15 ส.ค. 2021 เวลา 13:00 • การศึกษา
แบ่งปันเทคนิค "เรียนภาษา" แบบให้พูดได้ภายใน 1 เดือน!
ถ้าเรารู้ภาษาเกาหลี เราจะได้ดูซีรีส์แบบไม่ต้องเปิดซับไตเติล
ถ้าเรารู้ภาษาญี่ปุ่น เราจะได้อ่านมังงะเล่มใหม่ก่อนใคร โดยไม่ต้องรอฉบับแปล
ถ้าเรารู้ภาษาสเปน เราจะได้เข้าใจว่านักเตะคนโปรดพูดว่าอะไรในการสัมภาษณ์
.
ยังมีข้อดีมากมายที่ทำให้คนสนใจเรียนภาษาที่ 2 (หรือ 3, 4, 5)
.
ภาษาให้เรามากกว่าการสื่อสาร เราสามารถเรียนรู้วัฒนธรรม แนวคิด ผู้คนและวิถีชีวิตของประเทศนั้นผ่านภาษาได้ด้วย ภาษายังช่วยให้เราข้ามพรมแดนทางความคิดและอาจจะได้ข้ามพรมแดนประเทศจริงๆ เลยก็ได้หากโรคระบาดหมดไป เพราะเราคงมีโอกาสได้ไปเที่ยวแบบไม่ต้องพึ่งไกด์หรือแอปฯ แปลภาษา
.
การพูดภาษาอื่นได้ฟังดูเท่และน่าตื่นเต้น แต่การเรียนภาษานั้นไม่ง่ายเลย!
.
7
ผู้เขียนเองก็เป็นหนึ่งคนที่สนใจภาษาที่ 3 มาตั้งแต่เด็ก แต่ปัญหาที่พบเป็นประจำคือพอจบคอร์สก็ลืม แถมยังพูดไม่ได้สักที จนกระทั่งเมื่อสองปีก่อนได้พบกับวิดีโอที่ชื่อว่า ‘I Learn Italian in 7 Days’ โดย Nathaniel Drew บน Youtube
.
แม้ตอนแรกจะคิดในใจว่า ‘Clickbait หรือเปล่าเนี่ย แค่ 7 วันใครจะไปพูดได้’ แต่ด้วยความสงสัยจึงลองเปิดใจฟัง
.
และวิดีโอนั้นเองก็เป็นจุดเปลี่ยนในการเรียนภาษาของเราไปตลอดกาล
.
.
5
Step 0 : ตามหาแรงบันดาลใจ
ในการเรียนภาษาด้วยตัวเอง เราต้องเริ่มโดยการตามหา Passion และประโยชน์ของมันเสียก่อน ไม่เช่นนั้นเราจะถอดใจเอาง่ายๆ เพราะการเรียนด้วยตัวเองแตกต่างกับการถูกบังคับให้เรียนอย่างมาก
.
‘อยากไปเที่ยวรอบโลก’ ‘ชอบดูซีรีส์เกาหลี’ หรือ ‘ชอบฟังเพลงสเปน’ ไม่ว่าเป้าหมายของการเรียนภาษาของเราคืออะไร จดทุกอย่างลงไปในหน้าแรกของสมุดที่เราใช้เรียน
.
เป้าหมายที่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรนี้เองจะย้ำเตือนและเติมไฟให้เราในวันที่ท้อใจ
.
11
Step 1 : รวบรวมชิ้นส่วน
กฎ 80/20 ทำน้อยแต่ได้มากของพาเรโต สามารถนำมาปรับใช้กับหลายๆ อย่างได้ ไม่เว้นแม้แต่การเรียนภาษา
.
ในการเรียนภาษา การรู้คำศัพท์เป็นเรื่องสำคัญ แต่จะรู้ ‘ส่วนไหน’ นั้นสำคัญกว่า
.
