19 ส.ค. 2021 เวลา 04:43 • ปรัชญา
พระพุทธศาสนา แบ่งเรื่องราว ของมนุษย์ ที่สนใจ ในพุทธศาสนา ในรอยคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นพุทธบริษัทสี่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ที่เป็นผู้ที่สนใจฝึกหัดประพฤติปฏิบัติธรรม ไปตามคำสอนขององค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนให้เรารู้จัก เรื่องของทุกข์ เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด เรื่องราวการหนีทุกข์ จนที่สุดพ้นทุกข์ หมดทุกข์ เนื่องด้วยเรื่องของอริยสัจสี่
เรื่อง อริยสัจสี่ สองของแรก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องของทุกข์ เหตุที่เรามีทุกข์ จมอยู่กับทุกข์เหมือนกับ เราเกิดมาอาศัย กายนี้ เราก็ไม่เคย คำนึง ว่าชีวิตเรา ที่ดำเนินไป แสวงหาปัจจัย นั้นด้วยเรื่องราวอะไร ปรุงแต่งให้ไปแสวงหา ที่อยู่ที่กิน เจ็บป่วยแล้วตายไป เราใช้อะไรแสวงหา ใช้กายที่มีวิญญาณทั้งหก ไปมองไปหามา หากเรามีวิญญาณทั้งหกไม่ครบไม่สมบูรณ์มันจะเป็นอย่างไร กินอาหารอะไรมั้ย เห็นอะไรชัดเจนมั้ย ได้ยินเสียงอะไรมั้ย เราไม่เคยคำนึงถึง ยังหนุ่มสาวของพวกนี้มันยังแข็งแรงอยู่ มันก็ไม่เดือดร้อนเพลิดเพลินไปกับวิญญาณหก
พอสิ่งที่วิญญาณหกนี่เสื่อมไปเป็นธรรมชาติ มันเดือดร้อนมั้ย ไม่เดือดร้อน ไม่ยึดถือได้ ก็บุญของจิต ที่ไม่ไปทุกข์ร้อนกับเรื่องราวของกาย ที่มันเป็นธรรมชาติ ตั้งอยู่ดับไปได้ ทำใจได้ ทำใจไม่ได้ ก็คร่ำครวญ ไป เหมือนเราไปดูคนป่วยในห้อง ICU เค้าทุกข์มั้ย ดีมั้ย เค้าเพลิดเพลินมั้ย ตอนเจ็บป่วย แล้วนี้หรือ ธรรมะคือธรรมชาติ ธรรมชาติที่ให้ทุกข์เช่นนั้นหรือ ทำไมเกิดกับบางคน ทำไมไม่เกิดกับทุกคน สิ่งที่ว่า ธรรมะนั้นคืออะไร คนมีธรรม กับคนมีกรรม แตกต่างกันอย่างไร เมื่อยามเจ็บป่วย
มีผู้ที่เรานับถือ ท่านทำให้ดู หลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง มีสกรู หกตัวยึด ผ่าได้ประมาณ หนึ่งวัน ท่านก็ลุกขึ้นมานั่งฉัน ทำเหมือนปกติทุกอย่าง ท่านทำให้ดู ระหว่างเรื่องของจิตกับเรื่องของกาย เรื่องเจ็บป่วย เข้าห้องผ่าตัด ท่านก็บอกว่า ยาสลบข่มจิตท่านไม่ได้ ออกจากห้องผ่าตัดมา ท่านยังมาเล่าเรื่องที่หมอคุยกันในห้องผ่าตัดให้ฟัง ว่าหมอเค้ารีบยังไง มีงานต่อไปจะต้องไปทำ พอท่านละสังขาร หลังผ่าตัดหลังประมาณสิบปี จึงได้รู้ว่าสิ่งที่ทำให้ ปวดคือ สกรูตัวหนึ่งที่เหมือนกับไม่ได้ขันเลย ท่านก็มีเวทนาเรื่องนี้ แต่ท่านไม่พูดให้ใครฟังเลย ที่จริงท่านมีสัจจะอันหนึ่งที่ยากที่ใครจะทำได้ คือ เจ็บป่วยไม่บอกใคร มันจะตายตรงไหน ก็ชั่งมัน ที่ยอมไปผ่า เพราะเราไปเห็นเอง ว่ากระดูกสันหลัง เคลื่อนออกมา
เรื่องราวเหล่านี้ เคยถามท่านว่า เรื่องขันติบารมี ท่านบอกว่า องค์พระสิทธัตถะ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านมีความขันติมากที่สุดไม่ใครทำได้เสมอเหมือนท่านเลย เรื่องของการประพฤติ มันเกี่ยวเนื่องในเรื่องสัจจะบารมี ขันติบารมี เวลาท่านยืนสมาธิก็นิ่งไปเลย จากหกโมงเย็น ถึงเที่ยงคืน ท่านบอกว่า ความจริงท่านทำได้มากว่านั้น แต่เกรงใจพระที่ปฏิบัติด้วย
เรื่อง ราวของนิโรธ ถามท่าน ท่านบอกว่ายกขันธ์ห้าได้ ก็เข้านิโรธได้ หลังเข้านิโรธ ก็เป็นเรื่องของจิตอีกที่ไปศึกษาต่อออก เป็นดูสถานที่ต่างๆเป็นยังไง ซึ่งก็มีกฎเกณฑ์อีก ว่าไปได้แค่ไหน ขึ้นอยู่กับบุญบารมีอีก ศึกษาเพื่อมาชำระล้างจิตของตน ถอดมันทิ้งไป เป็นชั้นๆ ไป ชึ่งท่านบอกว่าให้รู้ไว้ เฉยๆ แค่นั้น เพราะเรายังทำไม่ได้ ไม่มีปัญญาที่จะทำได้ ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระเสขะ กับ พระอเสขะ ยากนักที่จิตปุถุชนน้อย จะรู้จัก เพราะท่านก็อยู่เป็นปกติ สบายๆของท่าน เราไม่รู้เลยว่ากำลังเรียนอยู่กับใคร ซึ่งก็แล้วบุญกรรมที่นำพาให้พบเจอ
เรื่องราว ของอริยสัจสี่ สองข้อหลัง เป็นเรื่องการ เดินหนีทุกข์ เรื่องการทำให้พ้นทุกข์ คือเรื่องราวของพระสิทธัตถะ ที่ท่านกระทำเป็นตัวอย่าง ว่าท่านทำอย่างไร เพื่อจะหลุดพ้น จากทุกข์ ก็เป็นเรื่องราวที่ เรื่องราวเหล่านี้ ท่านทำจนหลุดพ้น ขณะดำรงขันธ์อยู่ แล้วคำว่าหลุดพ้น นั้นเป็นอย่างไร ไม่มีใครทราบได้ จิตของตนเท่านั้น ที่รู้ได้เฉพาะตน
ท่านทำขึ้นมาแล้ว ก็มาบอกกล่าวแนะนำให้ ผู้ที่สนใจอยากรู้จัก สิ่งที่ตนอาศัยอยู่นั้น คือ อะไร ทำไมต้องมาเกิด แล้วตายไป จิตออกจากร่างแล้วไปไหน ไปอยู่ที่ไหนด้วยเรื่องราวของอะไร แล้วจะแก้ไขอะไรได้บ้าง เรื่องราวเหล่านี้ ไม่ใช่ว่าจิตทุกดวงที่เกิดมาในโลกจะได้พบเจอ หรือ บางทีเจอแล้วก็ ไม่สนใจ เพราะเราเข้าไปไม่ถึงเองต่างหาก มัวแต่มีทิฐิถือดี กดจิตของตน ปฏิเสธที่จะเรียนรู้ เห็นว่าไม่สำคัญ เหมือนอยู่กับอารมณ์ ก็ไม่รู้จักอารมณ์ อยู่กับกรรมก็ไม่รู้จักกรรม ไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลก เป็นแค่ของอาศัยชั่วขณะหนึ่ง มีชีวิตในโลก มีโลภโกรธหลงด้วยกันทั้งนั้น มีโลภโกรธหลง หลงว่าของๆในโลกนี้ เป็นของข้า ต้องยึดมาเป็นสมบัติตน แล้วก็ตายไปตามธรรมชาติ เกิดขึ้นดับไป แล้วจิตไปไหน ได้อะไรไป ได้ธรรมที่จิต หรือ กรรมที่จิต
กรรมที่จิตสะสมไว้ ด้วยการใช้กายวาจาใจ ไปตามอารมณ์ โลภโกรธหลงมีให้ยึดเป็นอัตตา แสวงหายึดว่าสิ่งของในโลกนี้ดี ต้องครอบครอง หักล้าง มาด้วย การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน แบ่งพรรคแบ่งพวก ที่โลกเมตตาให้ทั้งลมหายใจเท่ากันทุกคน แต่ก็ไม่เคยเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน แสวงหาความยิ่งใหญ่ ลาภยศสรรเสริญ มีปัญญาได้แค่นั้นหรือ แล้วแก่เฒ่าชรา ตายไป จิตมันยึดอยู่อย่างนี้ มันก็ต้องวนอยู่กับโลกนี้แหละ วนอยู่ตรงนี้ มีสังขารสัตว์อีกมากมายให้ไปสถิตย์จองจำพักอาศัย เป็นธรรมชาติ ด้วยกฎของกรรม ทำสิ่งใดไว้ สิ่งนั่นต้องรับชดใช้กรรม เพราะเราทำเอง
