Start With Why: How Great Leaders Inspire Everyone to Take Action (2009)
“People don’t buy what you do; they buy why you do it.”
Start With Why คือ หนังสือ all-time global bestseller ของ Simon Sinek นักเขียนและที่ปรึกษาด้านการสร้างความเป็นผู้นำที่มองเห็น “คุณสมบัติร่วม” ของผู้นำที่สร้างการเปลี่ยนแปลงอันแสนยิ่งใหญ่ให้กับโลก อาทิ Steve Jobs, สองพี่น้องตระกูล Wright และ Dr. Martin Luther King ที่ล้วนต่างก็มีความสามารถในการ “สร้างแรงบันดาลใจ (inspire)” ด้วยการเริ่มต้นจากคำว่า “WHY” ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็เป็นเสมือนคัมภีร์ของผู้อ่านทุกคนที่ต้องการเป็น “ผู้นำ” ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่นได้
WHAT ให้กับลูกค้าซึ่งนำมาสู่การแข่งขันกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการกับคู่แข่งประเภทเดียวกันจนทำให้แบรนด์ทั้งหมดกลายมาเป็น “สินค้าโภคภัณฑ์” ที่มีการแข่งขันกันสูงและมีสัดส่วนกำไรที่ต่ำ
ในทางกลับกัน ธุรกิจที่สามารถบันดาลใจลูกค้าได้นั้นกลับเลือกที่จะให้ความสำคัญกับ WHY ของบริษัทก่อนที่จะเริ่มสร้าง WHAT และ HOW ซึ่งนั่นก็ทำให้พวกเขาสามารถสร้างฐาน “ลูกค้าผู้ซื่อสัตย์” ที่เชื่อมั่นใน WHY ของแบรนด์ได้จำนวนมหาศาล ซึ่งสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า “มนุษย์มักเลือกที่จะซื้อผลิตภัณฑ์หรือบริการจาก WHY ของแบรนด์ก่อน WHAT เสมอ” และการยึดมั่นใน WHY นั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างความแตกต่างและการเติบโตที่ยั่งยืนของธุรกิจ [หากบริษัทรถไฟคิดว่า WHY ของตัวเองคือการขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพที่สุด พวกเขาคงเป็นเจ้าของธุรกิจสายการบินกันทั้งหมดแล้ว]
ตัวอย่างของแบรนด์ที่เริ่มต้นจาก WHY ได้อย่างแข็งแกร่งก็คือ Apple ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อท้าทายกับสถานภาพปัจจุบัน (status quo) และสร้างแนวคิดที่แตกต่าง (think different) ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและใช้งานได้ง่าย [จะเห็นได้ว่า Apple มักจะนำเสนอ WHY ก่อน WHAT เสมอโดยไม่มีทางเริ่มต้นการขาย iPhone ด้วยประโยคที่ว่า “โทรศัพท์ของเรามีคุณภาพและคุณสมบัติการใช้งานที่ดีที่สุด” อย่างแน่นอน] จนทำให้ Apple นั้นสามารถสร้าง “สาวก” จำนวนมหาศาลที่พร้อมเดินทางไปต่อคิวเพื่อรอซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของบริษัทจนเป็นปรากฏการณ์ที่แทบจะไม่มีใครเลียนแบบได้เลย
ดังนั้น แบรนด์ควรต้องกลับมาถามตัวเองถึง WHY ที่เป็นตัวจุดประกายในการสร้างธุรกิจตั้งแต่เริ่มต้นแล้วจึงเริ่มพัฒนา WHAT ที่สอดคล้องกันและเหมาะสมกับสถานการณ์ของตลาดและเทคโนโลยีในปัจจุบัน
Samuel Pierpont Langley คือ ชายที่ชาวอเมริกันทุกคนเชื่อมั่นว่าเขาจะเป็นนักประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของมนุษยชาติได้สำเร็จเนื่องจากความเพียบพร้อมทั้งประสบการณ์ ชื่อเสียง เงินทุนและทีมงานเก่งๆที่ได้รับค่าจ้างมหาศาลอีกหลายคน แต่ Samuel Pierpont Langley นั้นเลือกที่จะเริ่มต้นโครงการของเขาด้วย WHAT อย่างการสร้างเครื่องบินให้สำเร็จเพื่อชื่อเสียงอันเกรียงไกรของตัวเองและนั่นก็ทำให้ชื่อของเขานั้นไม่ได้รับการกล่าวถึงในยุคปัจจุบัน
เมื่อผู้นำสามารถสร้าง WHY ที่กระจ่างชัดและสื่อสารความเชื่อของพวกเขาออกไปได้เป็นวงกว้างแล้วนั้น สิ่งที่พวกเขาต้องการในการนำ WHY ไปสร้างให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมก็คือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน HOW ที่สามารถนำเอาแนวคิดของ WHY มาต่อยอดและสร้างเป็นองค์กรหรือผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จได้ ไม่ต่างกับที่ Walt Disney ต้องคอยพึ่งพี่ชายอย่าง Roy Disney ในการนำไอเดียการสร้างความสุขให้กับผู้คนของเขาไปสร้างเป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในปัจจุบัน
9. Know WHY, Know HOW, Then WHAT
วงแหวนทองคำนั้นไม่แตกต่างจากแผนผังองค์กรที่ผู้นำสูงสุดควรเป็นต้นแบบและผู้จุดประกายของ WHY ให้กับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่อง HOW ในการส่งผ่าน WHY ต่อไปยังพนักงานทุกคนที่ได้รับแรงบันดาลใจและทำหน้าที่ส่งต่อ WHY ขององค์กรในรูปของ WHAT ให้กับลูกค้า
10. Communication Is Not About Speaking, It’s About Listening
หลักการในการสื่อสารขององค์กรไปยังลูกค้าและพนักงานที่ยั่งยืนนั้นควรเริ่มต้นจาก WHY ก่อน WHAT เสมอ เหมือนการทำโฆษณาของ Apple ทั้งแคมเปญ 1984 ที่เล่าเรื่องราวของหญิงสาวที่กล้าต่อกรกับ Big Brother ในนิยายเรื่อง 1984 ของ George Orwell หรือแคมเปญ Think Different ที่รวบรวมกลุ่มผู้นำการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ท้าทายสถานภาพเดิมๆได้สำเร็จ ซึ่งทั้งสองแคมเปญนี้ต่างสามารถสื่อสารถึง WHY ของ Apple ได้อย่างสมบูรณ์และตรงใจกับลูกค้ากลุ่ม Innovator และ Early Adopter จนทำให้พวกเขาหันมาตั้งใจฟังเพื่อน้อมรับ WHAT ที่จะตามมาในรูปของผลิตภัณฑ์ต่างๆที่สะท้อนถึง WHY ของ Apple ได้
สาเหตุหลักๆที่องค์กรเกิดการหักเหจาก WHY ไปสู่ WHAT นั้นประกอบด้วย
1) การยึดมั่นกับตัววัดผลงานที่อิงตาม WHAT อาทิ ยอดขาย ราคาหุ้นและจำนวนผู้ใช้งาน เพียงอย่างเดียว โดยที่ตัววัดเหล่านั้นอาจจะไม่ได้สัมพันธ์กับ WHY ขององค์กร
2) การเปลี่ยนผ่านของผู้นำที่ไม่ได้ยึดมั่นใน WHY แบบดั้งเดิมขององค์กรที่นำไปสู่การให้ความสนใจเพียงแค่ WHAT หรือแย่ไปกว่านั้นคือการสร้าง WHY ใหม่ที่ขัดแย้งกับความเชื่อเดิมของพนักงานและลูกค้าผู้จงรักภักดี อาทิ Apple ในยุคที่ Steve Jobs โดนบีบออกจากบริษัทได้ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับปัญหามากมายจนสุดท้าย Steve Jobs ก็ต้องกลับมายกเครื่อง WHY เดิมให้กลับคืนมา