13 ส.ค. 2021 เวลา 12:29 • การเมือง
สืบเนื่องจากคลิปวีดิโอของคุณ โลกและความมั่นคง - Bear Forum for Security Studies ได้อธิบายเกี่ยวกับ เรื่อง กองทัพ “จีน” ไป แต่ยังไม่ได้เจาะลึกลงรายระเอียดว่าแต่ละเหล่าทัพของกองทัพ “จีน” มีหน่วยไหน หรือ กองกำลังอะไรบ้าง ดังนั้น โพสต์นี้ ผมจึงตั้งใจเขียนบทความเพื่อเจาะรายละเอียดส่วนนั้นอีกทีหนึ่ง
ที่มาของคลิป กองทัพ “จีน”
เกริ่นนำ
หากจะพูดถึงประเทศที่มีแสนยานุภาพทางการทหาร ที่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของโลก ก็คงจะหนีไม่พ้น ประเทศจีน ที่กำลังมาแรง และพยายามพัฒนาแสนยานุภาพทางการทหารของตัวเองให้ทัดเทียมกับประเทศสหรัฐอเมริกา นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กองทัพ “จีน” ก็ได้พัฒนาปรับปรุงกองทัพของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ให้มีความทันสมัยทัดเทียมเหมือนกับมาตราฐานของกองทัพโลกตะวันตก ทั้งในเรื่องของ กำลังพล การจัดกำลัง อาวุธยุทโปกรณ์ และ เทคโนโลยี เป็นต้น แม้ว่าปัจจุบันพัฒนาการการทหารของประเทศจีนจะพัฒนาไปไกลแล้วก็ตาม นับจากยุคอดีต แต่องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ประเทศจีนมีแสนยานุภาพทางการทหารที่โดดเด่นได้บนเวทีโลกจนถึงทุกวัน ก็คงหนีไม่พ้น นั่นก็คือ กองทัพที่ชื่อว่า “กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน หรือ PLA” ทว่า โพสต์นี้ ผมจะขอพูดถึงเรื่อง เหล่าทัพต่าง ๆ ของ กองทัพ “จีน” และ การจัดกำลังต่าง ๆ ว่าประกอบด้วยกองกำลังอะไรบ้าง
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (People's Liberation Army : PLA)
ประวัติโดยสังเขป
“กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน หรือ PLA” ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการ โดย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน (Communist Party of China : CPC) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1927 (2470) หลังจาก เหตุการณ์การลุกฮือที่หนานชาง (Nanchang Uprising) เพื่อต่อต้าน กองทัพคณะชาติ (National Revolutionary Army) ของ พรรคก๊กมินตั๋ง (Kuomintang) ต่อมา เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลง ประเทศญี่ปุ่นได้ยอมแพ้ต่อสงคราม ทำให้ “กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน หรือ PLA” ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 1945 (2488)
แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 และ การต่อสู้ต่อการรุกรานของประเทศญี่ปุ่น จะจบลงแล้วก็ตาม แต่ทว่า ความขัดแย้งของสองอุดมการณ์ทางการเมืองที่ยิ่งใหญ่ ระหว่าง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน และ พรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกันและความบาดหมางระหว่างกัน ยังคงมีอยู่ สงครามจึงได้ปะทุเดือดอีกครั้ง การต่อสู้อันยาวนานของทั้งสองฝ่ายได้เริ่มต้นอีกครั้ง จนนำไปสู่ “สงครามกลางจีน (Chinese Civil War)”
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1949 (2492) ผลสุดท้ายของสงคราม “กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน หรือ PLA” และ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน เป็นฝ่ายกำชัยชนะ จนทำให้ พรรคก๊กมินตั๋ง และ กองกำลังของกองทัพคณะชาติ ที่ยังเหลืออยู่ ได้หลบหนีไปที่เกาะไต้หวัน ซึ่งต่อมากลายเป็นประเทศไต้หวัน หลังจากสงครามกลางจีน ได้สิ้นสุดลง นำไปสู่ การประกาศสถาปนาชื่อประเทศจีนใหม่ ว่า “สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China (PRC)” โดย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน นำโดย เหมาเจ๋อตง ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
ต่อมา ได้มีการจัดตั้ง กองทัพเรือจีน (People's Liberation Army Navy : PLAN) เมื่อวันที่ 23 เมษายน 1949 (2492) และ กองทัพอากาศจีน (People's Liberation Army Air Force : PLAAF) เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1949 (2492) หลายปีต่อมา ได้มีการจัดตั้งสองเหล่าทัพใหม่เพิ่มเติม คือ กองทัพขีปนาวุธ (People's Liberation Army Rocket Force : PLARF) และ กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ (People's Liberation Army Strategic Support Force : PLASSF) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ทั้งสองเหล่าทัพ ตามนโยบายการทหารของ ประธานาธิบดี สีจิ้งผิง
ระบบสายการบังคับบัญชา
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน นั้น จะมีระบบสายการบังคับบัญชาที่ขึ้นตรงต่อ กรรมาธิการทหารส่วนกลาง (Central Military Commission : CMC) โดยรับคำสั่งโดยตรงจาก ประธานกรรมธิการทหารส่วนกลาง (Chairman) ซึ่งมี ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เป็น ประธานกรรมธิการทหารส่วนกลาง และ นายทหารระดับสูง (ชั้นยศนายพล) 2 คน เป็นรองประธาน (Vice - Chairman) พร้อมกับ นายทหารระดับสูง (ชั้นยศนายพล) อีก 4 คน เป็นสมาชิกของ กรรมาธิการทหารส่วนกลาง
การแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบของกองบัญชาการกองทัพภาค (Theater Commands)
กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน แบ่งพื้นที่รับผิดของกองบัญชาการกองทัพภาค ออกเป็น 5 ภาค ด้วยกัน ได้แก่
1. กองบัญชาการกองทัพภาคตะวันออก (Eastern Theater Command) รับผิดชอบพื้นที่ทางตะวันออกของประเทศ กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ เมือง Nanjing
2. กองบัญชาการกองทัพภาคตะวันตก (Western Theater Command) รับผิดชอบพื้นที่ทางตะวันตกของประเทศ กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ เมือง Chengdu
3. กองบัญชาการกองทัพภาคเหนือ (Northern Theater Command) รับผิดชอบพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศ กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ เมือง Shenyang
4. กองบัญชาการกองทัพภาคใต้ (Southern Theater Command) รับผิดชอบพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศ กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ เมือง Guangzhou
5. กองบัญชาการกองทัพภาคกลาง (Central Theater Command) รับผิดชอบพื้นที่ทางตอนกลางของประเทศ กองบัญชาการตั้งอยู่ที่ เมือง Beijing
เหล่าทัพต่าง ๆ ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (Service Branches)
1. กองทัพบก ปลดปล่อยประชาชนจีน (People's Liberation Army Ground Force : PLAGF)
เป็นเหล่าทัพที่เก่าแก่ที่สุดของ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ปี 1927 จนถึงปัจจุบัน กองทัพบกจีนมีกำลังพลประจำการทั้งหมดทั้งสิ้น 915,000 นาย (แบบ Active-Duty) ซึ่งมากกว่ากำลังพล (แบบ Active-Duty) ของกองทัพบกสหรัฐฯ (U.S. Army) มากกว่า 20,000 - 45,000 นาย การจัดกำลังของกองทัพบกจีนจะนิยมจัดกำลังในลักษณะ “กลุ่มกองทัพ (Group Army หรือ 军集团军)“ ซึ่งในแต่ละ กลุ่มกองทัพ จะประกอบไปด้วย “กองพลน้อย (Brigade)” ต่าง ๆ ซึ่ง กลุ่มกองทัพ จะขึ้นตรงต่อ กองทัพภาค (Theater Commands) อีกทีหนึ่ง
นับตั้งแต่ปี 2016 ถึง 2017 เป็นต้นมา กองทัพจีนได้มีการปรับปรุงด้านการทหารในกองทัพของตัวเองอย่างมากมาย รวมไปถึงการจัด ปรับขนาดกำลังของกองทัพบกจีน เสียใหม่ โดยเริ่มจากลดขนาดกลุ่มกองทัพของตัวเองลง จากเดิมที่มีอยู่ 18 กลุ่มกองทัพ ลดเหลือเพียง 13 กลุ่มกองทัพ เท่านั้น แถมยังใช้หลักนิยมในการจัดกำลังในลักษณะแบบ กองพลน้อย มากขึ้น เพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน และ รองรับความหลากหลายของภารกิจ
ซึ่งมีการจัดกำลัง ขึ้นตรงต่อกองทัพภาคต่าง ๆ ดังนี้
1.) กองบัญชาการกองทัพภาคตะวันออก (Eastern Theater Command) มีกองบัญชาการ (กองทัพบก) ตั้งอยู่ที่เมือง Fuzhou
A. กลุ่มกองทัพที่ 71 (71st Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 2 (2nd Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 35 (35th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 160 (160th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 235 (235th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 178 (178th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 179 (179th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 71 (71st Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 71 (71st Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 71 (71st Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 71 (71st Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 71 (71st Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 71 (71st Service Support Brigade)
B. กลุ่มกองทัพที่ 72 (72nd Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 10 (10th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยสะเทินน้ำสะเทินบกผสมที่ 5 (5th Amphibious Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยสะเทินน้ำสะเทินบกผสมที่ 124 (124th Amphibious Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 85 (85th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 90 (90th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 34 (34th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 72 (72nd Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 72 (72nd Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 72 (72nd Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 72 (72nd Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 72 (72nd Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 72 (72nd Service Support Brigade)
C. กลุ่มกองทัพที่ 73 (73rd Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 86 (86th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยสะเทินน้ำสะเทินบกผสมที่ 14 (14th Amphibious Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยสะเทินน้ำสะเทินบกผสมที่ 91 (91th Amphibious Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 145 (145th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 92 (92th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 73 (73rd Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 73 (73rd Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 73 (73rd Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 73 (73rd Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 73 (73rd Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 73 (73rd Service Support Brigade)
2.) กองบัญชาการกองทัพภาคใต้ (Southern Theater Command) มีกองบัญชาการ (กองทัพบก) ตั้งอยู่ที่เมือง Lanzhou
A. กลุ่มกองทัพที่ 74 (74th Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยสะเทินน้ำสะเทินบกผสมที่ 1 (1st Amphibious Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยสะเทินน้ำสะเทินบกผสมที่ 125 (125th Amphibious Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 16 (16th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 132 (132nd Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 163 (163rd Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 74 (74th Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 74 (74th Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 74 (74th Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 74 (74th Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 74 (74th Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 74 (74th Service Support Brigade)
B. กลุ่มกองทัพที่ 75 (75th Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 31 (31st Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะผสมภูผาที่ 32 (32nd Mountain Combined Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 37 (37th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 42 (42nd Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 122 (122nd Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 123 (123rd Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยจู่โจมทางอากาศที่ 121 (121st Air Assault Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 75 (75th Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 75 (75th Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 75 (75th Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 75 (75th Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 75 (75th Service Support Brigade)
3.) กองบัญชาการกองทัพภาคตะวันตก (Western Theater Command) มีกองบัญชาการ (กองทัพบก) ตั้งอยู่ที่เมือง NanNing
A. กลุ่มกองทัพที่ 76 (76th Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 12 (12th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 17 (17th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 56 (56th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 62 (62nd Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 149 (149th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 182 (182nd Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 76 (76th Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 76 (76th Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 76 (76th Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 76 (76th Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 76 (76th Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 76 (76th Service Support Brigade)
B. กลุ่มกองทัพที่ 77 (77th Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 181 (181st Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 39 (39th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะผสมภูผาที่ 40 (40th Mountain Combined Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 150 (150th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 55 (55th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 77 (77th Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 77 (77th Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 77 (77th Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 77 (77th Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 77 (77th Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 77 (77th Service Support Brigade)
4.) กองบัญชาการกองทัพภาคเหนือ (Northern Theater Command) มีกองบัญชาการ (กองทัพบก) ตั้งอยู่ที่เมือง Jinan
A. กลุ่มกองทัพที่ 78 (78th Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 8 (8th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 78 (78th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 202 (202nd Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 204 (204th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 15 (15th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 48 (48th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 78 (78th Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 78 (78th Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 78 (78th Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 78 (78th Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 78 (78th Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 78 (78th Service Support Brigade)
B. กลุ่มกองทัพที่ 79 (79th Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 116 (116th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 190 (190th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 46 (46th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 200 (200th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 119 (119th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 191 (191th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 79 (79th Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 79 (79th Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 79 (79th Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 79 (79th Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 79 (79th Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 79 (79th Service Support Brigade)
C. กลุ่มกองทัพที่ 80 (80th Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 69 (69th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 118 (118th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 199 (199th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 138 (138th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 203 (203rd Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 47 (47th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 80 (80th Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 80 (80th Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 80 (80th Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 80 (80th Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 80 (80th Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 80 (80th Service Support Brigade)
5.) กองบัญชาการกองทัพภาคกลาง (Central Theater Command) มีกองบัญชาการ (กองทัพบก) ตั้งอยู่ที่เมือง Shijiazhuang
A. กลุ่มกองทัพที่ 81 (81st Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 7 (7th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 194 (194th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 195 (195th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 162 (162th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 188 (188th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 70 (70th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 81 (81st Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 81 (81st Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 81 (81st Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 81 (81st Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 81 (81st Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 81 (81st Service Support Brigade)
B. กลุ่มกองทัพที่ 82 (82nd Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 6 (6th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 112 (112th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 151 (151st Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 188 (188th Heavy Combined Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 127 (127th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 9 (9th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 80 (80th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะเบาผสมที่ 196 (196th Light Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 82 (82nd Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 82 (82nd Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 82 (82nd Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 82 (82nd Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 82 (82nd Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 82 (82nd Service Support Brigade)
C. กลุ่มกองทัพที่ 83 (83rd Group Army) ประกอบไปด้วย
• กองพลน้อยยานเกราะหนักผสมที่ 11 (11th Heavy Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 3 (3rd Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 58 (58th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 60 (60th Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 133 (133rd Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยยานเกราะกลางผสมที่ 193 (193rd Medium Combined-Arms Brigade)
• กองพลน้อยจู่โจมทางอากาศที่ 161 (161st Air Assault Brigade)
• กองพลน้อยบินที่ 83 (83rd Army Aviation Brigade)
• กองพลน้อยปืนใหญ่ที่ 83 (33rd Artillery Brigade)
• กองพลน้อยป้องกันภัยทางอากาศที่ 83 (83rd Air Defense Brigade)
• กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 83 (83rd Special Operations Brigade)
• กองพลน้อยป้องกัน นิวเคลียร์ เคมี ชีวะ ที่ 83 (83rd Engineer-NBC Defense Brigade)
• กองพลน้อยสนับสนุนที่ 83 (83rd Service Support Brigade)
นอกจากนี้ ยังมี หน่วย และ กองพลอิสระ มากมาย ที่ขึ้นตรงต่อกองทัพภาค แต่ผมไม่สามารถนำมาเขียนลงในโพสต์บทความนี้ได้ เนื่อง มีจำนวนเยอะมาก และ บางหน่วยก็ไม่มีข้อมูลมากพอที่จะเขียนลง
2. กองทัพเรือ ปลดปล่อยประชาชนจีน (People's Liberation Army Navy : PLAN)
เป็นเหล่าทัพที่ 2 ของกองทัพจีน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 23 เมษายน 1949 จนถึงปัจจุบัน กองทัพจีน มีกำลังเรือรบประจำการทั้งหมด 360 ลำ ซึ่งมีกำลังทางเรือพร้อมรบมากกว่าของ กองทัพเรือสหรัฐฯ (U.S. Navy) ที่กำลังทางเรือพร้อมรบแค่ 297 ลำ ทำให้กองทัพจีนกลายเป็นกองทัพเรือที่มีกำลังทางเรือที่ใหญ่กว่ากองทัพเรือสหรัฐฯ และ มีกำลังรบทางเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในขณะนี้ จากคาดการณ์ของรายงานสภาคองเกรสว่า กองทัพเรือจีน จะเพิ่มกำลังทางเรือ โดยการต่อเรือขึ้นอีกในอนาคต เป็น 400 ลำ ในปี 2025 และ เพิ่มขึ้นอีก เป็น 425 ลำ ในปี 2030 ส่วนกำลังพลที่ประจำการอยู่ในกองทัพจีน จำนวนทั้งสิ้น 290,000 นาย นอกจากนี้ ยังมี หน่วยนาวิกโยธินจีน กองกำลังป้องกันชายฝั่ง และ กองบินนาวี ที่ขึ้นตรงต่อกองทัพเรือจีน อีกด้วย
การจัดกำลังของกองทัพเรือจีน มีการจัดกำลัง ดังนี้
1. กองเรือทะเลเหนือ (North Sea Fleet) มีกองบัญชาการ (กองทัพเรือ) ตั้งอยู่ที่ เมือง Qingdao มณฑล Shandong ประกอบไปด้วย
• เรือบรรทุกเครื่องบิน (Aircraft carrier) 1 ลำ
• เรือพิฆาต (Destroyers) 9 ลำ
• เรือฟริเกต (Frigates) 12 ลำ
• เรือคอร์เวต (Corvettes) 10 ลำ
• เรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear-powered Attack submarines) 4 ลำ
• เรือดำน้ำโจมตีพลังงานดีเซลไฟฟ้า (Diesel-electric powered Attack submarines) 14 ลำ
• เรือยกพลขึ้นบก (Landing ships) 7 ลำ แบ่งเป็น เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง 5 ลำ และ เรือยกพลขึ้นบกรถถัง 2 ลำ
• เรือเติมน้ำมัน (Replenishment ships) 3 ลำ
• เรือลาดตระเวน (Cruiser) 1 ลำ
• เรือคัตเตอร์ขีปนาวุธ (Missile Patrol Craft) 18 ลำ
2. กองเรือทะเลตะวันออก (East Sea Fleet) มีกองบัญชาการ (กองทัพเรือ) ตั้งอยู่ที่ เมือง Ningbo มณฑล Zhejiang ประกอบไปด้วย
• เรือกู้ภัย (Rescue and salvage ship) 1 ลำ
• เรือพิฆาต (Destroyers) 12 ลำ
• เรือฟริเกต (Frigates) 23 ลำ
• เรือคอร์เวต (Corvettes) 10 ลำ
• เรือดำโจมตีพลังงานดีเซลไฟฟ้า (Diesel-electric powered Attack submarines) 18 ลำ
• เรือยกพลขึ้นบก (Landing ships) 23 ลำ แบ่งเป็น เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง 7 ลำ และ เรือยกพลขึ้นบกรถถัง 16 ลำ
• เรืออู่ลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious Transport Dock) 2 ลำ
• เรือเติมน้ำมัน (Replenishment ships) 4 ลำ
• เรือคัตเตอร์ขีปนาวุธ (Missile Patrol Craft) 46 ลำ
3. กองเรือทะเลใต้ (South Sea Fleet) มีกองบัญชาการ (กองทัพเรือ) ตั้งอยู่ที่ เมือง Zhanjiang มณฑล Guangdong ประกอบไปด้วย
• เรือบรรทุกเครื่องบิน (Aircraft carrier) 1 ลำ
• เรือพิฆาต (Destroyers) 11 ลำ
• เรือฟริเกต (Frigates) 18 ลำ
• เรือคอร์เวต (Corvettes) 20 ลำ
• เรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear-powered Attack submarines) 2 ลำ
• เรือดำน้ำยิงขีปนาวุธพลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear-powered Ballistic Missile submarines) 4 ลำ
• เรือดำน้ำโจมตีพลังงานดีเซลไฟฟ้า (Diesel-electric powered Attack submarines)14 ลำ
• เรือยกพลขึ้นบก (Landing ships) 22 ลำ เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง 9 ลำ และ เรือยกพลขึ้นบกรถถัง 13 ลำ
• เรืออู่ลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibious Transport Dock) 4 ลำ
• เรือเติมน้ำมัน (Replenishment ships) 9 ลำ
• เรือส่งกำลังบำรุง (Auxiliary ships) 1 ลำ
• เรือคัตเตอร์ขีปนาวุธ (Missile Patrol Craft) 22 ลำ
3. กองทัพอากาศ ปลดปล่อยประชาชนจีน (People's Liberation Army Air Force : PLAAF)
เป็นเหล่าทัพที่ 3 ของกองทัพจีน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 1949 จนถึงปัจจุบัน กองทัพอากาศจีนเป็นกองทัพอากาศที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และ มีอากาศยานประจำมากกว่า 2,500 ลำ พร้อมด้วยกำลังพลประจำในกองทัพอากาศจีน 395,000 นาย
นับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา กองทัพอากาศจีน ได้มีปรับปรุงโครงสร้างกองทัพอากาศของตัวเอง จากเดิมที่มีการจัดกำลังในลักษณะ “กองพลอากาศ (Air Division)” เปลี่ยนเป็น “กองพลน้อยอากาศ (Air Brigade)” เพื่อลดขนาดของกองทัพอากาศ ให้มีความคล่องตัว และ ยืดหยุ่นมากขึ้น โดย 1 กองพลน้อยอากาศ จะมีอากาศยาน 24 ลำ (รวมอากาศยานฝึกด้วย) แบ่งออกเป็น 3 - 5 กลุ่มบิน (Flight Groups)
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงโครงสร้าง กองทัพน้อยส่งทางอากาศ (Airborne Corps) ให้จัดกำลังเป็น “กองพลน้อย (Brigade)” โดยยุบกองพลส่งทางอากาศทั้ง 3 กองพลออกไป แล้วแปรสภาพเป็น “กองพลน้อย (Brigade)” รวมไปถึง การปรับปรุง และ ก่อตั้ง โรงเรียนการบิน (Flight College) ขึ้นมาใหม่ 3 แห่ง ที่เมือง Harbin มณฑล Heilongjiang เมือง Shijiazhuang มณฑล Hebei และ เมือง Xi’an มณฑล Shaanxi
การจัดกำลังของกองทัพอากาศจีน มีการจัดกำลัง ดังนี้
A. กองพลน้อยอากาศ (Aviation Brigades)
1. กองบัญชาการกองทัพอากาศจีน (PLAAF HQ)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง ค้นหาและกู้ภัย (Transportation & SAR Brigade)
• กองพลน้อยอากาศยานไร้คนขับ (UAV Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 65 (65th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 66 (66th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 67 (67th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 151 (151st Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 170 (170th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 171 (171st Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 172 (172nd Air Brigade)
2. กองทัพน้อยส่งทางอากาศ (Airborne Corps)
• กองพลน้อยอากาศ (Aviation Brigade)
• กองบินเฮลิคอปเตอร์ (Helicopter Brigade)
3. กองบัญชาการกองทัพอากาศจีน ภาคตะวันออก (Eastern TCAF HQ)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง และ เติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ที่ 95 (95th Transportation & Tanker Brigade)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง ค้นหาและกู้ภัย (Transportation & SAR Brigade)
4. กองบัญชาการกองทัพอากาศจีน ภาคใต้ (Southern TCAF HQ)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง และ เติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ที่ 132 (132nd Transportation & Tanker Brigade)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง ค้นหาและกู้ภัย (Transportation & SAR Brigade)
5. กองบัญชาการกองทัพอากาศจีน ภาคตะวันตก (Western TCAF HQ)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง ค้นหาและกู้ภัย (Transportation & SAR Brigade)
6. กองบัญชาการกองทัพอากาศจีน ภาคเหนือ (Northern TCAF HQ)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง และ เติมเชื้อเพลิงทางอากาศ ที่ 33 (133rd Transportation & Tanker Brigade)
• กองพลน้อยอากาศยานไร้คนขับ ที่ 151 กองพลน้อยอากาศยานไร้คนขับ (151st UAV Brigade)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง ค้นหาและกู้ภัย (Transportation & SAR Brigade)
7. กองบัญชาการกองทัพอากาศจีน ภาคกลาง (Central TCAF HQ)
• กองพลน้อยเครื่องบินลำเลียง ค้นหาและกู้ภัย (Transportation & SAR Brigade)
B. กองพลน้อยอากาศต่อสู้ (Combat Aircraft Air Brigades)
1. กองทัพอากาศ ภาคตะวันออก (TCAF Eastern)
• กองพลน้อยอากาศที่ 7 (7th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 8 (8th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 9 (9th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 40 (40th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 41 (41st Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 42 (42nd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 83 (83rd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 180 (180th Air Brigade)
2. กองทัพอากาศ ภาคใต้ (TCAF Southern)
• กองพลน้อยอากาศที่ 4 (4th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 5 (5th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 6 (6th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 23 (23rd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 25 (25th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 26 (26th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 27 (27th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 52 (52nd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 54 (54th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 96 (96th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 98 (98th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 99 (99th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 130 (130th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 131 (131st Air Brigade)
3. กองทัพอากาศ ภาคตะวันตก (TCAF Western)
• กองพลน้อยอากาศที่ 16 (16th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 112 (112nd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 178 (178th Air Brigade)
4. กองทัพอากาศ ภาคเหนือ (TCAF Northern)
• กองพลน้อยอากาศที่ 1 (1st Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 2 (2nd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 3 (3rd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 15 (15th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 31 (31st Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 32 (32nd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 34 (34th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 35 (35th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 36 (36th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 57 (57th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 61 (61st Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 63 (63rd Air Brigade)
5. กองทัพอากาศ ภาคกลาง (TCAF Central)
• กองพลน้อยอากาศที่ 19 (19th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 43 (43rd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 44 (44th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 53 (53rd Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 55 (55th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 56 (56th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 70 (70th Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 71 (71st Air Brigade)
• กองพลน้อยอากาศที่ 72 (72nd Air Brigade)
4. กองทัพขีปนาวุธ ปลดปล่อยประชาชนจีน (People's Liberation Army Rocket Force : PLARF)
เป็นเหล่าทัพน้องใหม่ อันดับ 4 ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2015 จนถึงปัจจุบัน ตามนโบบายการทหารของประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ในขณะนั้น กองทัพขีปนาวุธ มีหน้าที่รับผิดชอบ เรื่อง การป้องกันทางยุทธศาสตร์ และ การทำสงครามด้วยขีปนาวุธ รวมทั้งการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์ และ ขีปนาวุธ ต่าง ๆ ที่โจมตีมายังประเทศจีน ถือว่าเป็นเหล่าทัพหนึ่งที่ความสำคัญของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนทางด้านยุทธศาสตร์ ในการคานอำนาจระหว่างประเทศ ตลอดจน ความขัดแย้งในภูมิภาค โดยกองทัพขีปนาวุธ จะมีฐานทัพ และ ขีปนาวุธชนิดต่าง ๆ กระจายอยู่ตามทั่วประเทศจีน ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ตามที่ต่าง ๆ ดังนี้
1. ฐานกองบัญชาการที่ 61 (Base 61 HQ) ที่ เมือง Huangshan มณฑล Anhui
• กองพลน้อยที่ 611 (Brigade 611) เมือง Chizhou มณฑล Anhui ขีปนาวุธ DF-21
• กองพลน้อยที่ 612 (Brigade 612) เมือง Leping มณฑล Jiangxi ขีปนาวุธ DF-21
• กองพลน้อยที่ 613 (Brigade 613) เมือง Shangrao มณฑล Jiangxi ขีปนาวุธ DF-15B
• กองพลน้อยที่ 614 (Brigade 614) เมือง Yong’an มณฑล Fujian ขีปนาวุธ DF-11A
• กองพลน้อยที่ 615 (Brigade 615) เมือง Meizhou มณฑล Guangdong ขีปนาวุธ DF-11A
• กองพลน้อยที่ 616 (Brigade 616) เมือง Gangzhou มณฑล Jiangxi ขีปนาวุธ DF-15
• กองพลน้อยที่ 617 (Brigade 617) เมือง Jinhua มณฑล Zhejiang ขีปนาวุธ DF-16A
2. ฐานกองบัญชาการที่ 62 (Base 62 HQ) ที่ เมือง Kunming มณฑล Yunnan
• กองพลน้อยที่ 621 (Brigade 621) เมือง Yibin มณฑล Sichuan ขีปนาวุธ DF-21
• กองพลน้อยที่ 622 (Brigade 622) เมือง Yuxi มณฑล Yunnan ขีปนาวุธ DF-31A
• กองพลน้อยที่ 623 (Brigade 623) เมือง Luorong มณฑล Guangxi ขีปนาวุธ DF-10A
• กองพลน้อยที่ 624 (Brigade 624) เมือง Danzhou มณฑล Hainan ขีปนาวุธ DF-21D
• กองพลน้อยที่ 625 (Brigade 625) เมือง Jian Shui มณฑล Yunnan ขีปนาวุธ DF-26
• กองพลน้อยที่ 626 (Brigade 626) เมือง Qingyuan มณฑล Shandong ขีปนาวุธ DF-26
• กองพลน้อยที่ 627 (Brigade 627) เมือง Puning มณฑล Guangdong ขีปนาวุธ (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
3. ฐานกองบัญชาการที่ 63 (Base 63 HQ) ที่ เมือง Huaihua มณฑล Hunan
• กองพลน้อยที่ 631 (Brigade 631) เมือง Jinzhou มณฑล Hunan ขีปนาวุธ DF-5B
• กองพลน้อยที่ 632 (Brigade 632) เมือง Shao yang มณฑล Hunan ขีปนาวุธ DF-31AG
• กองพลน้อยที่ 633 (Brigade 633) เมือง Huitong มณฑล Hunan ขีปนาวุธ DF-5A
• กองพลน้อยที่ 634 (Brigade 634) เมือง Tong Dao มณฑล Hunan ขีปนาวุธ (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
• กองพลน้อยที่ 635 (Brigade 635) เมือง Yichun มณฑล Jiangxi ขีปนาวุธ DF-10
• กองพลน้อยที่ 636 (Brigade 636) เมือง Shao guan มณฑล Guangdong ขีปนาวุธ DF-16
4. ฐานกองบัญชาการที่ 64 (Base 64 HQ) ที่ เมือง Lanzhou มณฑล Gansu
• กองพลน้อยที่ 641 (Brigade 641) เมือง Hancheng มณฑล Shanxi ขีปนาวุธ DF-31
• กองพลน้อยที่ 642 (Brigade 642) เมือง Datong มณฑล Qinghai ขีปนาวุธ DF-31A
• กองพลน้อยที่ 643 (Brigade 643) เมือง Tianshui มณฑล Lanzhou ขีปนาวุธ DF-31AG
• กองพลน้อยที่ 644 (Brigade 644) เมือง Hanzhong มณฑล Shaanxi ขีปนาวุธ (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
• กองพลน้อยที่ 645 (Brigade 645) เมือง Yinchuan มณฑล Ningxia ขีปนาวุธ (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
• กองพลน้อยที่ 646 (Brigade 646) เมือง Korla มณฑล Xinjiang ขีปนาวุธ DF-21
• กองพลน้อยที่ 647 (Brigade 647) เมือง Xining มณฑล Qinghai ขีปนาวุธ (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
5. ฐานกองบัญชาการที่ 65 (Base 65 HQ) ที่ เมือง Shenyang มณฑล Liaoning
• กองพลน้อยที่ 651 (Brigade 651) เมือง Dalian มณฑล Liaoning ขีปนาวุธ DF-21
• กองพลน้อยที่ 652 (Brigade 652) เมือง Tong Hua มณฑล Jilin ขีปนาวุธ DF-21
• กองพลน้อยที่ 653 (Brigade 653) เมือง Laiwu มณฑล Shandong ขีปนาวุธ DF-21D
• กองพลน้อยที่ 654 (Brigade 654) เมือง Dalian มณฑล Liaoning ขีปนาวุธ DF-26
• กองพลน้อยที่ 655 (Brigade 655) เมือง Tong Hua มณฑล Jilin (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
• กองพลน้อยที่ 656 (Brigade 656) เมือง Laiwu มณฑล Shandong (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
6. ฐานกองบัญชาการที่ 66 (Base 66 HQ) ที่ เมือง Luoyang มณฑล Henan
• กองพลน้อยที่ 661 (Brigade 661) เมือง Lushi มณฑล Henan ขีปนาวุธ DF-5
• กองพลน้อยที่ 662 (Brigade 662) เมือง Sundian มณฑล Henan (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
• กองพลน้อยที่ 663 (Brigade 663) เมือง Nanyang มณฑล Henan ขีปนาวุธ DF-31A
• กองพลน้อยที่ 664 (Brigade 664) เมือง Luoyang มณฑล Henan ขีปนาวุธ DF-31AG
• กองพลน้อยที่ 665 (Brigade 665) เมือง Xinxiang มณฑล Henan (ไม่สามารถระบุรุ่นได้)
• กองพลน้อยที่ 666 (Brigade 666) เมือง Xinyang มณฑล Henan ขีปนาวุธ DF-26
7. ฐานกองบัญชาการที่ 67 (Base 67 HQ) ที่ เมือง Taibai มณฑล Shaanxi สถานที่เก็บหัวรบนิวเคลียร์ (Nuclear Warhead Storage Facility)
5. กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ ปลดปล่อยประชาชนจีน (People's Liberation Army Strategic Support Force : PLASSF)
เป็นเหล่าทัพน้องใหม่ อันดับ 5 ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ก่อตั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2015 จนถึงปัจจุบัน เช่นเดียวกับ กองทัพขีปนาวุธ ตามนโบบายการทหารของประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ในขณะนั้น จุดประสงค์การก่อตั้ง กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ คือ มีหน้าที่คอยให้การสนับสนุน หน่วยต่าง ๆ หรือ เหล่าทัพอื่น ของกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ในด้าน การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร (Information Support) และ การทำสงครามข่าวสาร (Information Warfare) สนับสนุน ข้อมูลสภาพแวดล้อมของสนามรบ (Battlefield Environment) ข้อมูลข่าสาร (Information) การติดต่อสื่อสาร (Communications) การรักษาข้อมูล (Information Security) และ การทดสอบเทคโนโลยีใหม่ (New Technology Testing) รวมทั้ง การทำสงครามทางไซเบอร์ (Cyber-Space Warfare) การทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic-Warfare) และ สงครามด้านอวกาศ (Space Warfare)
โดยมีการจัดกำลังออกเป็น 2 ส่วน ตามภารกิจ ดังนี้
1. ส่วน Space Systems Department รับผิดชอบทางด้านอวกาศ ประกอบไปด้วย
• ฐานที่ 20 (Base 20) ที่เมือง Jiu Quan
• ฐานที่ 23 (Base 23) ที่เมือง Jiangyin
• ฐานที่ 25 (Base 25) ที่เมือง Taiyuan
• ฐานที่ 26 (Base 26) ที่เมือง Xi’an
• ฐานที่ 27 (Base 27) ที่เมือง Xichang
• ฐานที่ 35 (Base 35) ที่เมือง Wuhan
• ฐานที่ 37 (Poss. Base 37) ที่เมือง Beijing
2. ส่วน Network Systems Department รับผิดชอบสงครามทางด้านไซเบอร์ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ สงครามจิตวิทยา (Psychological Warfare) และ สงครามทางการเมือง (Political Warfare)
 
ฐานที่ 31 (*Notional Base 31) ที่เมือง Nanjing
ฐานที่ 32 (*Notional Base 31) ที่เมือง Guangzhou
ฐานที่ 33 (*Notional Base 31) ที่เมือง Chengdu
ฐานที่ 34 (*Notional Base 31) ที่เมือง Shenyang
ฐานที่ 36 (*Notional Base 31) ที่เมือง Beijing
ฐานที่ 38 (*Notional Base 31) ที่เมือง Kaifeng
*คำว่า “Notional” หมายถึง “การคาดการณ์” เนื่องจากเอกสาร ข้อมูลต้นทางที่กระผมหามา ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนเช่นกัน แต่เป็นข้อมูลล่าสุด และ มีน้ำหนักที่สุดแล้ว ที่กระผมหาได้
อ้างอิงจากเอกสาร กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ ของ Project 2049 Institute
ผลงาน
แม้ว่าประวัติศาสตร์ของ กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน จะไม่ได้มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งกองทัพยาวนาน เหมือนกับ กองทัพสหรัฐฯ กองทัพรัสเซีย และ กองทัพของประเทศอื่น ๆ และ ยังไม่มีประสบการณ์การรบสงครามนอกประเทศมาอย่างโชกโชนเหมือนกับประเทศอื่น ๆ แต่กองทัพจีน ก็ได้สร้างชื่อเสียงและวีรกรรม ต่าง ๆ ให้กับกองทัพตัวเองอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ดังนี้
• ปี 1927 – 1950 : สงครามกลางเมืองจีน (Chinese Civil War)
• ปี 1937 – 1945 : สงครามต่อต้านจักรวรรดิญี่ปุ่น ครั้งที่ 2 (Second Sino-Japanese War) ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
• ปี 1949 : เหตุการณ์ที่ Yangtze (Yangtze incident) ปะทะกับเรือรบราชนาวีอังกฤษระหว่างสงครามกลางเมืองจีน
• ปี 1949 : ผนวกดินแดนซินเจียงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน (Incorporation of Xinjiang into the People's Republic of China)
• ปี 1950 : ผนวกดินแดนทิเบตเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน (Incorporation of Tibet into the People's Republic of China)
• ปี 1950 – 1953 : เข้าร่วมสงครามเกาหลี (Korean War) ต่อต้านกองทัพสหประชาชาติ ในฐานะของ กองกำลังอาสา (Chinese People's Volunteer Army)
• ปี 1954 – 1955 : วิกฤตการณ์ช่องแคบไต้หวัน ครั้งที่ 1 (First Taiwan Strait Crisis)
• ปี 1955 – 1970 : สงครามเวียดนาม (Vietnam War) ให้การสนับสนุนลับ ๆ แก่กองกำลังเวียดนามเหนือ
• ปี 1958 : วิกฤตการณ์ช่องแคบไต้หวัน ครั้งที่ 2 (Second Taiwan Strait Crisis)
• ปี 1962 : สงครามความขัดแย้งตามแนวชายแดน จีน - อินเดีย (Sino-Indian War)
• ปี 1967 : สงครามความขัดแย้งตามแนวชายแดน จีน – อินเดีย ครั้งที่ 2 (Sino-Indian War 1967 / Border skirmishes)
• ปี 1969 : สงครามความขัดแย้งทางชายแดน จีน - โซเวียต (Sino-Soviet border conflict)
• ปี 1974 : สมรภูมิหมู่เกาะ Paracel Islands (Battle of the Paracel Islands) กับ เวียดนามใต้
• ปี 1979 : สงครามสั่งสอน (Sino-Vietnamese War)
• ปี 1979 – 1990 : สงครามความขัดแย้งทางชายแดน จีน - เวียดนาม เป็นเหตุการณ์ต่อจากสงครามสั่งสอน
• ปี 1988 : เหตุการณ์การอ้างสิทธิที่เกาะ Johnson South Reef Skirmish 1 ใน หมู่เกาะ Spratly Islands ปะทะประเทศเวียดนาม
• ปี 1989 : เหตุการณ์การประท้วงที่จัตุรัส Tiananmen (Tiananmen Square protests of 1989)
• ปี 1990 : เหตุการณ์การจลาจลที่ Baren Township (Baren Township riot) ปราบปรามกลุ่มกบฏชาวอุยกูร์
• ปี 1995 – 1996 : วิกฤตการณ์ช่องแคบไต้หวัน ครั้งที่ 3 (Third Taiwan Strait Crisis)
• ปี 1997 : เหตุการณ์การคืนเกาะฮ่องกง (Hong Kong) กองทัพจีนเข้าควบคุมพื้นที่
• ปี 1999 : เหตุการณ์การคืนเกาะมาเก๊า (Macau) กองทัพจีนเข้าควบคุมพื้นที่
• ปี 2007 – ปัจจุบัน : ภารกิจรักษาสันติภาพที่ประเทศเลบานอน (UNIFIL peacekeeping operations in Lebanon)
• ปี 2009 – ปัจจุบัน : ภารปราบปรามกลุ่มโจรสลัดโซมาเลียที่อ่าวเอเดน (Gulf of Aden)
• ปี 2014 : ภารกิจค้นหาและกู้ภัย ตามหา เครื่องบิน Boeing 777-200ER เที่ยวบิน MH-370 ที่สูญหาย
• ปี 2014 : ภารกิจรักษาสันติภาพที่ประเทศมาลี (UN Peacekeeping operations in Mali)
• ปี 2015 : ภารกิจรักษาสันติภาพที่ประเทศซูดานใต้ (UNMISS peacekeeping operations in South Sudan)
• ปี 2016 : จีนสร้างฐานทัพในต่างแดนที่ประเทศจิบูติ (Djibouti)
• ปี 2020 – ปัจจุบัน : การต่อสู้ความขัดแย้งตามแนวชายแดน จีน - อินเดีย รอบใหม่ มีการปะทะกันระหว่างทั้งสองฝ่ายตามพื้นที่แนวชายแดน ที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิ ทำให้มีทหารบาดเจ็บหลายนายจากทั้งสองฝ่าย ทหารอินเดียเสียชีวิต 20 นาย ทหารจีนเสียชีวิต 4 นาย ที่ได้รับการยืนยัน จากแหล่งข่าวที่เปิดเผยข้อมูลออกมา
• ปี 1947 – ปัจจุบัน : ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ (South China Sea dispute) ที่ประเทศจีนอ้างสิทธิในทะเลจีนใต้ ทำให้มีกองเรือรบนานาชาติ และ กองทัพเรือจีน แล่นผ่านบริเวณข้อพิพาทนั้น
• ปี 2016 – ปัจจุบัน :ความตึงเครียดช่องแคบไต้หวัน ได้กลับมาอีกครั้ง หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน ปี 2016 ประธานาธิบดีไต้หวัน นาง ไช่ อิง เหวิน (Tsai Ing-wen) ได้ประกาศจุดยืนที่จะไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ทำให้ประเทศจีนส่งเรือรบ และ เครื่องบิน ผ่านช่องแคบไต้หวัน ค่อยกดดันประเทศไต้หวันอยู่เนือง ๆ
สรุป
แม้ว่ากองทัพจีนจะไม่ได้จะไม่ได้มีประวัติศาสตร์การก่อตั้งกองทัพยาวนาน เหมือนกับประเทศอื่น ๆ แต่ตลอดช่วงเวลา 94ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน ด้วยความทะแยอทะยานของประเทศจีน ที่ต้องการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประเทศมหาอำนาจหนึ่งของโลก จึงผลักดันการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ และ การทหาร ทำให้กองทัพจีนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากนับจากยุคอดีต และ ยังคงผลักดัน พัฒนา ปรับปรุงกองทัพอย่างต่อเนื่อง ให้มีความทันสมัย ทัดเทียมเทียบเท่ากับกองทัพตะวันตก ในอนาคต เราคงอาจได้เห็นการเติบโต และ พัฒนาการของกองทัพจีนมากขึ้น
สุดท้ายนี้ ถ้าข้อมูลตกหล่น หรือ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก...
ข้อมูล กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน กับ กองทัพบก
ข้อมูล กองทัพเรือจีน
ข้อมูล กองทัพอากาศจีน
ข้อมูล กองทัพขีปนาวุธจีน
ข้อมูล กองทัพสนับสนุนทางยุทธศาสตร์
ข้อมูลอื่น ๆ
สามารถอ่านบทความเรื่องนี้ ได้ที่ Facebook
สามารถติดตามเพจ Military Weapons and SPY Tactical GEARS ได้ที่
อย่าลืมไปกดติดตามกันด้วย ด้วยรักจาก แอดมิน (^w^)
โฆษณา