16 ส.ค. 2021 เวลา 04:08 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
## จะลดเชื้อโควิดให้เหลือ 0 “อาคาร” ก็ต้องเข้าสู่ยุค “นิวนอร์มอล” เหมือนกัน ##
2
ในแต่ละวันคนเราใช้ชีวิตอยู่ในอาคารเป็นเวลานาน การอยู่ในที่ที่มีการหมุนเวียนระบายอากาศที่ไม่ดี ไม่เพียงแต่จะมีผลต่อประสิทธิภาพของสมองทั้งในการเรียนรู้ การทำงาน และการทำกิจกรรมต่างๆของเราเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคที่ลอยและแพร่อยู่ในอากาศ รวมถึงเชื้อโควิดด้วย
4
ในยุค ‘New Normal’ เราต้องไม่ลืมที่จะเคร่งครัดในการดูแลปกป้องตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อต้องอยู่รวมกับผู้คนมากๆ ในสถานที่ปิด นอกจากนี้ เราต้องหันมาให้ความสำคัญกับการจัดการระบบการระบายอากาศในอาคารให้เหมาะสมด้วย
“We are indoor creatures.”
เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในอาคาร เราใช้ชีวิตในอาคารเป็นส่วนใหญ่
2
ศาสตราจารย์ริชาร์ด คอร์ซี (Dr.Richard Corsi) ผู้เชี่ยวชาญด้านคุณภาพอากาศในอาคารแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส กล่าวไว้ว่า คนอเมริกันซึ่งมีอายุขัยเฉลี่ย 79 ปี ใช้ชีวิตอยู่ในอาคารถึง 70 ปีโดยเป็นการอยู่ในบ้านถึง 50 ปี ดังนั้นคุณภาพของอากาศและสภาพแวดล้อมภายในอาคารจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
2
วิธีหนึ่งที่จะเพิ่มความปลอดภัยให้กับทุกลมหายใจเข้าออกก็คือการเพิ่มอัตราการระบายอากาศ
แค่ไหนเรียกว่าดี?
1
เราสามารถดูอัตราการระบายอากาศในอาคารที่เราอยู่โดยสะท้อนจากค่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 level) ในสถานที่นั้นๆ โดยใช้เครื่องวัดซึ่งจะบอกค่าเป็นหน่วยเป็นหนึ่งในล้านส่วน (Part Per Million: ppm) อันเป็นหน่วยวัดที่มักจะใช้กับเรื่องสิ่งแวดล้อม
การวัดค่า CO2 สามารถบ่งบอกถึงสภาพการระบายอากาศได้ก็เพราะคนเราหายใจอยู่ตลอดเวลา และเราปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาในลมหายใจออก หากระบบการหมุนเวียนระบายอากาศในที่นั้นๆ อยู่ในระดับที่ดีอากาศใหม่จะไหลเข้ามาแทนที่ คาร์บอนไดออกไซด์จะไม่สะสมอยู่ตรงนั้นมากเกินไป เชื้อโรคก็เช่นเดียวกัน
1
อากาศในที่กลางแจ้งหรือนอกอาคาร จะมีระดับ CO2 ไม่เกิน 400 ppm
700ppm - เริ่มมีความเสี่ยง
800ppm - มีความเสี่ยง
1,000ppm – ขีดสูงสุดที่รับได้ตามมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานจากสองค์องค์กรระดับโลก คือ Occupational Safety and Health Administration (OSHA) และ The American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers (ASHRAE)
> 1,200ppm – ต้องระบายอากาศทันที เกินกว่านี้ก็แย่แล้ว
2,000ppm – จากผลการวิจัยหลายๆ ชิ้น ค่าระดับนี้ทำให้คนในห้องง่วง เพลีย ปวดหัว ไม่มีสมาธิ และแน่นอนแพร่เชื้อไวรัสได้ดี เราจึงต้องระบายอากาศอย่างเร่งด่วน
2
มากไปหรือน้อยไปก็ไม่ดี
ค่า CO2 ที่มากเกินไปนั้นสะท้อนสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีต่อสุขภาพของเราแน่ๆ แต่ถ้าเราพบว่าภายในอาคารที่เราอยู่มีค่า CO2 น้อยจนผิดปกติก็น่าสงสัยว่าอาคารอาจจะมีรูรั่ว หรือไม่ เราก็ใช้พลังงานมากเกินไปในการจัดการ
