Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
11 ส.ค. 2021 เวลา 02:00 • อาหาร
จับตา! 'โปรตีนทางเลือก' กำลังมาแรงในไทย คาดว่า ปี 2564 ตลาดโปรตีนทางเลือกที่มาจาก 'นวัตกรรมอาหารใหม่' จะมีมูลค่าเติบโตแตะ 4,500 ล้านบาท แต่ยังต้องเผชิญความท้าทายหลายด้าน
'โปรตีนทางเลือก' กำลังมาแรงในไทย
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ออกรายงานวิเคราะห์ ระบุว่า หนึ่งใน Food Tech ที่กำลังอยู่ในกระแสบริโภคอย่างโปรตีนทางเลือก ถือว่าเติบโตโดดเด่นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคทั่วโลกที่ตื่นตัวกับการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ การตระหนักถึงการบริโภคที่คำนึงถึงผลกระทบของสิ่งแวดล้อม แรงงานและสวัสดิภาพสัตว์ รวมถึงความกังวลต่อปัญหาความมั่นคงทางอาหาร (Food Security)
3
นอกจากนี้ ภายใต้สถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ที่ผู้บริโภคค่อนข้างกังวลต่อความปลอดภัยจากการบริโภคเนื้อสัตว์ (ที่อาจพบการปนเปื้อน รวมถึงโรคต่างๆ ที่มาจากสัตว์) รวมถึงภาวะขาดแคลนเนื้อสัตว์ในระยะสั้นจากระบบการผลิตที่หยุดชะงัก ยังส่งผลให้โปรตีนทางเลือกมีโอกาสทำตลาดได้มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
- ทางเลือกใหม่ผู้บริโภคไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า สำหรับไทย สินค้ากลุ่มโปรตีนทางเลือกดั้งเดิมที่ผู้บริโภคคุ้นเคยจะอยู่ในกลุ่มโปรตีนเกษตร เครื่องดื่มนมถั่วเหลือง ซึ่งสามารถผลิตได้โดยกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อนมากนัก แต่ปัจจุบันพบว่า สินค้าโปรตีนทางเลือกในกลุ่ม "นวัตกรรมอาหารใหม่" ที่ต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงและซับซ้อนมากขึ้น เพื่อพัฒนาให้มีรสชาติ เนื้อสัมผัส ตลอดจนรูปลักษณ์ที่คล้ายผลิตภัณฑ์จากสัตว์มากที่สุด ได้ถูกผลิตโดยผู้ประกอบการไทยและทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น ทั้งที่มาจากผู้ประกอบการรายใหญ่ กลุ่ม Startup รวมถึง SMEs บางรายที่มีศักยภาพ
สินค้าส่วนใหญ่ที่วางจำหน่ายจะอยู่ในกลุ่มของโปรตีนจากพืชในรูปแบบเนื้อสัตว์ทดแทน (Plant-based Meat) เช่น เนื้อบดจากพืช เบอร์เกอร์หมูจากพืช กลุ่มอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน (Plant-based Meal) เช่น ซาลาเปาเนื้อจากพืช ข้าวกะเพราเนื้อจากพืช เป็นต้น ผลิตภัณฑ์จากนมที่มาจากพืชทางเลือก (Plant-based Milk & Diary Products) เช่น นมอัลมอนด์ มายองเนส-น้ำสลัดจากพืช รวมถึงผลิตภัณฑ์แมลงแปรรูป (Insect Protein Products) เช่น ผงโปรตีนจากแมลง ไส้กรอกจากแมลง เป็นต้น
อย่างไรก็ดี ในภาวะที่เศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้บริโภคยังเปราะบางจากการระบาดของโควิดที่ยังรุนแรง ประกอบกับความหลากหลายของอาหารทั้งประเภทและราคาที่มีให้เลือกเยอะและอาจทดแทนกันได้ ก็น่าจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารในกลุ่มโปรตีนทางเลือกของผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันมีราคาเฉลี่ยที่สูงกว่าโดยเปรียบเทียบ
- ตลาดโปรตีนทางเลือกไทย ใหญ่แค่ไหน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ปี 2564 ตลาดโปรตีนทางเลือกที่มาจากนวัตกรรมอาหารใหม่ น่าจะมีมูลค่าประมาณ 4,500 ล้านบาท และมีแนวโน้มขยายตัวเฉลี่ย 8% ต่อปีในระยะ 3 ปีข้างหน้า ขณะที่มูลค่าตลาดโปรตีนทางเลือกทั้งหมดในไทย จะรวมอยู่ที่ 36,200 ล้านบาทในปี 2564 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้
- 88% โปรตีนทางเลือก กลุ่มดั้งเดิมที่มาจากโปรตีนเกษตรและนมถั่วเหลือง มูลค่ารวม 31,700 ล้านบาท
- 12% โปรตีนทางเลือก กลุ่มนวัตกรรมอาหารใหม่ที่มาจากโปรตีนจากพืช, สาหร่าย, เชื้อราที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมัยคอโปรตีน และแมลง มูลค่ารวม 4,500 ล้านบาท
นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การขับเคลื่อนในตลาดนี้ น่าจะมาจากผู้ประกอบการรายใหญ่มากกว่า SMEs จากความได้เปรียบเรื่องศักยภาพในการผลิตและช่องทางการจำหน่าย หาก SMEs จะแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ ซึ่งนอกจากเรื่องรสชาติ อาจจะต้องสร้างความแตกต่างในเรื่องของวัตถุดิบ การตลาดและราคาที่สามารถแข่งขันได้
8 บันทึก
13
6
8
13
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย