13 ส.ค. 2021 เวลา 07:25 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ได้ไม่คุ้มเสีย!? เผย 5 เหตุผลที่ทำให้มนุษย์ ไม่ยอมกลับไปสำรวจบนดวงจันทร์อีกต่อไป!!
3
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ.1969 มนุษย์กลุ่มแรกได้ถูกส่งขึ้นไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ อันเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ที่เกิดขึ้น จนเรียกได้ว่ามันคือจุดสูงสุดทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมของมนุษยชาติในขณะนั้นเลยทีเดียว โดยหลังจากนั้น ก็ได้มีการส่งนักบินอวกาศอีก 12 คน ลงไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์อีก 6 ครั้ง จนถึงปี ค.ศ.1972
1
นักบินอวกาศกลุ่มแรกของยาน Apollo 11 เมื่อปี 1969 ที่ลงเหยียบเท้าบนดวงจันทร์เป็นกลุ่มแรก (ซ้าย-ขวา) นีล อาร์มสตรอง, ไมเคิล คอลลินส์ และ บัซ อัลดริน
แต่มันเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น? เมื่อมนุษย์ได้ระงับแผนการกลับไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์อีกครั้ง ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็เป็นเวลากว่าห้าทศวรรษแล้ว ที่มนุษย์ไม่เคยถูกส่งไปเหยียบบนพื้นผิวดวงจันทร์อีกเลย
1
เหตุผลที่แท้จริงที่มนุษย์ไม่กลับไปเหยียบบนดวงจันทร์อีกครั้ง มันคืออะไร วันนี้เราจะมาหาเหตุผลให้ทุกคนได้รับรู้กัน
1. การสิ้นสุดของสงครามเย็น
หนึ่งในแรงผลักดันของการสำรวจบนดวงจันทร์เกิดจากการแข่งขันกันในด้านการสำรวจอวกาศระหว่างสองชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต โดยสหภาพโซเวียตได้ทุ่มเงินในโครงการอวกาศของพวกเขาในปี ค.ศ.1950 จนสามารถสร้างดาวเทียมประดิษฐ์ดวงแรกของโลกอย่าง Sputnik ขึ้นโคจรรอบโลกได้เป็นผลสำเร็จในปี ค.ศ.1957
1
ต่อมาสหภาพโซเวียตได้ส่ง ยูริ กาการิน นักบินอวกาศคนแรกขึ้นสู่อวกาศในปี ค.ศ.1961 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าในขณะนั้น สหภาพโซเวียตเป็นตัวเต็งชาติแรกที่พร้อมส่งนักบินอวกาศสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ในขณะนั้นอย่าง จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ได้กล่าวไว้เมื่อปี ค.ศ.1962 ว่า
3
‘ไม่ว่าเราจะชอบการแข่งขันหรือไม่ ทุกสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในตอนนี้ จะต้องพาสหรัฐอเมริกาไปดวงจันทร์ให้ได้ก่อนพวกรัสเซีย’
6
โรเจอร์ เลาเนียส อดีตหัวหน้านักประวัติศาสตร์ของ NASA เคยกล่าวว่าการแข่งขั้นด้านการสำรวจอวกาศระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเป็นหนึ่งในสงครามตัวแทนระหว่างสองชาติ ที่ต้องการแสดงความเป็นใหญ่เหนืออีกฝ่าย นอกเหนือจากการต่อสู้เรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง กำลังทหาร ทั้งสองชาติยังแข่งขันกันเพื่ออ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของดวงจันทร์เพียงหนึ่งเดียว
4
ทว่าเงื่อนไขดังกล่าวไม่มีอีกต่อไป นับตั้งแต่ที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลงไป ก็ไม่มีประเทศใดก้าวขึ้นมาเป็นผู้ท้าชิงด้านการสำรวจอวกาศกับสหรัฐอเมริกาอีกต่อไปนั่นเอง
1
มิคาอิล กอร์บาชอฟ ประธานสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต (ซ้าย) โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐ (ขวา)
2. ความเสี่ยงทางการเมืองที่มากจนเกินไป
หลายคนอาจไม่ทราบว่า กว่าที่สหรัฐเมริกาจะส่งนักบินอวกาศชุดแรกขึ้นไปเหยียบเท้าบนดวงจันทร์นั้น รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้เวลาเตรียมพร้อมสำหรับแผนการนี้มากกว่าหนึ่งทศวรรษ และยังต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาล พร้อมกับความพร้อมในด้านต่าง ๆ ที่อาจเกิดความผิดพลาดได้ทุกเมื่อ เทคโนโลยีที่ยังไม่ทันสมัยพอ นักบินอาจเสียชีวิตระหว่างเดินทาง ความคุ้มค่าในการทำภารกิจสำรวจบนดวงจันทร์ สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ประธานาธิบดีคนไหนก็ตามสามารถสั่งยกเลิกโครงการนี้ได้ทุกเมื่อ เนื่องจากมันมีความเสี่ยงทางการเมืองที่สูงเกินไป
3
Business Insider ได้ระบุว่า ความเสี่ยงทางการเมืองได้เพิ่มขึ้นหลังจากที่สหรัฐเมริกาส่งนักบินอวกาศขึ้นไปสำรวจบนดวงจันทร์ โดยเฉพาะองค์การ NASA ที่แนะนำให้ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐฯ กลับไปสำรวจบนดวงจันทร์อีกครั้ง เพียงแต่ติดปัญหาที่งบประมาณที่สูงมากขึ้น จนทำให้รู้สึกว่าต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับกลับมาว่ามันคุ้มค่ากันหรือไม่
4
นั่นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง แต่ประโยชน์ของการกลับไปดวงจันทร์นั้นส่วนใหญ่เป็นข้อดีในแง่ทฤษฎี แน่นอน การสำรวจและการวิจัย คือเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์ต้องกลับไป แต่ไม่มีอะไรยืนยันว่าเราจะได้กำไรจากการสำรวจในครั้งต่อไป
3
เคยมีคนเสนอแนวคิดว่าควรใช้ดวงจันทร์เป็นคลังน้ำมัน หรือเป็นฐานหยุดพักยานสำรวจอวกาศ แต่ปรากฏว่า ไม่มีนักการเมืองคนไหนอยากเสนอแผนการดังกล่าว เหตุผลเพราะ พวกเขาไม่อยากเอาชื่อไปยุ่งเกี่ยวกับอภิมหาโปรเจ็คที่ใช้เงินมหาศาลที่มองไม่เห็นว่ามันจะคุ้มค่ากับประโยชน์ที่จะได้รับกลับมาหรือไม่ รวมไปถึงความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุบนอวกาศที่คาดไม่ถึงนั่นเอง
4
กว่าห้าทศวรรษแล้วที่มนุษย์ไม่ได้กลับไปเหยียบเท้าลงบนดวงจันทร์
3. เราต้องการเทคโนโลยีที่ดีกว่านี้
1
เทคโนโลยีมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเรา นับตั้งแต่ที่มนุษย์ส่งยานอวกาศขึ้นไปบนพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อปี ค.ศ.1969 ตลอดเวลาช่วงห้าทศวรรษที่ผ่านมา มนุษย์ได้เห็นความก้าวหน้าอันน่าทึ่งของเทคโนโลยีสำรวจอวกาศในครั้งนี้
ยกตัวอย่างเช่น คอมพิวเตอร์บนตัวยาน Apollo ที่ลงจอดบนดวงจันทร์ ไม่สามารถเทียบได้กับฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน หรือแม้กระทั่งสมาร์ทโฟนในมือของเราในตอนนี้ก็น่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคอมพิวเตอร์บนยาน Apollo ชนิดเทียบกันไม่ติด
2
อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่า ในเมื่อเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของเราในปัจจุบันพัฒนามาอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่การส่งนักบินอวกาศไปเหยียบเท้าลงบนพื้นผิวดวงจันทร์เมื่อห้าทศวรรษก่อน แล้วยังมีปัญหาอะไรที่ทำให้มนุษย์ไม่สามารถกลับไปสำรวจบนดวงจันทร์ได้อีก?
เหตุผลก็คือ คอมพิวเตอร์เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีที่จำเป็นในการนำผู้คนเดินทางจากโลกไปสู่ดวงจันทร์ก็จริง แต่ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีข้อจำกัดบนยาน Apollo นั้น ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยใช้ไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อประหยัดพลังงานในการเดินทาง
1
และที่สำคัญก็คือ นอกเหนือจากระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ส่วนใหญ่ของยาน Apollo ที่ถูกส่งไปสำรวจบนดวงจันทร์เมื่อห้าทศวรรษก่อนยังคงดูล้ำสมัยอยู่ในยุคปัจจุบัน ซึ่งถ้าจะให้พูดกันอย่างตรงไปตรงมาก็คือ เทคโนโลยีสำรวจอวกาศของมนุษย์เราได้มาถึงขีดจำกัดแล้ว นั่นหมายความว่า ถ้าหากเราต้องการส่งนักบินอวกาศขึ้นไปสำรวจบนดวงจันทร์อีกครั้ง เราจำเป็นต้องคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่จะก้าวผ่านข้อจำกัดที่เรามี และการันตีถึงความมั่นคงและปลอดภัยของนักบินอวกาศที่ถูกส่งไปบนดวงจันทร์นั่นเอง
3
เทคโนโลยีที่เรามีตอนนี้ยังดีไม่พอ?
4. โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศ Challenger และ Columbia
1
เดิมทีโครงการกระสวยอวกาศถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ.1970 ด้วยแนวคิดที่ว่ากระสวยอวกาศจะสามารถลงจอดบนดวงจันทร์ได้ดีกว่า ปลอดภัยกว่า และช่วยประหยัดงบประมาณในการเดินทางจากโลกสู่อวกาศได้ สหรัฐอเมริกามั่นใจว่าโครงการกระสวยอวกาศจะเป็นกุญแจสำคัญในการเดินทางสู่อวกาศพร้อมกับรักษาตำแหน่งผู้นำแห่งการสำรวจอวกาศของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย
2
จนกระทั่งในปี ค.ศ.1986 ได้เกิดโศกนาฎกรรมกระสวยอวกาศ Challenger ระเบิดขึ้น นั่นคือช่วงเวลาที่น่าสยดสยองที่ทำให้สหรัฐอเมริกาต้องพบกับความหดหู่ และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการทำงานขององค์การ NASA ใหม่ ด้วยการกลับไปหยิบจับเทคโนโลยีเก่าบางส่วนที่มีความเสถียรและน่าเชื่อถือมากกว่าเทคโนโลยีใหม่
1
ต่อมาในปี ค.ศ.2003 กระสวยอวกาศ Columbia ได้เกิดระเบิดขึ้นระหว่างเดินทางกลับมาสู่พื้นผิวโลก จากรายงานของสื่อสหรัฐฯ ระบุว่า เหตุการณ์กระสวยอวกาศระเบิดกลางอากาศเป็นครั้งที่สองได้ส่งผลกระทบต่อโครงการอวกาศเป็นวงกว้าง จนประธานาธิบดีในขณะนั้นอย่าง จอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช และฝ่ายบริหารของเขาตั้งคำถามว่ามันคุ้มค่าหรือไม่กับการนำชีวิตมนุษย์ออกไปเสี่ยงอันตรายบนห้วงอวกาศอยู่บ่อยครั้งแบบนั้นอีก
5
จากท่าทีที่แสดงถึงความระมัดระวังตัวมากขึ้นของรัฐบาลสหรัฐฯ จึงทำให้แผนการที่จะมนุษย์จะกลับไปสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์โดยใช้กระสวยอวกาศนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว เพราะมันดูอันตรายเกินไปนั่นเอง
3
กระสวยอวกาศ เทคโนโลยีแห่งความหวังที่ไม่ได้อย่างที่หวัง?
5. ไม่ได้กำไรจากการสำรวจบนดวงจันทร์
ข้อนี้เรียกได้ว่าเป็นอะไรที่ทิ่มแทงใจของใครหลาย ๆ คน เลยทีเดียว เพราะสังคมในโลกมนุษย์ของเรานั้นเป็นสังคมแบบ ‘ทุนนิยม’ คือไม่ว่าจะหยิบจับอะไรก็ต้องคิดถึงผลกำไรและขาดทุนเอาไว้ก่อน อะไรที่มันได้กำไร เราก็ทำต่อไป อะไรที่ทำแล้วไม่ได้กำไร เราก็หยุด เท่านั้นเอง
1
การเดินทางสู่ดวงจันทร์ก็เช่นเดียวกัน มันมีราคาที่ต้องจ่ายในจำนวนมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเงินที่ต้องลงทุน และความเสี่ยงจากเทคโนโลยีท่องอวกาศที่ยังไม่มีความเสถียรมากพอ ซึ่งก็อาจทำให้การเดินทางระหว่างโลกสู่ดวงจันทร์กลายเป็นโศกนาฎกรรมได้ทุกเมื่อ
3
แน่นอนว่าการที่เรายอมเสียงเงินและเสี่ยงชีวิตไปบนดวงจันทร์ ก็ย่อมต้องการผลกำไรที่สมน้ำสมเนื้อใช่หรือไม่? ต้องบอกก่อนว่าบนดวงจันทร์มีทรัพยากรที่น่าสนใจอย่าง ฮีเลียม-3 (Helium-3) แหล่งพลังงานที่หายากและมีจำกัด ซึ่งในอนาคตข้างหน้า มนุษย์อาจใช้ดวงจันทร์เป็นฐานพักยานสำหรับการเดินทางไกลในห้วงอวกาศได้อีกด้วย โดยเฉพาะดาวอังคาร ที่เป็นดาวเคราะห์ลำดับถัดไปจากโลก
แต่อย่าเพิ่งดีใจไป เพราะ Yahoo Finance เคยประเมินค่าใช้จ่ายในการสร้างฐานพักยานบนดวงจันทร์แบบพื้นฐานไปจนถึงระดับ 100 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการดูแลนักบินอวกาศเพียงสี่คนที่ทำหน้าที่เฝ้าฐานพักยานอวกาศบนดวงจันทร์ ก็คิดเป็นค่าใช้จ่ายสูงถึง 36 พันล้านดอลลาร์ต่อปี นี่ยังไม่รวมถึงค่าอุปกรณ์และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการขุดเจาะหาแหล่งเชื้อเพลิงบนดวงจันทร์และอุปกรณ์การกลั่นและเติมเชื้อเพลิง
1
จากข้อมูลข้างต้น คงพอทำให้เราเห็นภาพได้แล้วว่า ไม่ว่าจะมองทางไหน เราก็แทบหาผลกำไรจากการสำรวจบนดวงจันทร์ไม่ได้เลย
2
ภาพจากจินตนาการในโลกอนาคต ที่มนุษย์กลับไปบนดวงจันทร์อีกครั้ง
ข้อมูลจาก : GRUNGE.COM
โฆษณา