18 ส.ค. 2021 เวลา 12:50 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์
Green book (2018)
เรื่องราวความสัมพันธ์ของนักเปียโนผิวดำ ดีกรีระดับคาร์เนกี้ฮอลล์ ผู้มีความขัดแย้งในตัวตนระหว่างสังคมชั้นสูงของเพลงคลาสสิค และความเป็นคนดำที่ยังมีสถานะ ‘ต่ำ’ ในสังคม (ดำเนินเรื่องในช่วง 60’s ของสหรัฐ)
นักเปียโนผู้นี้ เป็นผู้ว่าจ้าง ‘คนขาว’ เชื้อสายอิตาเลียนที่เกิดและดิ้นรนในย่านคนจนอย่างบล็องซ์มาตลอดชีวิต มาเป็นคนขับรถ ผู้ทำให้การเดินสายแสดงโชว์ทั่วประเทศเป็นไปได้ตลอดรอดฝั่ง
หนังทำได้ดี ฉายภาพโรแมนซ์ของความศิวิไลซ์ของจิตใจคนในแง่มุมต่างๆตามมาตรฐานของความดีงาม แต่…คงรู้สึกดีกว่านี้ หากได้ดูเรื่องนี้ในวันที่ยังไม่ ‘หมดศรัทธา’ กับการเรียกร้องของคนผิวดำอย่างทุกวันนี้
จากกระแสความเกลียดชังชาวเอเชียนในสหรัฐ ด้วยข้อหาเป็น ‘ตัวเชื้อโรค’ จากความคิดชั้นต่ำของคนไร้การศึกษา ที่ถูกกระตุ้นความชั่วให้ปะทุออกมา ด้วยการสั่งสมความเกลียดชังของ ‘ผู้นำชายแก่ผมสีบลอนด์’ ที่เป็นเหมือนศูนย์รวมของความอัปรีย์ทุกชนิด
กระแสความเกลียดชังชาวเอเชียน ดูจะกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้นไปกว่าการทำร้ายอากงอาม่าที่ไม่มีทางสู้ เพราะไม่นานมานี้เอง เด็กหนุ่มนักศึกษาชาวไทย ก็โดนอัดที่หน้าจนจมูกหัก! ในสถานีรถไฟใต้ดินของนิวยอร์ก นั่นแปลว่ามันกำลัง ‘ลุกลาม’ ไม่ต่างกับโรคติดต่อชั่วๆที่ทั่วโลกกำลังรับมือกันอยู่เช่นกัน
สิ่งที่อุบาทว์ย้อนแย้งคือ ผู้กระทำมักเป็น ‘คนดำ’ ที่แน่นอนว่าเป็นกลุ่มคนที่ทราบซึ้งดีถึงการถูกเหยียด และเคยชินกับการต่อสู้เรียกร้องใน ‘ความเป็นคน’ ที่ควรเท่าเทียมกันมาตลอดชีวิตของบรรพบุรุษตน
และมันคงเป็นความเลวทรามของการเรียกร้องสิทธิ์ Black Lives Matter ที่มันไม่ได้ยกระดับจิตใจของคนดำบางคนขึ้นมาได้เลย
เพราะมันไม่ได้แสดงถึงการเรียกร้องเพื่อ ‘จิตสำนึก’ ของความเท่าเทียม แต่มันคือการแหกปากร้องตะโกน ‘เพื่อตัวเอง’ โดยไม่แยแสต่อชนชาติอื่นในขณะเดียวกัน
สุดท้าย… มันคงเป็นได้แค่ ‘สงครามกลวงเปล่า’ ที่แก่งแย่งป่ายปีนกันขึ้นเป็นผู้ชนะของสังคม และคงจบลงเพียงแค่ว่า ในยุคสมัยนั้น ใครจะเป็นผู้แพ้ที่ถูกกดลงให้ต่ำกว่าผู้ชนะ ‘ที่สูงค่ากว่า’ ก็เท่านั้นเอง
story 8 / picture 8 / sound 8
โฆษณา