13 ส.ค. 2021 เวลา 15:59 • ปรัชญา
Objectivity or Subjectivity. ในมุมมองทางปรัชญา
อัตวิสัย, จิตวิสัย หรือบางครั้งทับศัพท์ ความเป็นซับเจ็กต์ (อังกฤษ: Subjectivity) หมายถึง"ลักษณะที่ปราศจากความจริงแบบปรวิสัย (objective reality)"
อัตวิสัยมีการให้คำนิยามที่กำกวม และหลากหลายจากแห่งต่าง ๆ อันเป็นผลจากอัตวิสัยเองมักไม่ค่อยถูกมองเป็นประเด็นหลักในวาทกรรมเชิงปรัชญา อย่างไรก็ตาม แนวคิดของอัตวิสัยมีความสัมพันธ์กับการรับรู้, ความเป็นผู้กระทำการ, ความเป็นบุคคล, ความเป็นจริง และ ความจริง
คำนิยาม 3รูปแบบของ"อัตวิสัย"ที่ปรากฏทั่วไปคือ:
1.บางสิ่งที่กลายเป็น ซับเจ็กต์ (subject) หรือในมุมแคบ หมายถึงปัจเจกที่มีประสบการณ์โดยรับรู้ (conscious experiences) เช่น มุมมอง, ความรู้สึก, ความเชื่อ และความปรารถนา
2.บางสิ่งในฐานะ ซับเจ็กต์ หมายความในมุมกว้างถึงสิ่ง (entity) ที่มีภาวะความเป็นผู้กระทำ (agency) ซึ่งหมายถึงว่าสิ่งนั้นกระทำต่อหรือใช้อำนาจเหนืออีกสิ่ง (ซึ่งเป็น อ็อบเจ็กต์)
3.ข้อมูล, แนวคิด, เหตุการณ์ หรือวัตถุทางกายภาพบางประการที่ถือว่าเป็นจริงเฉพาะจากมุมมองของซับเจ็กต์
คำนิยามของอัตวิสัยที่มีอยู่มากมายนั้นมักถูกใช้ร่วมกันหรือแทนกันได้ คำว่า "อัตวิสัย" ปรากฏใช้บ่อยในฐานะ "คำอธิบายสำหรับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อ...", "ให้ข้อมูลแก่..." และสร้างความโน้มเอียงแก่การตัดสินของผู้คนต่อความจริงหรือความเป็นจริง
เป็นกลุ่มของการรับรู้, ประสบการณ์ และความเข้าใจส่วนบุคคลหรือโดยเฉพาะต่อวัฒนธรรมรวมถึงความเชื่อต่อปรากฏการณ์ภายนอก ซึ่งเฉพาะเจาะจงต่อซับเจ็กต์
ปรวิสัย, ปรนัย, วัตถุวิสัย หรือ ภววิสัย (อังกฤษ: objectivity) คือสิ่งที่มีพื้นฐานอยู่บนข้อเท็จจริง เงื่อนไขที่เป็นความจริง โดยไม่ขึ้นอยู่กับจิตใจ นั่นคือผลของการตัดสินใดๆ จะไม่ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นและความรู้สึก
ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นตามปรวิสัย "มักจะถูกค้นพบมากกว่าที่จะถูกสร้างขึ้นมา" ในทางปรัชญา "สิ่งที่เป็นปรวิสัยจะเป็นจริงเสมอไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในเวลาใด หรือกับบุคคลใด" มีความหมายตรงข้ามกับ"อัตวิสัย"
ข้อเท็จจริงที่เป็น"อัตวิสัย" จะเป็น"ปรวิสัย"ก็ต่อเมื่อ สิ่งนั้นเป็นข้อเท็จจริงบนเงื่อนไขเฉพาะอย่าง ในเวลาเฉพาะ ในสถานที่เฉพาะ หรือกับบุคคลเฉพาะเท่านั้น..
 
กล่าวโดยสรุปก็คือ การคิดแบบ "อัตวิสัย" เป็นการคิดที่ยึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง เป็นที่ตั้ง ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
ส่วนการคิดแบบ "ภววิสัย" คือการมองโลกในมุมกว้างบนพื้นฐานของความเป็นจริง
 
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ระหว่าง "อัตวิสัย"กับ"ภววิสัย" มาดูคำตอบของ2คนนี้ เมื่อถูกถามว่า "บ้านอยู่ไกลไหม"
คนที่1 ตอบว่า " ไกลมาก หลับแล้วตื่น ตื่นแล้วหลับหลายรอบกว่าจะถึง"ตอบแบบนี้ถือเป็นการตอบตาม "อัตวิสัย" เพราะตอบตามความรู้สึกที่ตนเองมีที่เห็นว่ามันช่างไกลเหลือเกิน ทั้งที่จริงอาจไม่ไกลเท่าไรก็ได้
คนที่2 ตอบว่า " ไกลมาก อยู่ห่างจากที่ทำงานตั้ง 25 กม. นั่งรถเกือบ 3 ชั่วโมง" ตอบแบบนี้เรียกว่าตอบแบบ "ภววิสัย" ซึ่งคนพูดกับคนฟังจะมีความเข้าใจตรงกัน เพราะได้รับข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงนั่นเอง
โฆษณา