10 ส.ค. 2021 เวลา 04:04 • สุขภาพ
รพ.สนามแสงแห่งใจ ตอนที่2 🙏🏻โดยคุณอรรณพ กิ่งขจีค่า
“ #ระบบปรับอากาศเพื่อการเยียวยาและป้องกันการติดเชื้อฯ”
. . เมื่อวานผมจบตรงที่หน้าทางเข้า Cohort Ward ที่เป็น Ante Room ประตู 2 ชั้นก่อนเข้าพท.พักผู้ป่วยเพื่อป้องกันอากาศ Transfer ระหว่างการเปิด/ปิดประตู ..
.. วันนี้ผมขอเล่าต่อในพื้นที่ภายในบริเวณพื้นที่รักษาผู้ป่วย ซึ่งเป็น #ระบบปรับอากาศที่เอื้อต่อการรักษาตัวและป้องกันการติดเชื้อฯทางอากาศ (Airborne Transmission) ตามมาตราฐาน CDC #เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่บุคคลากรทางการแพทย์ที่ต้องเข้าตรวจดูแลผู้ป่วยในรพ.สนาม”แสงแห่งใจ” แห่งนี้ ..
ก่อนเข้าสู่รายละเอียดระบบปรับอากาศของรพ.สนาม “แสงแห่งใจ” ขอเริ่มเล่าจากแนวคิดในการสร้างเต้นท์สนามเพื่อลดภาระความร้อนของอาคารจากหลังคาเต้นท์เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ป่วย ที่เป็นรูปแบบ “#HolisticDesign” เพื่อให้เกิด #ความสมบูรณ์พร้อมทั้งPassiveและActive
- เต้นท์ผ้าใบหลังคาสูง ~ 8ม. เพื่อให้เกิดการแยก layer ของอากาศร้อนจากหลังคาให้ลอยอยู่ระดับบนหลังคาเพื่อไม่ให้ความร้อนลงมารบกวนบริเวณผู้ป่วยที่มีระบบปรับอากาศจ่ายความเย็นในระดับ 2.5ม. เป็นการออกแบบเชิง Passive เพื่อแยก Temperature Stratification เพื่อสร้างสภาวะความสบายในการเยียวยาผู้ป่วยโดยไม่ถูกรบกวนจากความร้อนจากหลังคา
- ระบบปรับอากาศเป็นระบบ 100% Fresh Air โดยนำอากาศสะอาดจากภายนอกผ่านการกรองละเอียดระดับ 0.3ไมครอน(เพื่อให้อากาศสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่อาจลงสู่ปอดที่จะเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ) ผ่านเครื่องปรับอากาศ DOAS (Dedicated Outdoor Air System) เพื่อเป็นลมเย็นที่สะอาดจ่ายเข้าสู่พื้นที่พักรักษาตัวของผู้ป่วย เพื่อการเยียวยา
บริเวณหัวเตียงผู้ป่วยที่อาจมีอากาศแขวนลอยปนเปื้อน (aerosal contaminated) จากการพูด/ไอ/จาม ของผู้ป่วย จัดให้มีระบบระบายอากาศโดยเฉพาะตรงบริเวณหัวเตียงผู้ป่วยทุกๆเตียง ( Dedicated Localized Exhaust ) เพื่อระบายอากาศ contaminated จากบริเวณหัวเตียงผู้ป่วยตลอดเวลา 24ชม. เพื่อลดการปนเปื้อน/ลดการสะสมละอองฝอยลอยที่จะเป็นสาเหตุแห่งการติดเชื้อทางอากาศของ COVID19 เพื่อสร้างความปลอดภัยให้แก่จนท.ในการเข้าตรวจผู้ป่วย ,ลดการแพร่เชื้อระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเอง และเพิ่มสภาวะอากาศที่สะอาดในพท.เพื่อการเยียวยาให้ผู้ป่วยฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้น
- การจ่ายลมเย็นแบบควบคุมทิศทางการไหลจากปลายเตียงผ่านตัวผู้ป่วยไปดูดทิ้งที่หัวเตียง เพื่อป้องกันอากาศฟุ้งกระจาย (Mixing) ที่ลดการติดเชื้อทางอากาศของบุคคลากรทางการแพทย์ในการเข้าพท.ตรวจรักษาผู้ป่วย
- ภาพรวมของระบบปรับอากาศภายในพื้นทีพักรวมผู้ป่วยที่เป็นรูปแบบ Clean, Comfortable & Dry Air Flushing โดยอากาศภายในพื้นทีที่ผ่านตัวผู้ป่วยจะถูกระบายทิ้ง > 100% เพื่อไม่ให้มีอากาศ Contaminated ภายในพื้นที่ตกค้าง และเพื่อให้พื้นที่รวมเป็น Negative Pressure ( พท.แรงดันลบ ) เพื่อป้องกันการรั่วไหลของ contaminated aerosal จากผู้ป่วยรั่วไหลออกสู่ภายนอก
-อุปกรณ์หลักทั้งหมดจะตั้งอยู่โดยรอบด้านนอกอาคารเพื่อสามารถเข้าถึงการดูแลรักษาฯได้ตลอดเวลา 24ชม.โดยไม่ต้องเข้าพื้นที่รักษาผู้ป่วย เพื่อความปลอดภัยของฝ่ายช่างซ่อมบำรุงในการดูแลให้อุปกรณ์มีความพร้อมใช้งานตลอดเวลา
- ทุกๆหัวเตียงผู้ป่วย มึระบบ Oxygen Outlet quick connect เพื่อความพร้อมในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ พร้อมทั้งรองรับระบบจ่ายไฟฉุกเฉินจากเครื่องปั่นไฟ Generator ในกรณีมีความฉุกเฉินจากไฟจากการไฟฟ้าขัดข้อง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย
- ห้องนํ้าของผู้ป่วย + บุคคลากรฯ แยกโซนคนละพื้นที่ คนละเส้นทางทั้งเส้นทางสัญจร
- พท.ห้องนํ้าที่มีหลักฐานอ้างอิงจากเอกสารวิจัยระดับโลกว่ามีการปนเปื้อนจากละอองฝอย COVID-19 สูงที่สุดจากการ Flushing จึงออกแบบให้มีการระบายอากาศทุกๆห้องนํ้าเพื่อระบายอากาศเสียออกตลอดเวลาโดยไปทิ้งในตำแหน่งสูงห่างไกลผู้คน เพื่อลดความเสี่ยงฯสำหรับคนใช้งานห้องนํ้า
หวังว่าหลายๆสิ่งหลายๆอย่างที่ทุกๆฝ่ายร่วมแรงร่วมใจทำในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกๆท่าน เพื่อเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อพี่น้องประชาชนชาวไทยต่อไปนะคะ ✌️✌️

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา