Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
SASINOEY
•
ติดตาม
14 ส.ค. 2021 เวลา 14:00 • ไลฟ์สไตล์
เราจะหยุดอาการคิดมากได้อย่างไร ?
https://unsplash.com/
เคยไหมคะ ที่ในแต่ละคืนมีเรื่องอะไรต่างๆ มากมายวนเวียนอยู่ในหัวของเราตลอดเวลา ...
นั่นก็เป็นเพราะว่าบางครั้งพวกเรามีอาการคิดมากเกินไป แต่บางคนก็จะคิดมากมากกว่าคนอื่นๆ แต่บางคนก็อาจเป็นผลมาจากภาวะบางอย่างของร่างกายหรือจิตใจ เช่น เป็นโรควิตกกังวลอยู่ก่อนแล้ว
นักจิตวิทยา Catherine Pittman ได้กล่าวไว้ว่า
"มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มีอาการคิดมากเกินไปจนควบคุมตัวเองไม่ได้ แต่ผู้คนทั่วๆ ไปก็แค่มีแนวโน้มที่จะคิดมาก"
แล้วมันเกิดอะไรขึ้นในหัวของพวกเราในเวลาที่คิดมากกันนะ ?
การคิดมากไม่ใช่วิธีในการแก้ปัญหา ...
เมื่อมีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น โดยปกติแล้วเราก็ต้องหาทางแก้ไข ซึ่งบางคนมักจะใช้กึ๋นหรือสัญชาตญาณในการแก้ปัญหา ในขณะที่คนอื่นๆ พยายามคิดหาทางออกทุกทางที่พอจะเป็นไปได้ก่อนที่จะตัดสินใจ ซึ่งไม่มีวิธีไหนที่ถูกหรือผิด แต่มันก็พอมีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงอาการคิดมากต่างๆ เหล่านี้อยู่บ้าง
หลายๆ คนมักจะสับสนว่าการคิดมากเป็น 1 ในวิธีการแก้ปัญหา ยิ่งเราจมอยู่กับปัญหามากเท่าไร เราก็จะยิ่งพยายามคิดหาผลลัพธ์ของทางออกในแต่ละวิธีมากขึ้นเท่านั้น
ในความเป็นจริงแล้ว การพยายามมองหาทางออกของปัญหาไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นความคิดมากหรอก แต่เป็นเพราะ reaction จากความไม่แน่นอนที่เราจะต้องเจอในแต่ละทางออกของปัญหามากกว่าที่จะคอยกระตุ้นความคิดมากของเรา
David Carbonell ได้สรุปเอาไว้ในหนังสือ The Worry Trick ว่า
"เพราะพวกเรารู้สึกว่าอนาคตมันไม่ค่อยมั่นคง จึงทำให้เราพยายามคิดหาทางแก้ในหัวอยู่ตลอดเวลา"
เรามาลองดูตัวอย่างสถานการณ์ข้างล่างนี้กันนะคะ
เรากำลังทะเลาะกับหัวหน้าอยู่ เราก็จะเริ่มรู้สึกหงุดหงิดแล้วก็วิตกกังวลไปต่างๆ นานา โดยความคิดของเราก็จะวนลูปว่า ถ้าหัวหน้าไล่เราออกล่ะ? ในขณะที่เรากำลังวางแผนว่าจะซื้อบ้านภายในปีนี้นะ แล้วถ้าเราไม่ได้งานใหม่ล่ะ? แล้วถ้าเกิดว่าการทะเลาะกันครั้งนี้มันเป็นการทำลายอาชีพของเราล่ะ? ความคิดของเราก็จะวนอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ
ปล่อย amygdala ของเราให้อยู่เฉยๆ เถอะ
amygdala เป็นส่วนของสมองที่ตอบสนองต่อการสู้หรือหนี โดยสมองส่วนนี้จะช่วยชีวิตเราจากการที่จะถูกเสือกินหรือถูกรถชน
นักวิทยาศาสตร์ได้มีการกล่าวถึงความคิดมากของเราว่ามีความเชื่อมโยงกับสมองที่เกี่ยวข้องกับความกลัวและความวิตกกังวล ซึ่ง amygdala ก็เป็นสมองที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์โดยตรง
Pittmann ได้กล่าวเอาไว้อีกว่า ยิ่งเราวิตกกังวลกับบางสิ่งบางอย่างมากเท่าไร amygdala ก็จะทำงานหนักมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งมันจะคอยทำหน้าที่ในการตีความเหตุการณ์ต่างๆ ที่เราประสบพบเจอมาให้ดูเหมือนว่ามันดราม่ามากกว่าความเป็นจริงและท้ายที่สุดแล้ว มันก็ยังทำให้เรามีความรู้สึกแบบนั้นจริงๆ
"amygdala ทำให้หัวใจของเราเต้นเร็วขึ้น กล้ามเนื้อตึง และยังทำให้รู้สึกว่าชีวิตของเรามันไม่ง่าย"
ดังนั้นมันเป็นการทำให้เราฝึกสมองของเราให้โฟกัสไปที่ความรู้สึกลบๆ และก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรควิตกกังวลในอนาคตได้อีกด้วย
จงเปลี่ยน soundtrack ในหัวของเราซะ
การคิดมากก็เป็นเหมือนเครื่องดูดฝุ่นที่จะคอยดูดเราเข้าไป
Carbonell ได้กล่าวเอาไว้ว่า
"มันทำให้เราไม่กระตือรือร้น"
"ยิ่งเราคิดมากมากเท่าไร ก็จะทำให้เราทำกิจกรรมต่างๆ น้อยลงเท่านั้น"
Pittman ได้เสนอเอาไว้ว่า การที่เราพยายามที่จะกำจัดความคิดของเราออกไปจากหัว มันกลับกลายเป็นว่าความคิดนี้จะฝังอยู่ในหัวของเรานานขึ้นกว่าเดิม
เพราะฉะนั้นเราสามารถเอาชนะความคิดนี้ได้ด้วยการเอาความคิดใหม่ๆ ใส่เข้าไปในหัวของเราแทน
"ถ้าเราบอกให้คุณเลิกคิดถึงช้างสีชมพู ตอนนี้คุณกำลังนึกถึงอะไรอยู่?
ช้างสีชมพูใช่มั้ยล่ะ นั่นไง ...
หรือจะพูดอีกอย่างว่าการที่เราหันไปคิดถึงเรื่องอื่นแทนนั้น เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของเราและทำให้เราออกมาจากลูปของความคิดมากนั้นนั่นเอง
ในทำนองเดียวกัน การหากิจกรรมอื่นทำก็ช่วยทำให้เราเลิกคิดมากได้ เช่น เล่น crossword พาสุนัขไปเดินเล่น หรืออ่านหนังสือ พูดง่ายๆ ก็คืออย่าทำตัวให้ว่างนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การที่จะหยุดคิดมากได้นั้น ก็ต้องเกิดจากการฝึกฝน การที่เรารู้จักสังเกตความคิดและความรู้สึกของตัวเองบ่อยๆ นั้น จะทำให้เราสามารถจัดการกับการคิดมากของตัวเองได้
แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ ฉันเข้าใจดีว่ามันคงเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่รู้สึกเครียด หรือวิตกกัลวลเกี่ยวกับสถานการณ์ต่างๆ ในโลกนี้ แต่อย่าลืมว่าเราไม่สามารถที่จะจัดการกับอาการคิดมากได้ภายใน 1-2 วันหรอก แต่ขอให้เราฝึกทำบ่อยๆ จะเป็นการฝึกจิตใจให้สงบตอนที่เรารู้สึกเครียด และไม่ทำให้เรามีอารมณ์รุนแรงเกินไป
เราขอเป็นอีก 1 กำลังใจให้ทุกคนนะคะ 🥰
แหล่งที่มา:
https://www.kevin-ags.com/how-to-stop-overthinking/
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย