9 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • ไลฟ์สไตล์
6 วิธีเคลียร์ To Do List ให้สำเร็จในวันที่ ‘ไม่อยากทำงาน’
เมื่อวันจันทร์เวียนมาถึง เราก็ได้แต่เฝ้ารอให้ถึง ‘วันศุกร์’ อีกครั้ง เพราะการเริ่มต้นสัปดาห์ช่างเป็นเรื่องที่เหนื่อยเสียเหลือเกิน
.
ช่วงที่ยังได้เข้าออฟฟิศปกติ วันจันทร์อาจจะน่ารำคาญตรงที่ต้องฝ่ารถติดตั้งแต่เช้า หรือต้องเข้าประชุม แต่อย่างน้อยก็มีเรื่องดีๆ อยู่บ้าง เช่น การได้พูดคุยกับเพื่อนในที่ทำงาน หลังจากไม่ได้เจอกันในช่วงสุดสัปดาห์ และการได้เปลี่ยนบรรยากาศจากการอยู่ที่บ้าน มาเป็นที่ออฟฟิศอีกครั้ง
.
แต่การเริ่มต้นสัปดาห์ในช่วงเวลาที่ต้อง Work From Home นั้นแตกต่างออกไป เราติดอยู่ในพื้นที่เดิมๆ ที่ต้องใช้ร่วมกันในการ ‘พักผ่อน’ และ ‘ทำงาน’ เราไม่ได้ทักทายใคร ตื่นมาก็นั่งอยู่หน้าจอและทำงานไปเรื่อยๆ
.
2
ยิ่งต้องทำงานที่บ้านมาเป็นเวลานาน เรายิ่งรู้สึกอิดโรย หลายคนอาจรู้สึกว่าตัวเองทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร และใช้เวลานานมาก ในการทำแต่ละอย่างให้สำเร็จ ไม่ใช่เรื่องแปลกเลย เพราะสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดอย่าง ‘แรงจูงใจ’ ดันหายากที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้
.
.
รู้จักกับ ‘แรงจูงใจ’ (Motivation)
.
Stefano Di Domenico นักวิจัยเรื่องแรงจูงใจและศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Toronto Scarborough ได้แบ่งแรงจูงใจออกเป็น 2 ประเภท
.
ประเภทแรกคือ “Controlled Motivation” หรือแรงจูงใจที่เกิดจากปัจจัยภายนอก ยกตัวอย่างเช่น เดดไลน์ โบนัสท้ายปี หรือความรู้สึกผิด พูดง่ายๆ คือ แรงผลักดันนี้ผลักให้เราทำงานเพราะ ‘ต้องทำ’ ไม่ใช่เพราะ ‘อยากทำ’
.
14
อีกประเภทคือ “Autonomous Motivation” ซึ่งก็คือแรงจูงใจที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง เราสร้างแรงผลักดันนี้ขึ้นมาด้วยตนเองเพราะ ‘ความรัก’ ในงานที่ทำ หรือ ‘ความเข้าใจ’ ว่างานนี้มีคุณค่าและจะส่งผลดีต่อตัวเราอย่างไร
.
แน่นอนว่าเราอยากได้แรงจูงใจประเภทหลังมากกว่าอยู่แล้ว แต่ปัญหาคือเราจะไปหามันมาจากไหน
.
Cameron Walker ผู้เขียนบทความ ‘How To Get Things Done When You Don’t Want to Do Anything’ จากเว็บไซต์ The New York Times ได้แบ่งปัน 6 วิธีในการตามหาแรงจูงใจ ในวันที่เราไม่อยากทำอะไรเลย ไว้ดังนี้
.
1) รางวัลเล็กๆ อาจดีต่อใจกว่าที่คิด
งานวิจัยหลายงานชี้ให้เห็นว่า ‘รางวัลเล็กๆ’ ที่เราให้ตัวเองระหว่างการทำงาน หรือหลังการทำงาน นอกจากจะช่วยให้งานสนุกขึ้นแล้วยังช่วยผลักดันเราได้เป็นอย่างดี
.
12
อย่างการฟัง Playlist โปรดขณะทำงานไปด้วย การทำงานแบบ 50-10 (คือการให้เวลาพักตัวเอง 10 นาที ทุกๆ ครั้งที่ทำงานไป 50 นาที) หรือการชงเครื่องดื่มอร่อยๆ ใส่แก้วใบโปรดไว้ดื่มขณะทำงาน ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ผู้เขียนชอบใช้
.
2) ทบทวนเหตุผลกันอีกครั้ง
แม้รางวัลจะเป็นแรงผลักดันที่ดี แต่บางทีก็ผลักเราไปได้ไม่ถึงไหน ดอกเตอร์ Richard M.Ryan นักจิตวิทยาคลินิกผู้ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจเสนอว่า การตามหาแรงจูงใจที่แท้จริงคือการ ‘ทบทวนคุณค่า’ ของสิ่งที่เราทำกันอีกครั้ง
.