ระบบความดันบวก ทางเลือกที่ดีในการจัดการการหมุนเวียนระบายอากาศ
2
ถ้าต้องเจอสถานการณ์ทั้ง PM2.5 และโควิดไปพร้อมๆ กัน ยิ่งต้องอยู่ในอาคารที่มีผู้คนอยู่ร่วมกันเยอะๆ ด้วยแล้ว การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศหรือเปิดหน้าต่างก็ไม่เพียงพอที่จะจัดการให้ CO2 อยู่ในระดับมาตรฐานความปลอดภัย หรืออาจต้องใช้พลังงานมากเกินไป ในกรณีเช่นนี้ “ระบบความดันบวก” (Positive pressure system - PPS) เป็นทางเลือกที่ดี ระบบห้องความดันบวกคือการเอาอากาศจากภายนอกมาผ่านตัวกรองอากาศประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ห้องทั้งห้องมีอากาศบริสุทธิ์ไหลเข้ามาแทนที่อากาศภายในตลอดเวลา
ตอนนี้ระบบแบบนี้ในเมืองไทยก็มีใช้แล้ว เช่นที่โรงเรียนนานาชาติเปรม ติณสูลานนท์ (Prem Tinsulanonda International School) ในเชียงใหม่ ซึ่งให้ความสำคัญกับสุขภาพและความปลอดภัยของนักเรียนจากมลภาวะและโควิด โดยการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและการระบายอากาศในอาคารให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยดีเด่นระดับโลก
5
อย่างไรก็ตาม สำหรับในชุมชนและประชาชนอย่างเราๆ สามารถเริ่มต้นจัดการสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือสถานที่ต่างๆ ที่เราดูแลให้ปลอดภัยและเป็นสุข ทั้งจากโควิดและมลภาวะได้ง่ายๆ ด้วยการเปิดหน้าต่าง ระบายอากาศให้ทั่วถึง เปิดพัดลมให้อากาศถ่ายเท ปรับปรุงระบบการปรับอากาศหรือการกรองอากาศในอาคาร
และที่สำคัญ อย่าลืมสวมหน้ากากคุณภาพระดับ N95 หรือใกล้เคียงที่แนบกระชับหน้าและกรองละอองลอยจากไวรัสได้มากกว่า 95%
1
ส่วนในระดับที่ใหญ่ขึ้นไป ภาครัฐและเอกชนต้องหันมาศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดเพื่อปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ แนวคิดและมาตรการต่างๆ ในการออกแบบอาคาร รวมถึงโรงงานและสถานที่ปิดอื่นๆ ที่มีผู้คนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมากให้มีระบบการระบายอากาศที่ดี สอดคล้องกับการทำกิจกรรมในยุคนิวนอร์มอล โดยมีเป้าหมายที่จะนำสังคมเราไปสู่การลดยอดติดเชื้อโควิดให้เหลือ “0” ได้อย่างยั่งยืน
╔═══════════╗
ZERO COVID THAILAND เพจสำหรับแชร์ข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อช่วยยุติการแพร่กระจายของโควิด-19ในไทย
╚═══════════╝
ติดตามเราได้ที่
2
อ้างอิง
The Frontiersman of HOMEChem: Richard Corsi, Air Quality Engineer Home Performance
5
Portland researcher warns about airborne transmission of COVID-19
How a school in Chiang Mai successfully combats AQI and Covid-19
OSHA/ASHRAE
Occupational Safety and Health Administration
The American Society of Heating, Refrigerating and Air-Conditioning Engineers
3
Ten scientific reasons in support of airborne transmission of SARS-CoV-2 (Greenhalgh et al, 2021) https://www.thelancet.com/journals/lancet/article/PIIS0140-6736(21)00869-2/fulltext ฉบับแปลภาษาไทย https://www.zerocovidthai.org/covid-is-airborne-th
โฆษณา