17 ส.ค. 2021 เวลา 09:19 • ประวัติศาสตร์
ตอลีบานส่วนมากเป็นแขกปาทาน
แล้วแขกปาทานคือใคร❓
2
หากใครพอทราบประวัติเบื้องต้น จะทราบว่า ตอลีบานคือชาวมุสลิมนิกายซุนนี่ที่อยู่ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานกับอีกส่วนหนึ่งในพื้นที่เขตปากีสถาน
ตอลีบาน แปลว่า"นักเรียน"
2
กลุ่มมุสลิมตอลีบานหรือจะเรียกตาลีบันก็ตาม ได้รับการสนับสนุนด้านการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนาที่หนุนหลังโดยซาอุดิอาระเบีย
2
ประชาชนตอลีบานส่วนใหญ่ คือกลุ่มชนชาวปาทาน ที่ถือว่าเป็นชาวปาทานกลุ่มใหญ่ที่สุดในโลก
ส่วนมากอาศัยอยู่ในอัฟกานิสถาน
และบางส่วนอยู่ในปากีสถาน
2
ปาทานคือใคร ?
1
มีอะไรเกี่ยวข้องอะไรกับความเชื่อของตอลีบานรึเปล่า?
1
..
คำว่าปาทาน มาจากภาษาฮินดีที่แปลงมาจากคำเรียกชาวปาทานในภาษาดั้งเดิมว่า ปุชตุน
1
ชาวปาทานหรือชาวปุชตุนคือคำเรียกคนแถบชายแดนอิหร่านที่ใช้ภาษาบุชโต
ชาวปาทานมีมากที่สุดในอัฟกานิสถาน รองลงมาคือปากีสถาน อิหร่านและส่วนหนึ่งหลงเหลืออยู่ในประเทศแถบเอเชียกลางที่เป็นเคยอดีตสหภาพโซเวียต
1
ชาวปาทานเป็นมุสลิมซุนนี่ที่เคร่งครัดในศาสนาและหลักธรรมนูญความประพฤติอันทรงเกียรติที่เรียกว่าวิถีแห่งปาทานหรือ ปุคตุนวาลี
2
ปุคตุนวาลี มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ
คือ
1). การลงโทษผู้ทำความผิดแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน
2). เราต้องมีความอารีต่อผู้มาเยือนไม่ว่าเขาจะยากดีมีจนอย่างไร
3). ผู้มาเยือน ย่อมต้องได้รับการปฏิบัติที่ดีตามคำร้องขอ แม้เขาเป็นศัตรู
3
อาชีพดั้งเดิมของชาวปาทานก็คือทำการเกษตรกรรม การทำไร่ ปลูกข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวบาเลย์ ลูกนัทและแตงโม ฯลฯ
ชาวปาทานเป็นนักจัดการที่เก่ง พวกเขาจึงมักจ้างชนเผ่าอื่นมาเป็นแรงงานในไร่ มากกว่าลงมือทำเอง
2
ในเชิงการรบ ชาวปาทานมีความสามารถในการสู้รบ ทั้งเพื่อปกป้องดินแดนของชนเผ่าตัวเองในอิหร่าน อัฟกานิสถานและปากีสถาน
1
โดยเฉพาะในอัฟกานิสถาน ชาวปาทานเป็นผู้ที่มีบทบาททางการเมืองและการทหารสูงมาก
2
ในช่วงที่อังกฤษเข้ามามีอิทธิพลในเอเชียใต้ การสู้รบในอินเดียก็มีชาวปาทานจำนวนมากเข้าร่วมต่อสู้
โดยมีทั้งชาวปาทานที่อยู่ฝ่ายเดียวกับอังกฤษและอยู่ฝ่ายที่ต่อต้านอังกฤษ
3
ชาวปาทานชอบการเดินทาง การย้ายถิ่นฐานจึงถือเป็นเรื่องปกติ
การเดินทางไปทำงานไกลจากถิ่นกำเนิด เป็นสิ่งชาวปาทานไม่เคยรังเกียจ
3
ดังนั้นจึงมีชาวปาทานกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก มีทั้งที่เป็นนักธุรกิจ พ่อค้า ช่างฝีมือ ข้าราชการและนักการเมือง
2
ในประเทศไทยเอง ก็มีชาวปาทานเดินทางเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
3
ในช่วงที่อังกฤษยังยึดครองอินเดีย
และปากีสถานยังเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของอินเดีย
ชาวปากีสถานเชื้อสายปาทาน ได้ถูกทางการอังกฤษพาเข้ามาทำงานในประเทศไทยราวปี พ ศ.2398
ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สยามได้ตกลงทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ
5
ชาวปาทานในประเทศไทยพำนักอาศัย ทำมาหากินอยู่ในหลากหลายพื้นที่ เช่น กรุงเทพฯ เชียงใหม่ อยุธยา สระบุรี
3
คนไทยจะเรียกชาวปาทานอีกชื่อหนึ่งว่า แขกขาว
2
..
2
ในสายตาคนทั่วโลกที่เสพข่าวจากสื่อตะวันตกเป็นหลัก อาจจะรู้สึกว่าตอลีบานเป็นคนโหดร้าย หัวรุนแรงและดูไร้เหตุผล
6
ในความเป็นจริง น้อยคนนักที่จะรู้ว่า ต้นสายปลายเหตุ รายละเอียดของสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร
หรือแม้แต่ภาพความเป็นจริงจากข่าวที่เราเห็น อาจเป็นกระจกเพียงด้านเดียวของเรื่องราวทั้งหมดหรือเปล่า เราก็ไม่รู้
1
สงครามเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
1
เพราะเมื่อสงครามเริ่มแล้ว มันยากที่จะหยุด
...
References:
สรุปจากบทความ อ.วิริยา น้อยวงศ์
หนังสือสานสัมพันธ์สมาคมไทย ปากีสตาน ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ปี 2552
ติดตามอ่านบทความได้ที่
โฆษณา