Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
EveryGreen
•
ติดตาม
11 ส.ค. 2021 เวลา 14:01 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วัคซีนโควิดและไข้หวัดใหญ่ในเข็มเดียว งานวิจัยจากไทยได้รับการตีพิมพ์แล้ว
1
งานวิจัยนี้ทำโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จากแนวคิดที่ว่าโควิดจะอยู่กับเราไปอีกเรื่อยๆเหมือนกับไข้หวัดใหญ่ที่ต้องฉีดวัคซีนทุกปีตามสายพันธุ์ที่คาดว่าจะเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในปีนั้นๆ ดังนั้นถ้าสามารถฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และโควิดในเข็มเดียวพร้อมกันได้ก็คงจะดีไม่น้อย
งานวิจัยได้รับการตีพิมพ์เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2021 ในวารสาร Vaccines ด้วยหัวข้อ 'A Single-Cycle Influenza A Virus-Based SARS-CoV-2 Vaccine Elicits Potent Immune Responses in a Mouse Model'
วัคซีนนี้ใช้เทคโนโลยี viral vecter มีโครงสร้างหลักเป็นไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่มีหนามของไวรัสโควิดยื่นออกมา มีชื่อเรียกว่า 'scPR8-RBD-M2'
1
หลักการแบบอธิบายง่ายๆคือ ใช้เทคโนโลยีทางพันธุวิศกรรมสร้างไวรัสไข้หวัดใหญ่ขึ้นมา ไม่ได้ใช้ไวรัสจริง โดยนำยีนที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่เซลล์ออก ทำให้ไวรัสไม่สามารถเข้าสู่เซลล์และเพิ่มจำนวนในร่างกายมนุษย์ได้ จึงปลอดภัยและเหมาะสำหรับนำไปทำวัคซีน
หลังจากนั้นก็เพิ่มยีน RBD ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิดลงไป โดยนำไปไว้หน้ายีน M2 ซึ่งเป็นยีนสำคัญของไวรัสไข้หวัดใหญ่ ทำให้เวลาเพิ่มจำนวน ไวรัสต้องอ่านรหัสพันธุกรรม RBD ของไวรัสโควิดก่อนรหัสพันธุกรรม M2 ของไวรัสไข้หวัดใหญ่ทุกครั้ง จึงสามารถสร้างไวรัสผสมระหว่างไข้หวัดใหญ่และโควิดออกมาได้
1
https://doi.org/10.3390/vaccines9080850
เมื่อได้วัคซีนต้นแบบที่มีความเสถียรในการแสดงออกของยีนสำเร็จ ทีมวิจัยจึงนำไปทดสอบประสิทธิภาพการสร้างภูมิคุ้มกันในหนู ซึ่งมีทั้งแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และ แบบพ่นเข้าจมูก พบว่าสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้หลายระบบ ทั้งแบบเซลล์และแบบระดับแอนติบอดี้
เมื่อทำการศึกษาต่อโดยนำซีรัมจากหนูที่รับวัคซีนแล้วมาทดสอบกับไวรัสโควิดสายพันธุ์ต่างๆ พบว่า สามารถป้องกันสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิมได้ดีสุดและลดลงในสายพันธุ์กลายพันธุ์ต่างๆ เนื่องจากพันธุกรรมของ RBD ที่ใช้ เป็นของสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิม ดังนั้น หากต้องการสร้างวัคซีนที่ตรงกับสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดอยู่ในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นโควิดหรือไข้หวัดใหญ่ ก็สามารถเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมของวัคซีนให้ตรงตามความต้องการได้
1
นอกจากนี้ยังมีวัคซีนอีกหลายแบบที่ทีมไวรัสวิทยาและเซลล์เทคโนโลยีของ สวทช. กำลังพัฒนาอยู่ สามารถติดตามข่าวสารได้ต่อไป โดยทางทีมวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีประโยชน์ในอนาคตไม่มากก็น้อย
References >>
https://doi.org/10.3390/vaccines9080850
https://news.thaipbs.or.th/content/306705
https://www.js100.com/en/site/news/view/106771
1 บันทึก
19
1
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Reading Corner
1
19
1
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย