19 ส.ค. 2021 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
อัฟกานิสถาน ประเทศที่มีขุมทรัพย์ 100 ล้านล้าน แต่ยังยากจน
8
รู้หรือไม่ว่าอัฟกานิสถาน ประเทศที่ความขัดแย้งกำลังทวีความรุนแรง
มีทรัพยากรธรรมชาติ มูลค่ากว่า 100 ล้านล้านบาท
แต่ชาวอัฟกานิสถาน กลับยังจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำ
โดยประชากรมี GDP เฉลี่ยต่อหัวเพียง 15,814 บาทต่อปี
ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 177 จากการจัดอันดับทั้งหมด 195 ประเทศ
5
แล้วอะไรกัน ที่ทำให้ประเทศที่แม้จะมีทรัพยากรมูลค่ามหาศาล
แต่ประชากรยังมีรายได้ต่ำ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
2
อัฟกานิสถาน คือประเทศที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่แห้งแล้ง และพื้นที่ภูเขาหินที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ
1
ประเทศแห่งนี้มีสภาพภูมิอากาศที่สุดโต่ง กล่าวคือในหน้าร้อนอุณหภูมิอาจสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส
2
ในขณะที่หน้าหนาวจะมีหิมะปกคลุมเกือบทั่วประเทศและอุณหภูมิบางพื้นที่ อาจจะติดลบ 10 ถึง 20 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม อัฟกานิสถาน ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติจำนวนมหาศาลอยู่ใต้ผืนดิน
3
โดยมีการประเมินกันว่าอัฟกานิสถานมีปริมาณน้ำมันดิบประมาณ 3,800 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นแหล่งที่ยังไม่ถูกค้นพบกว่า 1,600 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีกกว่า 44,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
6
นอกจากขุมทรัพย์ธรรมชาติในรูปแบบของเชื้อเพลิงแล้ว
ประเทศอัฟกานิสถาน ยังมีแหล่งแร่ กว่า 100 ล้านล้านบาท
5
โดยเฉพาะแร่ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมในปัจจุบันที่สกัดได้ยากกว่าแร่อื่น ๆ ซึ่งถูกคาดการณ์ว่าอาจมีมากถึง 1.4 ล้านตัน ถือว่ามีปริมาณมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
1
ยกตัวอย่างเช่น “ลิเทียม” เป็นแร่ที่ใช้ผลิตแบตเตอรี่คุณภาพสูง
1
โดยปริมาณแร่ลิเทียมในประเทศแห่งนี้มีมากถึงขนาดที่ว่าเอกสารภายในกองทัพสหรัฐฯ
ใช้คำว่า “ซาอุดีอาระเบียแห่งลิเทียม” เพื่อกล่าวถึงประเทศอัฟกานิสถาน
1
รวมถึงยังมีแร่ “นีโอดิเมียม” ที่ใช้สำหรับผลิตมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นชิ้นส่วนสำคัญในรถยนต์ไฟฟ้า ที่กำลังเป็นเมกะเทรนด์ของโลก
2
นอกจากนี้ อัฟกานิสถานยังมีโลหะมีค่าจำนวนมาก เช่น ทองคำ ทองแดง เงิน และเหล็ก ซึ่งจากการสำรวจของสำนักงานธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกาพบว่าอัฟกานิสถานอาจมีทองแดง 60 ล้านเมตริกตัน และแร่เหล็ก 2.2 พันล้านตัน
6
หรือแม้กระทั่งอัญมณีอย่าง ทับทิม ไพลิน ไพฑูรย์ ที่มีคุณภาพสูงก็สามารถพบได้ในอัฟกานิสถาน เช่นกัน
2
เมื่อมีขุมทรัพย์มากมายขนาดนี้ ประเทศอัฟกานิสถานก็น่าจะเป็นประเทศที่มีฐานะร่ำรวยเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ในความเป็นจริง กลับไม่เป็นเช่นนั้น..
5
และกลับกลายเป็นว่าประชากรส่วนใหญ่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ระหว่างหุบเขาเพื่อทำการเกษตรและเลี้ยงแกะซึ่งให้ผลผลิตต่ำ โดยชาวอัฟกานิสถานมี GDP เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่เพียง 15,814 บาทต่อปี
ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 177 จากการจัดอันดับทั้งหมด 195 ประเทศ
1
สาเหตุที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ชาวอัฟกานิสถานเผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่จำกัดการเจริญเติบโตของภาคเอกชน
ไม่ว่าจะเป็นการทุจริตคอร์รัปชัน ความไม่มั่นคงทางการเมือง โครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ และที่รู้จักกันดีคือ ความขัดแย้งของรัฐบาลกับกลุ่มตอลิบาน
1
โดยกลุ่มตอลิบาน ก็ถือเป็นผู้ที่เข้ามาหาประโยชน์จากการขุดเหมืองในอัฟกานิสถานที่มีปริมาณมากและสามารถทำเหมืองแร่ได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
3
ทำให้ทั่วประเทศมีเหมืองเถื่อนกว่า 2,000 แห่ง และในแต่ละเหมืองก็จะมีกลุ่มติดอาวุธหรือชุมชนในพื้นที่เป็นเจ้าของเหมือง
1
Cr.mgronline
ซึ่งเหมืองเหล่านี้เองที่เป็นแหล่งรายได้สำคัญของกลุ่มตอลิบานจากการดำเนินการขุดเหมืองเอง หรือการรับจ้างคุ้มครองเหมือง
3
ในขณะที่คู่ขัดแย้งอย่างรัฐบาลอัฟกานิสถาน ไม่สามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีค่าจำนวนมากที่มีอยู่ในประเทศได้อย่างเต็มที่
3
สะท้อนให้เห็นจากรายได้ทรัพยากรแร่ที่รัฐบาลอัฟกานิสถานทำได้มีไม่ถึง 2% เมื่อเทียบกับรายได้รวมของรัฐบาลต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าเพียง 1,300 ล้านบาท
2
โดยมีรายงานว่ารัฐบาลต้องสูญเสียรายได้อย่างน้อยปีละ 9,000 ล้านบาท
ให้กับเหมืองเถื่อนเหล่านี้มาตั้งแต่ปี 2001 คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียถึงปัจจุบัน มากถึง 180,000 ล้านบาท
 
ซึ่งรายได้จากเหมืองเถื่อนที่กลุ่มติดอาวุธได้ไปจากจังหวัด Badakhshan อาจมีมูลค่าใกล้เคียงกับรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติทั้งประเทศของรัฐบาลเลยทีเดียว
4
นอกจากความไม่สงบภายในประเทศจะทำให้รายได้ของอัฟกานิสถานหดหายไปแล้ว เรื่องดังกล่าวยังทำให้ค่าใช้จ่ายของภาครัฐฯ สูงขึ้นอีกด้วย
1
โดยในปี 2019 อัฟกานิสถานมีค่าใช้จ่ายด้านความมั่นคงสูงถึง 28% ของ GDP ซึ่งประเทศที่มี GDP ใกล้เคียงกัน มีตัวเลขนี้แค่ 3%
5
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สถานการณ์ทางด้านการเงินของประเทศยิ่งย่ำแย่ลง โดยอัฟกานิสถานเป็นประเทศที่มีการพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกจากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูงมาก
4
อีกทั้งการถอนกำลังทหารของประเทศพันธมิตร ที่นอกจากจะทำให้เงินสนับสนุนลดลงแล้ว
ยังทำให้รายได้จากภาคบริการภายในประเทศหดตัวลงอีกด้วย
5
ถึงแม้ในปัจจุบัน แร่ในประเทศอัฟกานิสถาน จะเป็นที่ต้องการของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ต้องการนำไปใช้ในการเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีของโลก หรือแม้แต่จีนในฐานะผู้ผลิตและส่งออกแร่หายากอันดับหนึ่งของโลก
6
แต่จากสถานการณ์ความขัดแย้งและความรุนแรงที่เราเห็นในปัจจุบัน
ก็ดูเหมือนว่าทรัพยากรทางธรรมชาติของประเทศอัฟกานิสถาน
มูลค่าระดับ 100 ล้านล้านบาท จะเป็นเพียงขุมทรัพย์ที่ต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าผู้คนที่เกิดและเติบโตขึ้นที่นี่ จะได้ประโยชน์จากมัน..
1
โฆษณา