24 ส.ค. 2021 เวลา 14:56 • การเกษตร
สารคีเลต (Chelate) คืออะไร
คือสารอินทรีย์เคมี ซึ่งสามารถรวมกับธาตุอาหารที่มีประจุบวก เช่น เหล็ก (Fe), สังกะสี (Zn),ทองแดง (Cu), แมงกานีส (Mn) เป็นต้นปฏิกิริยาการรวมนี้เรียกว่า Chelation โดยสารคีเลตจะล้อมธาตุเหล่านั้นไว้ไม่เปิดโอกาสให้ประจุลบจากที่อื่น เข้าทำปฏิกิริยาได้จึงทำให้ธาตุคีเลตนี้ ไม่ตกตะกอน จึงเป็นประโยชน์ต่อพืชได้มากขึ้นคีเลตที่เกิดขื้นส่วนใหญ่ละลายน้ำได้ดี พืชจึงสามารถดูดซึมผ่านรากหรือใบและนำธาตุอาหารรองและธาตุอาหารเสริมเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ได้
สารคีเลต (Chelate) ที่ใช้ทำปุ๋ยจุลธาตุหรือธาตุอาหารเสริม มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1.สารอินทรีย์จากธรรมชาติ เช่น
- กรดฮิวมิก
- กรดฟีโนลิก
- กรดซิตริก
- กรดอะมิโน
2.สารคีเลตสังเคราะห์ ที่สามารถจับกับธาตุเหล็กทองแดง สังกะสี และแมงกานีสได้ เช่น
- Ethylenediamine Tetra Acetic acid (EDTA)
- Ethylenediamine Di-O-Hydroxy-Phenylacetic acid (EDDHA)
- Diethylenetriamine Penta Acetic acid(DTPA)
- Nitrilotriacetic acid (NTA)
- Hydroxyethyl Ethylenediamine Tetra Acetic acid (HEDTA)
การทำคีเลท (Chelate)
คือการใช้สารเคมีที่มีประจุลบ ไปจับกันประจุบวก เช่น แคลเซียม (Ca) , แมกนีเซียม (Mg) , สังกะสี (Zn) หรือ ทองแดง (Cu) เพื่อห่อหุ้มธาตุอาหารพืชไว้เสมือนไม่มีประจุ (เป็นกลาง) ส่งผลให้การดูดซึมธาตุอาหารของพืชดีขึ้น ธาตุอาหารจะไม่ถูกตรึงสะสมไว้
ในส่วนของเทคนิคการทำอะมิโนคีเลทคือการนำกรดอะมิโน (Amino Acid) ซึ่งเป็นสารกลุ่มที่มีประจุลบ (-N-H-H ) ซึ่งจะทำให้ขนาดของโมเลกุลคีเลทเล็กมาก (คือเล็กกว่าการใช้ EDTA คีเลทถึง 3-4 เท่า) จึงดูดซึมและเคลื่อนที่ในพืชได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งยังได้ประโยชน์อื่นๆอีก อาทิการให้พลังงานและพืชยังใช้เป็นอาหารสะสมไว้ใช้ได้ การทำ “Amino Acid คีเลท” จึงมีคุณภาพสูงและมีต้นทุนสูงกว่าการทำคีเลทแบบอื่นๆ
ข้อดีของคีเลต
• ขนาดโมเลกุลที่เล็ก ทำให้พืชสามารถดูดซึมได้ดี
• มีความเสถียรของค่าคงตัวที่ต่ำทำให้แตกตัวได้ง่าย จะยิ่งทำให้พืชทำไปใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้นอีก
• สามารถซึมผ่านปากใบไปยังเซลล์พืชได้ง่ายเนื่องด้วยประจุเป็นกลาง
• มีหลักการเคลื่อนย้ายเหมือนกรดอะมิโนพืชที่สร้างขึ้นเอง ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายตนเองไปยังส่วนต่างๆตามความต้องการของพืชได้รวดเร็ว
แหล่งที่มา:
• อาจารย์ยักษ์ ริช อินเตอร์ เนชั่นแนล
โฆษณา