ตั้งแต่เล็กจนโต เราท่องศัพท์มากมายในการเรียนภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ชื่อผัก อุปกรณ์ต่างๆ ไปจนถึงข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน รู้หมดเลยเพราะอาจารย์ให้ท่องประจำ แต่พอต้องสนทนากับเจ้าของภาษาจริงๆ เรากลับไปต่อไม่ถูกเสียอย่างนั้น!
.
นั่นเป็นเพราะเราท่องจำคำศัพท์ที่ไม่ได้ใช้ ‘เป็นประจำ’ ในบทสนทนา
.
อย่างในภาษาอังกฤษ มีคำศัพท์มากกว่า 170,000 คำ แต่โดยทั่วไปแล้ว เจ้าของภาษาเองรู้เพียง 15,000-20,000 คำเท่านั้น แล้วเราล่ะ ต้องรู้เป็นหมื่นๆ คำเลยไหมถึงจะสื่อสารกับเขาเข้าใจ?
.
11
คำตอบคือไม่ เพราะเพียงเรารู้ “คำศัพท์ที่ใช้บ่อยที่สุด 1000 คำ” เราก็สามารถเข้าใจ 80% ของภาษาอังกฤษที่พูดกันในชีวิตประจำวันได้แล้ว
.
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าการมีคลังคำศัพท์หลากหลายนั้นไม่ดี ยิ่งรู้เยอะย่อมดีกว่าเสมอ แต่ถ้าหากเป้าหมายของเราคือสื่อสารให้รู้เรื่องในภาษานั้นๆ การเริ่มจากส่วนที่สำคัญ อย่างศัพท์ที่ใช้บ่อย ก็จะช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วกว่า
.
10
Step 2 : ติดกาว ประกอบร่าง สร้างประโยค
การจะสร้างประโยคสักประโยคนั้น ต้องเรียนรู้ Verb (กริยา) และการผันกริยาด้วย แต่ในการสื่อสารให้คนเข้าใจ เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจกฎของแกรมมาร์ทุกอย่าง หรือการผันทุกรูปแบบ แค่เบื้องต้นที่ใช้บ่อยๆ ก็พอแล้ว
.
เรียนภาษาให้เหมือน ‘เด็กเล็ก’ ที่กำลังหัดพูด เริ่มจากคำศัพท์ ตามด้วยประโยคง่ายๆ จะพูดถูกบ้างผิดบ้างก็ไม่เป็นไร อย่าลืมว่ามนุษย์เรานั้นเรียนรู้ได้ดีกว่าจากความผิดพลาด
.
7
Step 3 : เปิดประตูเข้าสู่โลกของภาษานั้น
จากนั้นก็ถึงเวลาของการฝึกฟัง พูด อ่าน และเขียน
.
สิ่งที่สำคัญคือเราต้องฝึกเป็นประจำทุกๆ วันและอย่าละเลยทักษะด้านใดด้านหนึ่ง หากเรากลัวการพูด เลยเอาแต่เขียน ก็คงจะสื่อสารไม่ได้สักที อย่ากลัวความผิดพลาดจนไม่กล้าเริ่มใช้ภาษา จำไว้เสมอว่านี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของเราเท่านั้น
.
แน่นอนว่าการฝึกทักษะต่างๆ ก็มีหลายวิธี วันนี้เราเลยได้รวบรวม ‘เทคนิค’ ที่ตัว Nathaniel Drew ใช้เอง และเทคนิคจากผู้เรียนภาษาคนอื่นๆ ที่ปรับเอาวิธีของเขาไปใช้
.
6
- ดูหนัง ฟังเพลง หรือฟังพอดแคสต์ โดยช่วงแรกไม่ต้องพยายามจับใจความหรือฟังให้เข้าใจ แค่จับ ‘คำศัพท์’ ที่เราเรียนมาให้ได้ก็พอ เพราะจุดประสงค์ของการฟังในช่วงแรกนี้คือการทำความคุ้นชินกับภาษา
- ฟังเป็นประจำ ฟังให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ให้หูของเราได้ยินเสียงของภาษานั้น ราวกับว่าเราได้ ‘ย้ายประเทศ’ ไปอยู่ที่นั่นแล้ว
- ประเภทสื่อที่ดูช่วงแรกๆ อาจเป็น ‘การ์ตูนสำหรับเด็ก’ เพราะเราสามารถเข้าใจเนื้อเรื่องจากบริบท (Context) สีหน้า ท่าทางได้ และอาจจะได้คำศัพท์ใหม่ๆ ที่สอนในเรื่องด้วย
- ทำ Flashcard คำศัพท์ที่ใช้บ่อย 1,000 คำ และทบทวนทุกวัน
- ฝึกเขียนโดยการเขียนไดอารี เล่าชีวิตประจำวันในภาษานั้นๆ ทุกวัน
3
- ดู Vlogs ของเจ้าของภาษาเพื่อจะได้คำศัพท์ที่ใช้จริงและวิธีออกเสียงแบบเจ้าของภาษาจริงๆ
- เล่นเกมทดสอบความจำหรือความเข้าใจ ผ่านแอปฯ และเว็บไซต์ (เช่น Quizlet หรือ Duolingo)
- พูดคุยกับเจ้าของภาษาผ่านเว็บไซต์หรือแอปฯ สำหรับคนที่ต้องการเรียนภาษา (เช่น แอปฯ HelloTalk)
1
- แปะโน้ตคำศัพท์บนสิ่งของรอบๆ ห้อง
3
- ซื้อหนังสือแบบฝึกหัดมาทำบ้างเป็นตัวช่วยเสริม พยายามเลือกเล่มที่เน้นการพูดและการฟัง เพราะถ้าหากเราเรียนรู้ผ่านแกรมมาร์เป็นหลักก็ไม่ต่างจากการเรียนแบบเดิมๆ ในโรงเรียนเลย
1
- ฝึกอ่านนิทานเด็กคลาสสิกที่เรารู้จักดีอยู่แล้ว (อย่างกระต่ายกับเต่า เจ้าหญิงนิทรา หรือราชสีห์กับหนู) ในภาษาที่เราเรียน
.
ยังมีอีกหลายวิธีในการผนวกภาษาที่เราเรียนเข้ากับชีวิตประจำวัน แต่วิธีที่ได้ผลสำหรับคนหนึ่ง อาจไม่ได้ผลสำหรับอีกคนก็เป็นได้ ทั้งนี้เราต้องลองเรียนรู้และปรับให้เข้ากับสไตล์การเรียนของเราเอง
.
Nathaniel Drew เจ้าของวิดีโอใช้เวลาเรียนภาษาอิตาเลียนเพียงแค่ 7 วัน ส่วนคนอื่นๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวิดีโอของเขาและนำไปใช้ตามก็ทำสำเร็จได้ ไม่ว่าจะภายใน 2 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน แต่สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันคือ “ความสม่ำเสมอ”
.
พวกเขาฝึก ฝึก และฝึกทุกวัน
.
นอกเหนือจากความสามารถในการสื่อสาร ภาษาให้อะไรกับเรามากมาย ราวกับเป็นประตูที่เปิดไปสู่โลกอีกใบ ถ้าหากเราอยากสัมผัสประสบการณ์เช่นนี้บ้างก็หมั่นฝึกฝนเป็นประจำ และอย่าลืมสนุกไปกับมันด้วยนะ
.
.
เนื้อหาอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- 5 Minutes Podcast | กฎ 80/20 ของพาเรโต >> https://bit.ly/2XdSOaN
- ‘ภาษาพูดเปลี่ยน บุคลิกก็เปลี่ยน’ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น https://bit.ly/3iIOtoB
.
อ้างอิง
.
#missiontothemoon
#missiontothemoonpodcast
#softskill
1
โฆษณา