บางครั้งการทำอะไรซ้ำๆ ไปสักระยะ เราอาจจะลืมไปว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นดีต่อเราอย่างไร ดังนั้นการเชื่อมโยง ‘งานที่ต้องทำ’ กับ ‘เป้าหมาย’ หรือสิ่งสำคัญในชีวิต จะช่วยย้ำเตือนเราได้เป็นอย่างดีว่าที่ทำอยู่นี้ เราทำไปทำไม
.
3
3) ไปด้วยกัน ไปได้ไกล
ทุกคนต้องเคยรู้สึกเบื่องานที่ทำ แต่หลายๆ ครั้ง โปรเจกต์ใหม่และการได้ Brainstorm แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างคนในทีม ก็ช่วยให้เราตื่นเต้นกับการทำงานอีกครั้ง
.
จะเห็นได้ว่าการเชื่อมต่อระหว่างบุคคลเป็นเรื่องจำเป็นในการทำงาน เพราะเมื่อเราอยู่ท่ามกลางคนที่มีเป้าหมายคล้ายๆ กัน ไอเดียหรือแรงบันดาลใจจากคนอื่นๆ จะช่วยให้เรารู้สึกฮึกเหิมขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ
.
ในช่วงเวลาที่ต้องทำงานแยกกันเช่นนี้ สิ่งที่พอจะทดแทนได้คือการติดต่อเพื่อนร่วมงานเป็นประจำ ไม่ว่าจะขอคำปรึกษาหรือความเห็นเกี่ยวกับงาน การจัดประชุมเพื่อ Brainstorm และการสังสรรค์กันผ่านหน้าจอ
.
7
4) ให้การแข่งขันช่วยผลักดัน
ในปี 2016 งานวิจัยหนึ่งจากมหาวิทยาลัย Pennsylvania ได้จัดโปรแกรมออกกำลังกาย 11 สัปดาห์ขึ้นมา โดยได้แบ่งนักศึกษาในการทดลองนี้เป็นกลุ่มเล็กๆ ไว้สำหรับติดต่อกันบนช่องทางออนไลน์ ซึ่งปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มมีทั้งแบบให้กำลังใจกัน และแข่งขันกัน
.
ผลพบว่านักเรียนที่มีการแข่งขันกันภายในกลุ่ม ‘ออกกำลังกายมากกว่า’ กลุ่มที่ให้กำลังใจกันอยู่มาก
.
เราอาจลองปรับวิธีนี้กับการทำงาน โดยจัดการแข่งขันแบบเป็นกันเองระหว่างทีมขึ้นมาก็ได้ บางทีความรู้สึกอยากเอาชนะก็เป็นแรงจูงใจที่เรากำลังตามหาในภาวะเช่นนี้
.
6
5) ใจดีกับตัวเองบ้าง
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบการแข่งขัน สำหรับบางคน หากต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่กดดันเช่นนั้น อาจเครียดและหมดแรงใจไปเลยก็ได้
.
ที่สำคัญการที่เราใจดีกับตัวเองมี ‘ประสิทธิภาพ’ มากกว่าการกดดันตัวเองเสียด้วยซ้ำ
.
Kristin Neff ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัย Texas กล่าวว่า “หลายคนมักจะพูดจาใจร้ายกับตัวเองเพื่อบังคับให้ตัวเองทำงาน แต่จริงๆ แล้วการใจดีกับตัวเองช่วยให้คนเรามีสมาธิกับเป้าหมาย ช่วยลดความกลัวในการทำผิดพลาด และช่วยเพิ่มความมั่นใจมากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้นี่เองจะช่วยสร้างแรงจูงใจได้”
.
4
6) เราไม่ได้ตัวคนเดียว
Cameron Walker ผู้เขียนบทความบอกว่าอีกสิ่งหนึ่งที่ผลักดันให้ตัวเองไปต่อได้คือการหันมองคนรอบๆ ตัว
.
เย็นวันหนึ่ง ขณะที่เธอวิ่งออกกำลังกายอยู่ เธอพบว่าไม่ใช่เธอคนเดียวที่กำลังพยายามผ่านแต่ละวันไปให้ได้ แม้จะเย็นขนาดนั้นก็มีคนมากมายกำลังพาสุนัขมาเดินเล่น เดินทางกลับบ้าน และทำงานอยู่ เธอจินตนาการต่อถึงหมอ พยาบาล และพนักงานออฟฟิศที่ต้องตื่นเช้ามาทำงานในแต่ละวัน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะชอบหรือไม่ก็ตาม
.
ในทุกๆ วันเราทุกคนพยายามเท่าที่จะทำได้
แม้จะล้มบ้าง จะเหนื่อยบ้าง เราก็ลุกขึ้นมาใหม่เสมอ
.
การทำงานให้สำเร็จในแต่ละวันไม่ใช่เรื่องง่าย หวังว่า 1 ใน 6 วิธีนี้จะช่วยให้ผู้อ่านทุกคนพบแรงผลักดันที่กำลังตามหาอยู่ และจัดการสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวันให้สำเร็จจนได้นะ
.
อ้างอิง
.
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
4
โฆษณา