Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Let’s Goo Ana
•
ติดตาม
10 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • สุขภาพ
งานวิจัย: การได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เชื่อมโยงกับอาการรุนแรงที่น้อยกว่าในผู้ป่วย COVID-19
2
ผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีโอกาสน้อยที่จะลงเอยในห้องฉุกเฉิน
1
ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Plos One เมื่อวันพุธ วิเคราะห์เวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของคนกว่า 74,700 คนจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี เยอรมนี อิสราเอล และสิงคโปร์ ซึ่งมีผลตรวจเป็นบวกสำหรับโรคโควิด-19
นักวิจัยพบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีโอกาสน้อยที่จะมีภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ COVID-19
1
🍀โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักวิจัยพบว่าผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่
🌻มีโอกาสเข้ารับการรักษาในห้องไอซียูมากขึ้นถึง 20%
🌻มีโอกาสไปห้องฉุกเฉินมากขึ้นถึง 58%
🌻มีโอกาสเกิดภาวะติดเชื้อได้ถึง 45%
🌻มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากขึ้นถึง 58%
1
🌻และมีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึกมากขึ้น 40%
1
เมื่อเทียบกับผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
แต่นักวิจัยไม่พบความเชื่อมโยงใดๆ ระหว่างการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่กับการเสียชีวิตตายโควิด-19
งานวิจัยใหม่นี้สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้หลายชิ้นที่พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ของ COVID-19 ที่ดีขึ้นและวัคซีนของไข้หวัดใหญ่
ในทำนองเดียวกันว่าไม่พบผลวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่สามารถป้องกันการเสียชีวิตจาก COVID-19 ได้
ที่สำคัญ การเชื่อมโยงระหว่างไข้หวัดใหญ่กับผลลัพธ์ของ COVID-19 ที่ดีขึ้น ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้เสมอไป
1
แม้ว่าเชื้อไข้หวัดใหญ่จะช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน แต่ก็เป็นไปได้ว่าผู้ที่เลือกฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มที่จะมีสุขภาพดีโดยรวมมากกว่าคนที่ไม่ฉีด ซึ่งหมายความว่าพวกเขามีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากโควิด-19 น้อยลง
นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่จะเปลี่ยนแปลงทุกฤดูกาลของไข้หวัดใหญ่ จึงไม่ชัดเจนว่าวัคซีนที่พัฒนาขึ้นสำหรับฤดูไข้หวัดใหญ่ปี 2020-2021 จะมีความเชื่อมโยงกับ COVID-19 ที่รุนแรงน้อยกว่าที่วัคซีน 2019-2020 ทำหรือไม่
ข้อจำกัดที่สำคัญอีกประการหนึ่งของเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์คือ ประเทศต่างๆ อาจรายงานอาการต่างกัน และใช้การตรวจวินิจฉัยที่แตกต่างกันเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค SARS-CoV-2 ซึ่งอาจบิดเบือนข้อมูลได้
ในขณะที่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ผู้เขียนศึกษาตั้งข้อสังเกตว่า "แม้แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดวัคซีน SARS-CoV-2 แล้ว ก็อาจได้รับประโยชน์เนื่องจากวัคซีน SARS-CoV-2 นั้นไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างสมบูรณ์"
1
ตอนนี้ยังต้องรองานวิจัยหลายๆอันเพื่อรวบรวมข้อมูล จากเปเปอร์นี้ผู้วิจัยได้สรุปประเด็นมาได้ดีและเห็นด้วยค่ะ เนื่องจากวัคซีนไข้หวัดใหญ่นั้นมีการฉีดทุกปี แต่ละปีมีการเปลี่ยนแปลงไป อย่างไรก็ตามนี่เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก
ปล ในผู้ที่ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะต้องทำการเลื่อนฉีดวัคซีนโควิดนะคะ จะฉีดติดกันไม่ได้ รอให้ได้รับวัคซีนโควิดแล้วค่อยไปฉีดก็ได้ค่ะ โดยกรมควบคุมโรคแนะนำให้ฉีดห่างกัน 4 สัปดาห์
References
https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0255541
https://abcnews.go.com/Health/flu-shot-linked-severe-covid-19-study/story?id=79264078
8 บันทึก
37
3
36
8
37
3
36
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย