Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Mook Sanguansak
•
ติดตาม
11 ส.ค. 2021 เวลา 17:00 • ความคิดเห็น
ทางม้าลาย vs สะพานลอย คนเดินถนนเลือกอะไรได้ไหม ?
ถึงเวลาทวงความศักดิ์สิทธิ์ให้กับทางม้าลาย
หลายคนอาจถูกปลูกฝังมาเสมอว่า เวลาข้ามถนน หากต้องเลือกระหว่างสะพานลอยกับทางม้าลาย จงกวาดสายตามองหาสะพานลอย แล้วมุ่งหน้าฝ่าแดด ฝ่าฝน ตลอดจนฝ่าควันดำๆจากท่อไอเสีย เดินไปหา”สะพานลอย”แล้วจงใช้มันข้ามถนน แม้มันจะอยู่ไกลหน่อย แต่มันปลอดภัยกว่า!
แล้วทางม้าลายไม่ดีตรงไหนหล่ะ ?
ขอเท้าความถึงที่มาของทางม้าลาย (zebra crossing, crosswalk) สักเล็กน้อย
ในปี ค.ศ. 1951 แถบเส้นสีขาวสลับสีดำของพื้นถนนที่เหมือนลายของม้าลายนี้ เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ และด้วยเหตุการล่าอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ทำให้วัฒนธรรม แนวคิดแบบอังกฤษรวมถึงทางม้าลาย ถูกแพร่หลายออกไปยังประเทศอาณานิคมของอังกฤษ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น จนท้ายที่สุดทางม้าลายกลายเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก และกลายเป็นเครื่องหมายจราจรที่เป็นสากลที่ผู้ขับขี่ทั่วทั้งโลกเข้าใจตรงกันว่าต้องหยุดเพื่อให้คนเดินข้าม
ปกอัลบั้ม Abbey Road วง The Beatles ที่เดินข้ามทางม้าลายบนถนนสายหนึ่งกลายเป็นหนึ่งในภาพติดตาคนทั่วโลก
ประเทศไทย ก็มีกฎหมายที่คุ้มครองคนเดินเท้า เอาผิดผู้ขับขี่ที่ให้ผู้ที่ขับรถจะต้องระวังไม่ให้ชนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ส่วนใดของทาง
และถ้าหากขับรถชน “คนที่กำลังเดินตรงทางม้าลาย” กฏหมายจะคุ้มครองคนเดินเท้ามากกว่าและถือเป็นความผิดของคนขับรถ เนื่องจากกฏหมายระบุว่าหากมีคนกำลังเดินข้ามถนนตรงทางม้าลาย ควรให้คนเดินข้ามถนนไปก่อน
แม้จะมีกฎหมายบัญญัติคุ้มครองคนเดินเท้าไว้ แต่ด้วยพฤติกรรมผู้ใช้รถใช้ถนนหลายประเทศ (อาจรวมถึงประเทศไทย) มักละเลยและไม่ให้ความสำคัญกับทางม้าลายและสัญญาณไฟคนข้าม และบ่อยครั้งที่ผู้ขับขี่สัญจรบนถนนหยุดรถตามสัญญาไฟคนข้าม กลับถูกรถคันหลัง(ที่ไม่เห็นอะไร)บีบแตร่ใส่ให้รีบออกรถขับไปเสียที แม้ว่าจะมีคนข้ามอยู่ก็ตาม..
จนเกิดเป็นคำถามว่า
ทำไมคนเดินเท้าจึงต้องรวบรวมความกล้าอย่างมากก่อนข้ามถนน ?
ทำไมคนข้ามถนนบนทางม้าลายจึงถูกบีบแตร่ใส่ ถูกตะโกนด่าจากมอเตอร์ไซค์ด้วย ถ้อยคำหยาบคายแม้จะใช้ทางม้าลายแล้วก็ตาม ?
ทำไมในการข้ามถนนประเทศไทยจึงใช้แต้มบุญเปลืองได้ขนาดนั้น
ทำไมการข้ามถนนแต่ละครั้งเหมือนเล่นเกมส์วัดดวงเช่นนี้…..
“ความไม่ศักดิ์สิทธิ์ของทางม้าลาย”ที่สามารถพบได้เป็นรูปธรรมจนชินตา ได้แก่…
- เส้นสีขาวที่หลุดลอกและซีดจางเสียจนแทบมองไม่ออกว่ามันคือทางม้าลาย
- หมู่มวลมอเตอร์ไซค์และรถยนต์ที่จอดทับแถบเส้นสีขาวสลับดำขณะติดไฟแดง เสมือนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของทางม้าลาย ลามไปถึงปฎิบัติกับคนข้ามถนนเหมือนเป็นอากาศธาตุ (แม้อาจไม่มีเจตนาเพราะก้มหน้าเล็กโทรศัพท์)
- แม้ข้ามบนทางม้าลาย แต่กลับถูกบีบแตร่ใส่ทั้งจากแตร่เล็กของมอเตอร์ไซค์และแตร่ใหญ่ของรถยนต์ ตลอดจนถูกเปิดไฟสูง (ที่หลายครั้งทำให้คนที่กำลังข้ามถนนตกใจ ก้าวขาต่อไปไม่ออกเลยทีเดียว)
- มักเกิดเหตุสลดใจกรณีเฉี่ยวชนคนบาดเจ็บตลอดจนเสียชีวิต แม้จะข้ามถนนบนทางม้าลายอยู่บ่อยครั้ง
เมื่อทางม้าลายไม่สามารถสนองความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของประชาชนได้ “สะพานลอย”จึงเกิดขึ้น (โทษทางม้าลายว่าไม่เวิร์ค และหวังให้สะพานลอยเป็นพระเอกขี่ม้าขาวหาทางออกให้)
การมีอยู่ของสะพานลอยคนข้ามนับพันแห่งทั่วประเทศ สะท้อนให้เห็นว่าประเทศไทย “เน้นแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ “
หากมองปัญหาอุบัติเหตุถูกรถเฉี่ยวชนแม้ใช้ทางม้าลายให้ลึก…
เราจะเห็นว่าสาเหตุที่แท้จริงของปัญหานี้คือ”ผู้ขับขี่ขาดจิตสำนึกในการใช้รถใช้ถนน” ไม่ว่าจะเป็น การขับรถเร็วในเขตชุมชน จนเหยียบเบรคไม่ทัน ,การไม่เห็นความสำคัญของทางม้าลาย, ประมาทเลินเล่อไม่ดูให้ดีว่ามีคนข้ามถนนหรือไม่ตลอดจนการบังคับกฎหมายที่ไม่เข้มข้นพอ
ต้นเหตุของอุบัติเหตุอันเลวร้ายทั้งหมดทั้งมวล ล้วนเกิดจาก “พฤติกรรมคนขับ”มิใช่ทางม้าลาย การนำงบประมาณไปสร้างสะพานลอยจึงไม่ใช่ทางออกของปัญหา !
จากทัศนะผู้เขียนเห็นว่า รูปแบบของทางม้าลายมีไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนเดินเท้ามากกว่าสะพานลอยคนข้ามเสียอีก เพราะปัจเจกชนแต่ละคนล้วนไปถึงจุดหมายด้วยวิธีการที่ต่างกัน ฉะนั้นถนนสาธารณะจึงมิได้มีไว้สำหรับยานพาหนะเท่านั้น
ดังนั้น จึงควรเผื่อที่อย่างเป็นธรรมให้กับคนเดินเท้าบ้าง
อย่าเอาเปรียบคนเดินเท้า อย่าผลักภาระให้คนเดินเท้าโดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีเงื่อนไขในการใช้สะพานลอย เช่น ผู้พิการ สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้มีปัญหาเรื่องหัวเข่า มิฉะนั้น“ความเสมอภาคและเท่าเทียม”ที่ทุกคนใฝ่ฝันย่อมไม่อาจเกิดขึ้นจริงในสังคมไทย หากเพียงการธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของทางม้าลายยังทำไมได้ด้วยซ้ำ
อย่างไรก็ดี บทความนี้มิได้มีเจตนาต่อต้านการข้ามสะพานลอยอย่างใด เพราะเราปฏิเสธไม่ได้จริงๆว่าการใช้สะพานลอยนั้น ปลอดภัยกว่าการข้ามถนนที่มีรถสัญจรขวักไขว่ไปมาหลายเลนโดยเฉพาะในเขตชุมชนหรือย่านธุรกิจ อีกทั้งการข้ามสะพานลอยยังต่อดีสุขภาพ ช่วยเผาผลาญแคลอรี่ เสริมหัวใจให้แข็งแรงเสมือนได้ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอไปในตัว
หากมีแต่เพียงเจตนาที่ชวนให้ทุกท่านตระหนักถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในชีวิต ร่างกายและเสรีภาพของทุกคน ตลอดจนชวนให้ทุกท่านเข้าอกเข้าใจ (Empathy) กลุ่มคนที่มีเงื่อนไขในการใช้สะพานลอย
ถึงเวลาแล้วที่เราต้องสร้าง “ความศักดิ์สิทธิ์ให้กับทางม้าลาย” ทวงคืนสิทธิขั้นพื้นฐานด้านความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายให้กับประชาชน “คนข้ามถนน”
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย