18 ส.ค. 2021 เวลา 09:05
" กลียุค " ที่เราเคยเข้าใจ
ความหมายผิดเพี้ยน จากในความเป็นจริง
เพียงเส้นบางๆ (แต่หลายเส้นรวมกัน) ฮ่าๆๆๆ
คือก่อนหน้านี้ ที่เราเองเคยเข้าใจในคำว่า กลียุค
ก็จะประมาณว่า เป็นยุคกาลที่หลากหลายภัยพิบัติทั้งน้อยใหญ่
ไม่ว่าจะเป็นภัยธรรมชาติ และหรือภัยจากน้ำมือมนุษย์
กระหน่ำซัด จัดเต็ม ชนิดที่เรียกว่า
เป็นวิกฤตกาลที่ในอดีต ไม่เคยมี หรือเกิดขึ้นมาก่อน
เป็นเหตุทำให้ผู้คนต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
ซึ่งบ่อยๆ ครั้ง ก็มักจะคุยกับเพื่อนๆ อยู่บ้าง ว่า
ยุคสมัยนี้ อยู่ยากเหลือเกิน ช่างเป็นกลียุคจริงๆ
มีแต่ภัยโน่นภัยนี่มากมายเต็มไปหมด ฯลฯ
แต่ .. จู่ๆ ตะกี้ ก็เกิดความสงสัย ว่าตกลงคำๆ นี้ แปลว่าอะไรกันแน่
หลังจากที่ไปค้นหารากศัพท์กับความหมาย ในหลายๆ เว็ป
ถึงได้รู้ว่า ความหมายจริงๆ ไม่เหมือนกับ
เดิมที่เราเข้าใจคลาดเคลื่อนมาโดยตลอดเลย
ในวิกิพีเดีย ให้ความหมายไว้ว่า
กลียุค (อักษรเทวนาครี: कली युग) คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลา
ของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ของศาสนาฮินดู
โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค และทวาปรยุค
ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค
กลียุคมีอายุ 432,000 ปี
การตีความคัมภีร์ฮินดู ว่าปัจจุบันนี้โลกอยู่ในกลียุคมีคนเชื่อมากที่สุด
.... บลา .. บลา .. บลา ....
เมื่อโลกมาถึงกลียุค เชื่อกันว่าพระศิวะ หรือพระอิศวร
จะทรงเปิดพระเนตรดวงที่อยู่กลางหน้าผากขึ้น
และโลกจะถูกทำลาย เพื่อคืนสมดุลของโลกให้เกิดการสร้างโลกขึ้นใหม่
ส่วนในเว็ปสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ให้ความหมายว่า
กลียุค (อ่านว่า กะ -ลี-ยุก) มาจากคำภาษาสันสกฤตว่า
กลิยุค (อ่านว่า กะ -ลิ-ยุ-คะ)
แปลว่า ยุคซึ่งมีชื่อว่ากลี (อ่านว่า กะ -ลี) ยุคที่โชคร้าย
ยุคที่มีแต่การทะเลาะวิวาท
ในภาษาสันสกฤต คำว่า กลิ (อ่านว่า กะ -ลิ)
ซึ่งกลายมาเป็น กลี ในคำว่า กลียุค
เป็นชื่อยุคที่คนอินเดียโบราณเชื่อว่า
เป็นยุคสุดท้ายก่อนที่โลกและจักรวาลจะถูกทำลายลง
กลียุคเป็นยุคที่ธรรมะตกต่ำ คนชั่วมีจำนวนมากกว่าคนดี
คนดีจึงโชคร้าย เพราะมีความรู้สึกไม่ปลอดภัย
ไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็พบแต่คนชั่ว
ในภาษาไทยคำว่า กลียุค มักใช้เป็นคำเปรียบ
เรียกช่วงเวลาที่บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะไร้ขื่อแป
เช่น ยามที่บ้านเมืองตกอยู่ในกลียุค สุจริตชนก็ต้องอยู่อย่างหวาดผวา
และในเฟซบุ๊คของผู้ใช้ชื่อว่า ภาษาระแน เขียนอธิบายความหมายว่า
กลียุค มักใช้ในความหมายว่า ช่วงเวลาที่โลกมนุษย์ขาดศีลธรรม
มีแต่ความโหดเหี้ยมในจิตใจ รบราฆ่าฟันกันอย่างไม่ปรานี
คำนี้มีที่มาจากความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ว่าโลกนี้มี ๔ ยุค
คือ กฤตยุค เตรตยุค (ภาษาไทยใช้ ไตรดายุค)
ทวาปรยุค และ กลิยุค (ภาษาไทยใช้ กลียุค)
โดยนำมาจากเกมทอดลูกเต๋า ที่มีหน้า ๔ ๓ ๒ ๑ ตามลำดับ
กฤตยุค ผู้คนมีแต่ความดีงามล้วนๆ ชีวิตสุขสบาย
ไตรดายุค ผู้คนเสวยสุขในชีวิต ๓ ส่วน รับทุกข์รับกรรมไป ๑ ส่วน
ทวาปรยุค ผู้คนเสวยสุขและรับกรรมไปอย่างละ ๒ ส่วน เท่าๆ กัน
กลียุค ผู้คนวิปริตเกิดแต่ความเลวร้ายถึง ๓ ส่วน
มีความดีความงามเหลืออยู่เพียง ๑ ส่วน เท่านั้น
ขอบคุณเครดิตภาพจากการค้นหาในกูเกิ้ล https://i.ytimg.com/vi/651D0dy-C5U/sddefault.jpg
สรุป เราเข้าใจผิดมาโดยตลอด
เป็นอย่างที่บอกเลย
ความหมายผิดเพี้ยนจากในความเป็นจริง
เพียงเส้นบางๆ (แต่หลายเส้นรวมกัน)
แย่จังเนอะ ที่ผ่านมา เอาแต่โทษว่า
โลกเปลี่ยนไป ทำให้คนอยู่ยาก
แต่แท้ที่จริงแล้ว
คนต่างหากที่เปลี่ยนไป ทำให้โลกอยู่ยาก
ซึ่งก็เชื่อว่า น่าจะมีหลายๆ คน
ที่อาจจะเข้าใจความหมายคลาดเคลื่อนแบบเรา เช่นกัน
ถ้าบังเอิญแวะเข้ามาเจอและอ่านข้อความนี้แล้ว
อย่าลืมทำความเข้าใจกันใหม่ ให้ถูกต้อง ตรงกันด้วยนะ
เพราะมนุษย์เราต่างหากที่โหดเหี้ยม
ใช่ว่าโลกอยากจะโหดร้ายกับคน
ท้ายสุดนี้ ขอขอบคุณทั้งสามเว็ป (ด้านบน)
ที่เรานำมาหยิบยกเป็นตัวอย่าง
ในเรื่องของความหมายที่ถูกต้อง
และขอขอบคุณภาพประกอบที่นำมาใช้อ้างอิงความเข้าใจด้วยนะครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา