14 ส.ค. 2021 เวลา 09:42 • ความคิดเห็น
14 เคล็ดลับสำหรับการเป็นนักอ่านที่ดีขึ้น
2
ผมเองเป็นคนที่อ่านหนังสือเยอะประมาณหนึ่ง โดยเฉพาะหนังสือแนว non-fiction สมัยช่วงที่ยังไม่มีครอบครัวผมอ่านหนังสือเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 เล่ม เวลามีงานสัปดาห์หนังสือทีไรก็หมดตังค์หลายพันทุกครั้ง
3
วันนี้เลยอยากจะมาแชร์เคล็ดลับที่เรียนรู้มา เผื่อว่ามันจะช่วยให้เราเป็นนักอ่านที่ดีขึ้นได้ โดยเคล็ดลับส่วนใหญ่นั้นเหมาะกับหนังสือที่ไม่ได้เป็นนิยายนะครับ
1
1. หา "Aha" moment ก่อนตัดสินใจซื้อ
เวลาผมไปเดินร้านหนังสือ ผมจะพลิกอ่านหนังสือ และใช้เวลาอย่างน้อย 5 นาทีไปกับมัน ถ้าอ่านแล้วไม่เจอ "Aha" moment ซึ่งคือความรู้สึกแบบ "โห ไม่เคยรู้มาก่อนเลย" หรือ "เฮ่ย เจ๋งดีว่ะ" ผมก็จะวางหนังสือเล่มนั้นลง ต่อให้มันเป็นเล่มที่ติด bestseller ก็ตาม
7
2. อย่าอ่านรีวิวใน Amazon
ถ้าเจอหนังสือที่ต้องตาแต่ยังไม่แน่ใจ ผมจะเข้าไปอ่านรีวิวใน Goodreads ก่อน ผมไม่อ่านรีวิวใน Amazaon เพราะส่วนใหญ่มันลำเอียงมาทางบวกมากเกินไป (เพราะเขาอยากขายหนังสือไง!)
5
รีวิวที่เป็นกลางกว่าคือของ Goodreads ซึ่งแม้จะโดน Amazon ซื้อไปแล้วแต่ก็ยังได้มุมมองที่ครบถ้วน แนะนำให้ลองอ่านรีวิว 5 ดาวและรีวิว 1 ดาวเพื่อจะได้รู้ว่าจุดแข็งและจุดอ่อนของหนังสือเล่มนี้คืออะไร
9
วิธีดูของผมคือถ้ามีอย่างน้อย 500 รีวิวและได้คะแนนเฉลี่ยเกิน 4 ดาว ก็ถือว่าหนังสือเล่มนั้นน่าจะใช้ได้ ถ้าเกิน 4.2 ดาวถือว่าคะแนนดีมาก (Why We Sleep / Sapiens / Atomic Habits) ถ้าไม่ถึง 4 ดาวให้ระวังนิดนึง และถ้าต่ำกว่า 3.8 ดาวก็ไม่ควรซื้อ (เช่นหนังสือ Do Less Get More)
7
3. ได้หนังสือมาแล้วให้เปิดอ่านวันนั้นเลย
เคล็ดลับนี้ได้มาจากรุ่นน้องในบริษัทคนหนึ่งที่เคยเขียนเล่าลงบล็อกของเธอเอาไว้ ซึ่งมันช่วยตอบ pain point ของคนที่บ้าหนังสือได้เป็นอย่างดี
8
เวลาเราซื้อหนังสือ เรามักจะซื้อมาทีละหลายๆ เล่ม และเราก็มักจะไม่ได้อ่านในทันทีเพราะเรากำลังอ่านเล่มอื่นอยู่ สิ่งที่มักจะเกิดขึ้นก็คือเราจะเก็บหนังสือขึ้นชั้น พอนานวันเข้าหนังสือก็เก่าลงเรื่อยๆ และเราก็ลืมถึงการมีตัวตนของมันไป พอได้เจอหน้ากันอีกทีเราก็ไม่ได้รู้สึกอยากอ่านมันอีกต่อไปแล้ว
5
ดังนั้น เราควรตีเหล็กตอนที่ยังร้อน ได้หนังสือมาแล้วควรจะเปิดอ่านวันนั้นเลย
3
4. อ่านบทสุดท้ายก่อน
เคล็ดลับนี้ได้มาจากหนังสือ How to read a book ที่แนะนำให้อ่านปกหน้า ปกหลัง ปกใน สารบัญ และบทสรุป เพื่อที่เราจะได้มีภาพคร่าวๆ ว่าหนังสือเล่มนี้พยายามจะบอกอะไรเรา ไม่ต้องกลัวว่ามันจะเป็นการสปอยล์ เพราะนี่ไม่ใช่นิยาย เราจึงไม่จำเป็นต้องเก็บ "ทีเด็ด" เอาไว้อ่านหลังสุด
18
5. อ่านหนังสือคราวละหลายๆ เล่ม
แต่ก่อนผมจะพยายามจำกัดให้อ่านหนังสือไม่เกินคราวละ 2 เล่ม แต่สิ่งที่พบก็คือเวลาหนังสือเข้าสู่ช่วงตอนที่น่าเบื่อหรือยากที่จะเข้าใจ (ซึ่งแทบทุกเล่มมักจะมี โดยเฉพาะตรงกลาง) ผมก็จะเริ่มหลีกเลี่ยงหนังสือแล้วไปเล่นมือถือแทน
2
ดังนั้น การอ่านพร้อมกันทีละ 4-5 เล่ม จะช่วยเปิดโอกาสให้เราได้อ่านหนังสือมากขึ้น เพราะพอเจอตอนที่น่าเบื่อในสองเล่ม ก็ยังมีอีกสามเล่มที่เรายังอ่านต่อได้อย่างสนุกและไม่ฝืนเกินไป พอช่วงไหนมีแรงค่อยกลับไปอ่านเล่มเดิมๆ ต่อ
2
"The trick is to be bored with a specific book, rather than with the act of reading."
-Nassim Taleb
7
6. อ่านจบแล้วจำเนื้อหาไม่ได้ก็ไม่ต้องกังวล
1
“I cannot remember the books I have read any more than the meals I have eaten; even so, they have made me.”
— Ralph Waldo Emerson
16
เราจำไม่ได้หรอกว่าเรากินอะไรไปบ้าง แต่มันก็กลายเป็นเลือดเนื้อของเรา
8
เราจำไม่ได้หรอกว่าเราอ่านอะไรไปบ้าง แต่บางถ้อยคำ มุมมอง และวิธีคิดก็ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของตัวเราไปโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน
13
7. อ่านจบหนึ่งบทแล้วเขียนสรุป
แต่ถ้าใครอยากจะให้แน่ใจว่าเราจำเนื้อหาได้มากขึ้น ก็ลองเขียนสรุปเนื้อหาเมื่ออ่านจบแต่ละบทดู ไม่จำเป็นต้องสรุปทุกเรื่องที่ผ่านตา เอาแค่เรื่องที่สำคัญๆ ที่เรารู้สึกว่าเป็นประโยชน์และน่าจดจำก็พอ
9
8. อ่านหนังสือเป็นอย่างแรกๆ ของวัน
ของที่สำคัญให้หยิบขึ้นมาทำก่อน ไม่อย่างนั้นเราจะไม่มีโอกาสได้ทำเลย การอ่านหนังสือก็เป็นหนึ่งในนั้น ตอนเช้าพอเดินจากห้องนอนมา ผมจะอ่านหนังสือเป็นอย่างแรก เพราะถ้าปล่อยให้จับคอมหรือจับมือถือก่อนก็รับรองเลยว่าจะไม่ได้อ่าน
4
9. วางหนังสือไว้ทั่วบ้าน
ผมจะมีหนังสือวางไว้สามจุด คือตรงโซฟาในห้องทำงาน ในห้องน้ำ และแถวๆ ห้องนั่งเล่น ซึ่งมีประโยชน์มากในวันหยุด พอว่างๆ แล้วกวาดสายตาไปเห็นหนังสือก็จะหยิบมันขึ้นมาอ่านโดยอัตโนมัติ
7
10. ไม่ต้องสนใจเรื่อง speed reading
ผมเคยฝึก speed reading อยู่พักหนึ่งเหมือนกัน แต่สุดท้ายก็ล้มเลิกไป จริงๆ แล้วหนังสือที่ดีควรจะอ่านช้าๆ ส่วนหนังสือที่ไม่ค่อยมีเนื้อหาก็อ่านผ่านๆ ก็พอ ถ้าหนังสือมันดีและเหมาะสมกับเรา เราก็จะอ่านได้เยอะโดยไม่ต้องพยายาม
6
11.อย่าสมัคร App สรุปหนังสือ
ผมเคยสมัคร app สรุปหนังสือมาหลายตัวมาก ไม่ว่าจะเป็น Blinkist, 12Min หรือ Headway แอปทั้งสามตัวนี้ราคาตกปีละเกือบ 3,000 บาท แต่ผมฟังแล้วไม่ค่อยเกิด "Aha" moment เท่าไหร่
5
เหตุผลหนึ่งคงเป็นเพราะคนที่ทำหน้าที่สรุปหนังสือน่าจะอายุไม่ได้เยอะนัก ถ้าผมเป็นเจ้าของแอปเหล่านี้และมีหนังสือเป็นพันเล่มที่ต้องสรุป ผมก็คงจะจ้างเด็กมหาวิทยาลัยหรือเด็กจบใหม่เป็นจ๊อบๆ ในราคาไม่แพง ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ได้มีความเก๋ามากพอที่จะถ่ายทอดเนื้อหาออกมาได้อย่างที่ควรจะเป็น การฟังหรืออ่านสรุปจากแอปเหล่านี้จึงไม่ค่อยได้อะไรเท่าไหร่
1
สุดท้ายผมควักตังค์สมัคร getAbstract ซึ่งราคาปีละเกือบหมื่นบาท เพราะเห็นบริษัทเก่าที่เป็นองค์กรข้ามชาติเคยซื้อ และแม้เนื้อหาจะมีความเข้มข้นมากขึ้น แต่วิธีการสรุปก็ดูน่าเบื่อหรือวิชาการเกินไปอีก คิดว่าปลายปีนี้คงจะไม่ต่ออายุ
3
12.ตามไปฟังนักเขียนที่ชอบใน podcast และ Youtube
ถ้าชอบนักเขียนคนไหน แนะนำให้ตามไปฟังเขาพูดในที่ต่างๆ ทั้งในพอดแคสต์และยูทูบ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจตัวตนของเขามากขึ้น และเข้าใจสารที่เขาต้องการจะสื่อได้ลึกซึ้งขึ้นเช่นกัน
5
แทนที่จะเอาเงินไปสมัครแอปสรุปหนังสือ ผมแนะนำให้สมัคร Youtube Premium เพื่อจะได้ดาวน์โหลดบทสัมภาษณ์ของนักเขียนคนโปรดไว้ฟังที่ไหนก็ได้
3
13. อย่าไปเห่อหนังสือใหม่
Nassim Taleb ผู้เขียน The Black Swan บอกว่า เราควรจะอ่านหนังสือที่มีอายุ 10 ปีเป็นอย่างน้อย เพราะถ้าผ่านไป 10 ปีแล้วยังมีคนพูดถึงหนังสือเล่มนี้อยู่ แสดงว่ามันเป็นหนังสือที่ใช้ได้
12
เวลาคือตัวกรองที่ดีที่สุด ถ้าหนังสือที่เก่าแก่เป็นร้อยเป็นพันปีแล้วยังอยู่ยงคงกระพัน แสดงว่ามันได้รับการพิสูจน์จากกาลเวลามาแล้ว ดังนั้นเราควรให้เวลากับการอ่านหนังสือเก่าๆ เหล่านี้ให้มากกว่าการอ่านหนังสือใหม่ที่กำลังอินเทรนด์
7
14. ไม่ต้องอ่านหนังสือให้จบ
Life is too short to finish a bad book เราไม่ได้มีเวลามากพอที่จะทนอ่านหนังสือแย่ๆ จนจบเล่ม ถ้าเล่มไหนเราอ่านไปได้สักพักแล้วรู้สึกว่าไม่ค่อยได้อะไร ก็อย่ารู้สึกผิดที่จะทิ้งมันไว้อย่างนั้น อย่าไปเสียดายตังค์ แต่ให้เสียดายเวลาชีวิตและพื้นที่สมองครับ
19
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก Farnam Street: How to Remember What You Read
1
โฆษณา