14 ส.ค. 2021 เวลา 13:48 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
บทที่1เซลล์ของสิ่งมีชีวิต ตอนที่1 กล้องจุลทรรศน์ คืออะไร มีอะไรบ้าง
ภาพจาก : https://www.sjgadget.com
*กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง (Light Microscope /LM)*
1.กล้องจุลทรรศน์อย่างง่าย (simple light microscope) หรือ “แว่นขยาย”
• ใช้เลนส์นูนเพียงอันเดียวในการขยายภาพ
• ได้ภาพเสมือน 2 มิติ หัวตั้ง เห็นได้ด้วยตาเปล่า มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
• กําลังขยายสูงสุดของกล้องประมาณ 400 เท่า
ภาพจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C
2.กล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน (compound light microscope)
ภาพจาก : https://www.scimath.org/lesson-biology/item/7873-2018-02-27-02-46-18
• มีเลนส์ขยายภาพ 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุ + เลนส์ใกล้ตา
• “เลนส์ใกล้วัตถุ” ขยายภาพวัตถุครั้งแรกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
• “เลนส์ใกล้ตา” ขยายภาพครั้งที่สอง
• ได้ภาพเสมือนหัวกลับ 2 มิติ กลับซ้ายขวา ใหญ่กว่าวัตถุ
• กําลังขยายสูงสุดของกล้องประมาณ 1,000 เท่า
1)กําลังขยายของกล้องจุลทรรศน์ : คํานวณได้จาก
mรวม = mใกล้ตา X mใกล้วัตถุ
mรวม = กําลังขยายรวมของกล้องจุลทรรศน์
mใกล้ตา = กําลังขยายของเลนส์ใกล้ตา
mใกล้วัตถ = กําลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ
2) ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์
• เลนส์ใกล้ตา (Ocular lens/eyepiece) : เป็นแบบถอดเปลี่ยนกําลังขยายได้ (10X, 15X, 25X)
• เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) : เป็นชุดเลนส์ที่มีหลายกําลังขยาย (4X, 10X, 40x, 100X) ควรเริ่มใช้ที่ กําลังขยายต่ําสุดก่อน แล้วหมุนเพิ่มกําลังขยายจนได้ภาพที่ต้องการการ
เพิ่มเติม หัวเลนส์กําลังขยาย 100X ต้องหยดน้ํามันเข้าไปแทนที่อากาศช่วยหักเหแสงให้เข้าสู่เลนส์ได้
• แท่นวางสไลด์ (Stage) : สําหรับวางแผ่นสไลด์ของวัตถุที่ต้องการขยายภาพ
• ไดอะแฟรม (diaphragm) : ปรับค่าความเข้มแสงที่ส่องมาที่สไลด์ ภาพกําลังขยายสูงยิ่งต้องการแสงมาก
• ปุ่มปรับภาพหยาบ (Course adjustment knob) : ใช้เลื่อนตําแหน่งแท่นวางวัตถุเพื่อหาระยะภาพ
• ปุ่มปรับภาพละเอียด (fine adjustment knob) : ใช้ปรับความคมชัดภาพหลังจากหาระยะภาพได้แล้ว
• เลนส์รวมแสง (Condenser lens) : ไม่มีส่วนช่วยขยายภาพ ใช้รวมแสงจากแหล่งกําเนิดแสงให้ไปตกที่วัตถุ
3) การทํางานของกล้องจุลทรรศน์
• เลนส์ใกล้วัตถุ » f สั้นมาก
รับแสงมาจากวัตถุเมื่อหักเหแล้วเกิดภาพจริง หัวกลับ ขนาดใหญ่ขึ้น
• เลนส์ใกล้ตา » f สั้น
ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุ อีกครั้งหนึ่ง ได้ภาพเสมือน หัวกลับ มีขนาดใหญ่ขึ้นอีก
ภาพจาก : http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_1_441.pdf
3.กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ (stereoscopic microscope)
• ลักษณะคล้ายกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อนแต่กําลังขยายต่ํากว่า
• ใช้ส่องดูได้ทั้งวัตถุทึบแสงและวัตถุโปร่งแสง
• ไม่ต้องเตรียมสไลด์เหมือนกับกล้องจุลทรรศน์เชิงซ้อน
• ใช้ส่องดูพื้นผิวของวัตถุให้เห็นรายละเอียดชัดเจนขึ้น
• ได้ภาพเสมือนหัวตั้ง 3 มิติ มีความชัดลึกมาก
• กําลังขยายสูงสุดของกล้องประมาณ 300 เท่า
ภาพจาก : http://xn--12cm6b0ch5atdb3e0g2a6f.blogspot.com/2014/04/stereo-microscopes.html
*กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (Electron Microscope / EM)*
ต้องย้อมวัตถุด้วยสารประกอบโลหะ แล้วใช้ลําอิเล็กตรอนแทนแสงในการสร้างภาพของวัตถุ บริเวณที่เป็นเนื้อสารจะ ติดโลหะที่ย้อม ลําอิเล็กตรอนจึงผ่านไปไม่ได้ แล้วใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าขยายคลื่นสัญญาณของลําอิเล็กตรอน จาก นั้นจึงนํามาแปลงเป็นภาพ ได้กําลังขยายสูงถึง 1 ล้านเท่า โดยภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเป็นสัญญาณ ดิจิทัล ไม่ใช่ภาพจริง จึงต้องแสดงบนหน้าจอเท่านั้น
1.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน(transmission electron microscope / TEM)
• อาศัยการส่องลําอิเล็กตรอนทะลุผ่านวัตถุ
• ได้ภาพขาวดํา 2 มิติ เห็นโครงสร้างภายในวัตถุ
• กําลังขยายสูงสุดของกล้อง = 1,000,000 เท่า
• นิยมใช้ศึกษาโครงสร้างภายในของเซลล์
2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด (scanning electron microscope/ SEM)
• อาศัยการส่องลําอิเล็กตรอนสะท้อนผิววัตถุ
• ได้ภาพขาวดํา 3 มิติ เห็นรูปทรงของวัตถุ
• กําลังขยายสูงสุดของกล้อง = 500,000 เท่า
• นิยมใช้ศึกษาโครงสร้างภายนอกเซลล์
*สรุปภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์*
1.กล้องจุลทรรศน์แบบเชิงซ้อน : ได้ภาพจริงหัวกลับ กลับซ้าย-ขวา ขนาดใหญ่กว่าวัตถุ โดยที่
• ถ้ากําลังขยายต่ำ : จะมองเห็นขอบเขตมาก (เห็นจํานวนเซลล์มาก) แต่เห็นรายละเอียดน้อย
• ถ้ากําลังขยายสูง : จะมองเห็นขอบเขตน้อย (เห็นจํานวนเซลล์น้อย) แต่เห็นรายละเอียดมาก
2.กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน : ได้ภาพเป็นดิจิทัล ดูภาพด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นภาพขาวดํา โดยที่ถ้าเป็นกล้องTEM จะมองเห็นโครงสร้างภายใน แต่ถ้าเป็นกล้อง SEM จะเห็นโครงสร้างภายนอก
โฆษณา