Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
15 ส.ค. 2021 เวลา 01:27 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
แสงสามารถชนกันได้หรือไม่ ?
หากเราลองเอาไฟฉายสองอัน มาเปิดให้แสงพุ่งชนกันจะพบว่าแสงทั้งสองลำทะลุผ่านกันไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้น
เนื่องจากแสงมีคุณสมบัติของคลื่น ดังนั้นเมื่อคลื่นสองขบวนเคลื่อนที่มาชนกันย่อมเกิดการแทรกสอดแล้วเคลื่อนทะลุผ่านกันไป ไม่ต่างอะไรจากคลื่นน้ำสองขบวนที่วิ่งมาชนกันแล้วผ่านกันไป แน่นอนว่าถ้าคนสองคนตะโกนใส่กัน คลื่นเสียงย่อมทะลุผ่านกันแล้วเข้าหูของกันและกันได้ ไม่ได้พุ่งมาชนกันแล้วสะท้อนกระเด็นกระดอนไป
1
หลายคนคงเคยสงสัยว่า แสงชนกันได้หรือไม่?
ถ้าเรามองว่าแสงเป็นส่วนหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แล้วตั้งถามใหม่ว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนกันได้หรือไม่ คำตอบคือเป็นไปได้ เมื่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอยู่ในเงื่อนไขที่เหมาะสม
1
เงื่อนไขที่ว่าคือ เมื่อคลื่นแม่เหล็กและไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงเกินกว่าค่าหนึ่ง เมื่อพุ่งมาชนกันจะสามารถทำให้เกิดการสร้างคู่อิเล็กตรอน-โพสิตรอน(ตามสมการ E=mc^2) แล้วอนุภาคทั้งสองจะชนกันแล้วสลายตัวกลับมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว โดยเราอาจมองได้ว่ากระบวนการทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นการชนกัน(interact)ของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
1
ความรู้ดังกล่าว นอกจากจะมีประโยชน์ด้านฟิสิกส์เชิงทฤษฎีแล้ว ยังมีประโยชน์เชิงการศึกษาดาราศาสตร์พลังงานสูง ซึ่งรังสีแกมมาจากวัตถุท้องฟ้ามีพลังงานสูงจนอาจจะเกิดการชนอย่างที่กล่าวมาได้
1
อ่านเพิ่มเติมได้จากการค้นหา
- Schwinger limit
- Two-photon physics
- Delbrück scattering
1
8 บันทึก
25
2
4
8
25
2
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย