอบส์ ในฐานะ CEO และนวัตกรคนสำคัญของ Apple
การจากไปของเขานอกจากจะทำให้ Apple ระส่ำระส่ายในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันชีวประวัติของเขาก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนทั่วโลกเช่นเดียวกัน แน่นอนรวมถึงผมด้วย
ภาคแรกนี้จะเล่าถึงวัยเด็กของจอบส์ ความผาดโผนสมัยวัยรุ่น การแสวงหาความหมายของชีวิตในอินเดีย รวมไปถึงการก่อตั้ง Apple Computer ร่วมกับเพื่อนรักสตีฟ วอซเนียก จนกระทั่ง Apple Computer เริ่มประสบความสำเร็จในฐานะบริษัทคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
สตีฟ วอซเนียก (ซ้าย) , สตีฟ จอบส์ ในวัย 21 ปี (ขวา) กำลัง Apple I คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเครื่องแรกของพวกเขา
สตีฟ จอบส์ บนปกนิตยสาร Inc. นิตยสารชื่อดังสำหรับนักธุรกิจและผู้ประกอบการ
ปิดท้ายภาคด้วยการมาถึงของ IBM บริษัทคอมพิวเตอร์ยักษ์ใหญ่ที่เริ่มทำตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และ Microsoft ของบิล เกตส์ คู่แข่งคนสำคัญในโลกธุรกิจคอมพิวเตอร์ ในขณะที่ จอบส์ ก็กำลังง่วนอยู่กับการพัฒนาโปรเจ็กสำคัญในชื่อ "Macintosh"
พอล อัลเลน และ บิล เกตส์ สองผู้ก่อตั้งบริษัท Microsoft เข้าพบกับ IBM ในปี 1980 และประกาศความร่วมมืออย่างเป็นทางกันในปี 1983 ในเวลาต่อมา คู่หู Microsoft และ IBM จะส่งผลต่อ Apple Computer อย่างคาดไม่ถึง
ภาคที่ 2 ศิลปินตัวจริงต้องรู้จักส่งมอบงาน
ภาคที่สองนี้จะเล่าถึงช่วงเวลา 10 กว่าปีที่เขาไม่ได้อยู่ที่ Apple Computer อะไรทำให้เขาต้องเก็บของและก้าวออกมาจากบริษัทที่เขาทุ่มเทสร้างมันมาทั้งชีวิต เขาได้เรียนรู้อะไรมาบ้างจากความผิดพลาดที่ผ่านมา
นอกจากนี้จอบส์ในวัยกลางคนที่เคยทุ่มเทกับ Apple Computer มาทั้งชีวิตจะรับมือกับความรับผิดชอบในฐานะ "พ่อ" และ "หัวหน้าครอบครัว" อย่างไร
สุดท้ายจอบส์จะพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นได้หรือไม่ว่า เขาคือ “ศิลปินตัวจริง” และ Apple Computer ตัดสินใจผิดพลาดที่ผลักไสศิลปินคนนี้ออกจากบ้านที่เขาสร้างขึ้นมากับมือ
1
สตีฟ จอบส์ กับบริษัทคอมพิวเตอร์ใหม่ของเขา ในชื่อ NeXT Computer
เอ็ดวิน แค็ตมัล (ซ้าย) , สตีฟ จอบส์ (กลาง) , จอห์น แลสซีเตอร์ (ขวา) สามผู้ร่วมก่อตั้ง Pixar Studio และนับเป็นบิดาทั้ง 3 ของ Toy Story