19 ส.ค. 2021 เวลา 04:19 • การตลาด
Momketing - การตลาดฉบับคุณแม่
กระตุ้นต่อมซื้อมนุษย์แม่ยุคใหม่ ทำได้อย่างไร?
ช่วงเทศกาลวันแม่แบบนี้ หลายๆ คอนเทนท์คงพูดถึงในเรื่องซื้ออะไรให้แม่กันไปเยอะ แล้ว ทาง Uppercuz จึงอยากลองพลิกมุมจากจะซื้ออะไรให้แม่ เป็นทำยังไงให้บรรดาสายแม่ต้องเสียตังซื้อของกันบ้างดีกว่า เพราะทุกวันนี้ในมุมการตลาดนั้น คนรุ่นแม่แบบรุ่นใหม่ๆ ก็เริ่มเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมากับเทคโนโลยี และ Social Media กันหมดแล้ว
ซึ่งถึงจะไม่ได้เป็นวัยที่ว่า ก็เชื่อได้ว่าพวกเขาก็เริ่มเอา Social Media เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน รวมถึงใข้ Internet ในการค้นหาข้อมูลของสินค้า และดูรีวิวจาก Community ของบรรดาแม่ๆ ด้วยกันเองมากขึ้น
ทำให้ตลาดของกลุ่มแม่ๆ นั้นดูท่าจะเป็นตลาดที่ใหญ่อยู่ไม่น้อยในสังคมตอนนี้ ซึ่งจากผลสำรวจที่ผ่านมาก็พบว่ากว่า 56% ของบรรดาคุณแม่ในอเมริกานั้นรู้สึกว่า นักการตลาดยังไม่เข้าใจพวกเธอมากพอ เพราะการตลาดชอบยกภาพให้พวกเธอนั้น แบกรับความรับผิดชอบของความเป็นแม่ที่มากเกินไป
จนบทบาทของแม่ดูเป็นงานที่หนักหนาที่สุดในชีวิต ทั้งๆ ที่จริง แล้วพวกเธอก็แค่อยากหาสินค้าหรือบริการที่จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น และเอาเวลาไปทำอย่างอื่นเพื่อตัวเองบ้าง ไม่ใช่เป็นคุณแม่แสนเพอเฟคที่จะมุ่งทุ่มเทให้กับลูกและครอบครัวจนไม่เหลือเวลาให้ตัวเอง
วันนี้ทาง Uppercuz จึงอยากเราพาผู้อ่านมาดูกันว่า แล้วเราจะทำการตลาดเพื่อกระตุ้นต่อมซื้อมนุษย์แม่ยุคใหม่แบบนี้กันได้อย่างไร?
รู้จักกับคุณแม่ยุค 2021
หากนำบรรดาคุณแม่รุ่นใหม่ๆ ในยุคนี้มาแบ่ง Segment ตาม Generation แล้ว เราจะแบ่งออกมาได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ นั่นก็คือคุณแม่ Gen Y และคุณแม่ Gen Z ซึ่งหลายคนอาจจะเริ่มสงสัยว่ากลุ่ม Gen Z นี่เริ่มเป็นแม่กันแล้วหรอ!?!
คำตอบก็คือใช่แล้ว เพราะกลุ่มคนที่อายุสูงสุดของกลุ่ม Gen Z ก็อยู่ที่อายุประมาณ 24-25 ปีกันแล้วในปัจจุบัน ซึ่งก็เป็นวัยที่หลายๆ คนก็เริ่มสร้างครอบครัวกันแล้ว แม้ว่าในยุคนี้ผู้คนอาจจะเริ่มมีลูกกันช้าลงก็ตาม
สำหรับคุณแม่ Gen Y: นี่คือกลุ่มที่เราเห็นพฤติกรรมกันมาโดยตลอด กับการที่เลือกซื้อ เลือกใช้สินค้า โดยที่เน้นคุณภาพของสินค้ามากกว่าสิ่งอื่นใด และไม่ค่อยเชื่อในแบรนด์ได้มากเท่ากับกลุ่มคนที่อยู่ใน Community คุณแม่เหมือนกัน คุณแม่กลุ่มนี้จะเลือกเชื่อถือในคำพูดของผู้ใช้จริง ที่เอาสินค้ามารีวิวกันมากกว่า
รวมถึงยังใช้ Social Media เพื่อเข้าถึงกลุ่มเหล่านี้อยู่เสมอ อีกทั้งยังชอบที่จะแชร์ประสบการณ์เหล่านี้ออกมาอยู่บ่อยครั้ง ทั้งจากการสร้างเพจ Facebook ของลูกๆ ตัวเอง หรือลงคอนเทนท์เกี่ยวกับลูกๆ ตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้แบรนด์ที่ต้องการจับบรรดาแม่ๆ กลุ่มนี้ ด้วยการสร้าง Community หรือเข้าไปอยู่ในที่เหล่านี้เพื่อหา Insight ที่แท้จริงของบรรดาแม่กลุ่มนี้ได้มากขึ้น
สำหรับคุณแม่ Gen Z: ในทางการตลาดอาจไม่ได้มีข้อมูลสำหรับคุณแม่ Gen นี้มากนัก เพราะว่าเพิ่งจะเข้าวงการแม่กันได้ไม่นาน แต่หากพิจารณาถึงลักษณะของคน Gen Z แล้ว คนกลุ่มนี้จะสนใจในตัวแบรนด์ที่ต้องมีทัศนคติที่ดี ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเรียกร้องอะไรบางอย่างเพื่อสังคมด้วย
แต่ทั้งนี้ในอนาคตสิ่งที่คุณแม่จะคาดหวังมากขึ้น ในตัวแบรนด์ก็น่าจะเป็นเรื่องของ Innovation ที่ช่วยแก้ปัญหา และใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เพราะพวกเธอสามารถปรับตัวได้ตามเทคโนโลยีได้ไวอยู่แล้ว หากมีฟังก์ชั่นใหม่ๆ มาตอบสนองให้ชีวิตมากขึ้นก็ยิ่งดีเลย
คุณแม่กับพลัง Social Media
96% ของคุณแม่ Gen ใหม่นั้น ใช้ Internet ในชีวิตประจำวัน โดยใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 3.5 ชั่วโมงต่อวัน และที่น่าสนใจไปกว่านั้นบรรดาคุณแม่ทั้งหลาย อยู่ในโลก Social Media ที่หลากหลายมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter, Instagram, TikTok หรือแม้กระทั่ง Pinterest
โดยมี Facebook เป็นเครื่องมือยอดฮิตที่สุดในการเข้าไปสู่ Community และใช้ในการหาข่าวข้อมูลข่าวสาร และเผยแพร่ประสบการณ์การเลี้ยงลูกของตัวเอง โดยหลายๆ ครั้งก็ยังใช้เป็นพื้นที่ในการรีวิวสินค้าให้แบรนด์แม้ว่าจะไมไ่ด้อะไรกลับมาด้วย
ดังนั้นใน Social Media เองจึงเป็นพื้นที่ ที่แบรนด์ควรเข้าไปยึด และเข้าถึงบรรดาคุณแม่ให้ได้ อย่างการสื่อสารก็ต้องเข้าใจ ไม่ใช่เหมารวมคุณแม่ทุกคนให้กลายเป็น Supermom และปลูกฝังว่าคือหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่จนต้องมารู้สึกผิดเมื่อทำอะไรนอกลู่นอกทางจากความเป็นแม่แล้วรู้สึกกดดันมายิ่งขึ้นไปอีก
เพราะในความเป็นจริงแล้วคุณแม่ก็มีหลากหลายรูปแบบมากๆ ทั้งแม่แบบที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน แม่ที่เลี้ยงลูกไปด้วยทำงานไปด้วย แม่ที่อายุเยอะแล้ว หรืออะไรก็ตาม ดังนั้นจึงไม่ควร Stereotype ให้ออกมาเป็นรูปแบบเดียวกันหมด ดังนั้นคำถามก็คือแม่ยุคนี้ชอบ Brand แบบไหนกันล่ะ?
 
ความปลอดภัยมาอันดับหนึ่ง
ในส่วนแรกเลยกับคุณแม่ลูกอ่อนแล้ว ย่อมเลือกของที่ดีที่สุด และปลอดภัยที่สุดให้ลูกเสมอ โดยสนใจในสิ่งที่เป็น Organic เป็นส่วนใหญ่ เพื่อไม่ให้เกิดการแพ้ หรือภัยแก่ลูกน้อย การสื่อสารถึงเรื่องนี้ก็จะได้ใจแม่ในกลุ่มนี้อยู่มาก และยิ่งสร้างความเชื่อมั่นได้มากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นประโยชน์ที่ดีต่อแบรนด์มากเท่านั้น
ยิ่งเรียบง่าย ยิ่งได้ใจ
ทุกวันนี้แค่การใช้ชีวิตในแบบแม่ๆ ก็เหนื่อยจะแย่อยู่แล้ว และคงไม่มีเวลาที่จะแบ่งมาทำความเข้าใจกับอะไรยากๆ อีก การออกสินค้าที่ใช้ง่าย ไม่ต้องเรียนรู้เยอะ และแก้ปัญหาได้ดีได้ไว จึงเป็นอีกจุดแข็งอย่างมาก ที่ทางแบรนด์จะต้องสื่อสารออกมาถึง Keyword เหล่านี้พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงความง่ายและใช้ได้จริงควบคู่ไปด้วย
ยั่งยืน และเพื่อสังคม
 
เมื่อคุณแม่ยุคนี้ยิ่งเป็นกลุ่มคนที่ชื่นชอบในคุณค่าของแบรนด์ นอกจากสินค้าที่แบรนด์นำเสนอแล้ว แบรนด์เองยังต้องแสดงออกถึงการตอบแทนบางอย่างกลับสู่สังคมด้วย ไม่ว่าจะเป็นโครงการ CSR หรือการจัด Campaign ต่างๆ รวมไปถึงการแสดงออกถึงจุดยืนร่วมในบางอย่างกับบรรดาแม่ๆ เช่นการเรียกร้อง Benefit จากการลาคลอดหากไม่เหมาะสม เป็นต้น เพื่ออยู่ควบคู่ไปกับสังคมอย่างยั่งยืน และสร้างคุณค่าที่ดีให้กับลูกค้า
แม่ยังคงสถานะผู้ตัดสินใจภายในบ้าน
อย่าคิดว่าสินค้าสำหรับบรรดาคุณแม่จะมีแค่ผลิตภัณฑ์เพื่อลูกๆ เท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นของเครื่องใช้ส่วนตัว เสื้อผ้า ไปจนถึงสิ่งของภายในบ้าน อาทิ อุปกรณ์ทำอาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานบ้าน หรือแม้แต่อุปกรณ์ Technology ต่างๆก็นับเป็นสินค้าสำหรับบรรดาคุณแม่ได้เหมือนกัน
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าคุณแม่จะกลายเป็นผู้มาทำสิ่งเหล่านี้เองทั้งหมด แต่โดยส่วนมากแล้ว คุณแม่มักจะชอบหารีวิวเลือกสรรของเหล่านี้เข้าบ้านได้ดีกว่า จากการทำการบ้านของพวกเธอ ส่งผลให้พวกเธอนั้นมักเป็นผู้ตัดสินใจเวลาเลือกซื้อสิ่งของเข้าบ้านอยู่เสมอ ไม่ว่าจะได้ใช้หรือไม่ก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนจะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีเสมอ
ดังนั้นคนที่แบรนด์ควรจะเข้าถึงนั้นจึงเหมาะที่จะเป็นคุณแม่มากกว่าที่จะเป็นคุณพ่อ โดยการสร้างความสัมพันธ์ต่างๆ ระหว่างแบรนด์กับผู้ซื้อให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น Loyalty Program ต่างๆ ทั้งการสะสมแต้ม หรือสร้างสิ่งดึงดูดใจให้มีแนวโน้มที่จะซื้อมากขึ้น หรือสื่อสารให้ตรงใจ
เพื่อ Convert ให้จากผู้ที่เห็นคอนเทนท์มาเป็นผู้ที่ซื้อและใช้บริการได้อย่างเต็มตัว รวมไปถึงการได้ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับแบรนด์มากขึ้น เช่นการสร้าง Community ต่างๆ ให้กับสินค้าประเภทนั้นๆ เพื่อคอยรับฟังความเห็น และปรับปรุงให้เข้าใจและติดตาม Insight ของบรรดาคุณแม่ให้ได้อยู่เสมอ
บทความเพิ่มเต็ม..
โฆษณา