14 ส.ค. 2021 เวลา 03:09 • ประวัติศาสตร์
‘Maritime Trade and Security
ตอนที่ 2 - ‘เส้นทางสายไหมทางทะเล’
ก่อนที่จะมีเส้นทางสายไหมทางบก จีนมีการติดต่อทางทะเลกับเมืองอื่นไกลนานแล้วโดยเส้นทางสายไหมทางทะเล - เริ่มต้นที่เมืองท่าเรือในภาคตะวันออกของจีน เช่น กว่างโจว หนิงปอ หยางโจว เผิ่งหลาย ฯลฯ โครงข่ายเส้นทางสายไหมทางทะเล แบ่งออกเป็น 2 เส้นทาง
เส้นทางทะเลจีนตะวันออก - กว่า 3,000 ปี เริ่มในสมัยราชวงศ์โจว บันทึกทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวถึงในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสตกาล กษัตริย์หวูแห่งราชวงศ์โจวได้ส่ง ข้าราชสำนักจีนชื่อ Ji Zi เดินทางโดยใช้เส้นทางทะเลจีนตะวันออก ออกจากอ่าวปั๋วไห่ของคาบสมุทรซานตงไปยังทะเลเหลือง เดินทางไปยังเกาหลีในปัจจุบัน ซึ่ง Ji Zi ได้เผยแพร่วิธีการเลี้ยงไหมและการปั่นด้ายในเกาหลี
เส้นทางทะเลจีนใต้ - ตามบันทึกประวัติศาสตร์พบว่า จีนมีการติดต่อทางการค้ากับคาบสมุทรมลายูมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น (206 – 220 ก่อนคริตส์กาล) ผ่านช่องแคบมะละกา จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังอ่าวเบงกอล เชื่อมโยงจีนกับชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งมีเส้นทางแล่นเรือต่อไปยังทะเลแดงในอ่าวเปอร์เซีย และทวีปแอฟริกา
เส้นทางสายไหมทางทะเลมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้าและเศรษฐกิจของจีนโบราณ ดังนั้นสมัยราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง ราชวงศ์หยวน และราชวงศ์หมิงได้วางระบบการจัดการและกฎระเบียบการค้าแก่พ่อค้าชาวต่างประเทศต่าง สร้างรายได้มหาศาลจากการค้าต่างประเทศ รวมถึงแลกเปลี่ยนสินค้ากับดินแดนอันห่างไกล และยังมีการแลกเปลี่ยนและวัฒนธรรมต่าง ๆ สินค้าส่งออกที่สำคัญของจีน ได้แก่ ผ้าไหม เครื่องเคลือบดินเผา ชา น้ำตาล เป็นต้น ส่วนสินค้านำเข้ามีความหลากหลายมากมาย เช่น อัญมณี สมุนไพร เครื่องเทศ งาช้าง เครื่องแก้ว ผ้าฝ้าย เขาสัตว์ เครื่องทองและเครื่องเงิน เป็นต้น
ในช่วงคริสศตวรรษที่ 7 อาณาจักรโรมันเสื่อมอำนาจ จักรวรรดิอิสลามเรืองอำนาจขยายอิทธิพลเข้าสู่สเปนและเอเชียกลาง พ่อค้าอาหรับได้สร้างทักษะการเดินเรือจนเป็นผู้ควบคุมเส้นทางการเดินเรือ โดยเฉพาะเส้นทางการค้าเครื่องเทศ (Spice Route) ซึ่งในสมัยโบราณแหล่งผลิคเครื่องเทศมีเพียง 2 แห่ง เท่านั้น คือ อินเดีย และหมู่เกาะโมลุกกะของอินโดนีเซีย (ถูกเรียกว่า หมู่เกาะเครื่องเทศ) เครื่องเทศถือเป็นของฟุ่มเฟือย และเป็นที่ต้องการของอาณาจักรโรมันในเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปมาก การที่พ่อค้าอาหรับสมารถควบคุมเส้นทางการค้านี้ สามารถทำกำไรมหาศาลได้จากการค้าเครื่องเทศ และสร้างความมั่งคั่งเป็นอย่างมาก
คริสตวรรษที่ 16 โปรตุเกสกลายเป็นมหาอำนาจใหม่ในการค้าทางทะเล โปรตุเกสรับมรดกการเดินเรือทะเล สั่งสมความรู้และประสบการณ์อาหรับ นักเดินเรือในเมืองท่าของอิตาลีและสเปนได้พัฒนาเทคโนโลยีการเดินเรือให้ก้าวหน้ามาก เช่น สร้างเรือเดินสมุทรที่เพรียวขึ้น ทำให้คล่องตัวกว่าเรือที่ใช้อยู่ในขณะนั้น ยุโรปสามารถคำนวณเส้นรุ้งได้แม่นยำแล้ว โปรตุเกสสร้างเครื่องมือที่ทำให้นักเดินเรือรู้ตำแหน่งของตนในเส้นรุ้งได้ และเครื่องมือนั้นยังสามารถประเมินเส้นแวงได้อย่างคร่าวๆ นักเดินเรือโปรตุเกสเป็นหนึ่งในบรรดานักเดินเรือของยุโรปที่สามารถรู้แผนที่ฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกาได้ดีขึ้น
จนในที่สุดนักเดินเรือโปรตุเกสจึงสามารถนำเรือผ่านปลายสุดของทวีปเพื่อเดินทางมาเอเชียได้ โปรตุเกสใช้วิธีทำสงครามเพื่อยึดครองหมู่เกาะเครื่องเทศและผูกขาดการค้าเครื่องเทศ11 นอกจากนี้ยังมีอังกฤษ และฮอลันดาที่เดินเรือเข้ามาตามเส้นทางสายไหม มหาอำนาจทั้ง 3 ประเทศ ล้วนแสวงหาผลประโยชน์จากการผูกขาดการค้า จึงเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำการค้าในเส้นทางสายไหมซบเซาลง
จบจะภาคประวัติศาสตร์ ณ ตรงนี้ครับ ตอนหน้าจะกลับสู่โลกปัจจุบันครับ
โฆษณา