ภิกษุ ภิกษุณี เป็น ผู้มาขอนิสัย (เป็นเพียงสมมุติสงฆ์ จิตยังไม่เป็นพระ ไม่ใช่ว่าครองผ้าเหลืองแล้ว จิตจะเป็นพระเลย) เพื่อฝึกหัดประพฤติปฏิบัติธรรม เดินตามรอยคำสอนพระพุทธเจ้า ที่ไม่ต้องไปวิตกกังวลเรื่องการทำมาหากิน หาปัจจัยให้เหนื่อยยาก โดยอาศัยอุบาสกอุบาสิกา ที่ยังมีภาระยึดติดอยู่ ถวายปัจจัยบำรุง ผู้ที่มาประพฤติปฏิบัติธรรม ครองผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นเครืองหมายนักบวช ละทิ้งทรัพย์สมบัติ ลาภยศฐานบรรดาศักดิ์ ละเรื่องการคล้องเวรกรรม บวชชำระจิตให้สะอาดสะอ้าน เป็นจิตของพระ พอละเรื่องของโลภโกรธหลง พอละเรื่องราวของโลกสมมุติ อุปโลกน์ให้สร้างแต่งกรรม ไม่มีหยุด หยุดได้ จิตก็เป็นพระบริสุทธิ์ เป็นเยียงอย่างให้สัตว์โลก ได้ประพฤติดำเนินตามรอยให้พ้นทุกข์
ผ้ากาสาวพัสตร์ นี้ศักดิ์สิทธิ์ ห่มแล้วทำไม่ดี รักษาการประพฤติปฏิบัติธรรม สิ่งที่ได้มีแต่กรรม หนักๆ เพราะเป็นผู้อาสามาเดินไต่เส้นลวด ทรงตัวไม่ดี รักษาตัวไม่ดี น้ำหนักโลภโกรธหลงก็ถ่วง ตกลงไป ก็แหลกเท่านั่นเอง มีพระทีเคารพนับถือ ท่านเล่าให้ฟัง ว่า ที่เมืองนรก ราวเหล็กท่อนใหญ่ๆ ยังแอ่น รับน้ำหนักของผ้าที่นักบวชครองแทบไม่ไหว เพราะเมื่อตกลงไป เค้าให้ถอดผ้าไปไว้ที่ราวเหล็ก ลงไปแต่ตัว ไปอยู่ในสถานที่นั่น ตามเทวทัตไป
ถ้ากายนี้ ไม่ครอง ไตรจีวรผ้ากาสาวพัสตร์ เครื่องหมายนักบวช จะมีใครถวายปัจจัย ภัตตาหาร มิตราหาร หรือไม่ ก่อนถวายก็นอบน้อมกราบอีก กราบที่เครื่องหมายที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ กราบใคร หรือ กราบคนที่ครองผ้า เวลาที่มีคนว่า กราบผ้าเหลือง เค้ากราบด้วยจิตมุ่งไปที่องค์พระสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย กราบด้วยความนอบน้อม ด้วยขอพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
มีอยู่ครั้งหนึ่ง พระบวชใหม่ ออกจากโบสถ์มา หลวงตาท่านมาปูอาสนะ ให้พระบวชใหม่ จัดการให้เรียบร้อย ให้ขึ้นไปนั่ง แล้วบอกให้พ่อแม่เข้าไปกราบ ท่านบอกกับพระ บวชใหม่ให้นั่ง นิ่งทำจิตเฉยๆ ภาวนาพุทโธ เมื่อพระนั่งนิ่งแล้ว ท่านจึงบอกให้พ่อแม่กราบ เวลาพ่อแม่ ก็ให้ทำจิตกราบพระ ไม่ใช่กราบลูกชาย คือไม่ให้ไปยึดว่าเป็นลูกชาย ให้กราบที่เครื่องหมายผ้ากาสาวพัตร์ ที่มาของพากาสาวพัสตร์ ที่พระพุทธเจ้าท่านประธานให้ ผู้ที่มาครองมาฝึกหัด ขอนิสัยพระ
สมมุติ ว่าบวช พ่อแม่มากราบเรา เราจะทำใจอย่างไร แล้วถ้า เราเป็นพ่อแม่ เราจะมากราบ พระลูกชาย จะทำใจอย่างไร …..ปฏิบัติอย่างไร…
โฆษณา