แนวคิดการวางระบบเครือข่ายแบบ Zero Trust สอดคล้องกับธุรกิจมากขึ้น เพราะเป็นแนวคิดต้นแบบมาตรฐานที่สำคัญในการออกแบบระบบเครือข่ายให้มีความปลอดภัย ยิ่งในปัจจุบันหลายองค์กรมีนโยบายให้พนักงานทำงานจากภายนอก ( Work from home) โดยมีเครื่องมือที่สามารถเข้าถึง Server ภายในจากสถานที่ต่าง ๆ ได้ ซึ่งหากองค์กรนั้นใช้เครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกัน อาจถูกภัยคุกคามเข้าโจมตีโดยพนักงานเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่าตนเองเป็นต้นเหตุ
แนวคิด Zero Trust นี้เองจะช่วยให้ผู้บริหารนำไปต่อยอดและสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง มีความปลอดภัย ลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไม่ว่าพนักงานจะทำงานจากสถานที่ใดก็ตาม แต่หากองค์กรนั้นไม่สามารถนำไปต่อยอดและสร้างเครื่องมือเองได้ การใช้หลักการของ Identity and Access Management (IAM) ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมากในขณะนี้ เพราะเป็นหลักการที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย สามารถจัดการบริหารและพิสูจน์ตัวตนในการเข้าถึงของพนักงานในแต่ละตำแหน่งได้ ที่สำคัญสามารถตรวจสอบและป้องกันก่อนจะเกิดเหตุร้ายได้ทันทีอีกด้วย
ในบทความนี้จะกล่าวถึงหลักการ Identity and Access Management (IAM) คืออะไร มีเครื่องมืออะไรที่น่าสนใจ
Identity and Access Management คืออะไร
Identity and Access Management (IAM) หรือ การบริหารการพิสูจน์ตัวตนและการเข้าถึง เป็นการนำแนวคิดแบบ Zero Trust นั่นคือ “Never trust, Always verify อย่าเชื่ออะไรโดยที่ยังไม่มีการตรวจสอบ ” ซึ่งแนวคิดนี้คือการสร้างเครื่องมือเพื่อควบคุมสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานที่ถูกต้องตาม User roles ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลการเงินของบริษัทที่กำหนดให้เฉพาะฝ่ายบัญชีเข้าถึงได้เท่านั้น แต่ฝ่ายอื่น เช่น ทรัพยากรบุคคล จะไม่สามารถเข้าไปดูได้ เป็นต้น
ซึ่งผู้ดูแลระบบไอทีจะใช้หลักการ IAM ช่วยบริหารจัดการข้อมูลภายในองค์กรได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น สามารถกำหนดความเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึงนโยบายการจัดการรักษาข้อมูลและควบคุมการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ภายในองค์กรได้
หลักการ IAM คืออะไร มีหน้าที่อย่างไรบ้าง
วัตถุประสงค์หลักการ IAM คือจะกำหนด Digital Identity ต่อจำนวนผู้ใช้ หรือ ต่อหนึ่งอุปกรณ์ เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นเข้ามาสวยรอยและเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญได้ โดยมีหน้าที่คอยตรวจสอบ แก้ไข และเฝ้าระวัง Access ของผู้ใช้หรืออุปกรณ์นั้น ๆ ดังนี้
4. บริหารจัดการการใช้งาน และ สามารถลบข้อมูลของ User ในองค์กร
5. ช่วยให้ผู้ดูแลระบบบริหาร จำกัดการเข้าถึงและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ของ User
นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือที่เรียกว่า IAM Solution สำหรับใช้ในการควบคุม Access Control ทำให้ผู้ดูแลระบบไอทีสามารถควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายสำหรับ User แต่ละรายโดย 7 เครื่องมือ ดังนี้
1. Single Sign-On
Single sign-on (SSO) คือ การระบุตัวตนเพื่อเข้าใช้งานใน System โดยการพิสูจน์ตัวตนเพียงครั้งเดียว หาก User ต้องการเข้าใช้งาน Application อื่น ๆ ระบบ SSO ก็จะทำการ Log-in ให้เองโดยอัตโนมัติ จากนั้นจะตรวจสอบความถูกต้องของ User เมื่อต้องการเข้าถึง
2. Multi-Factor Authentication
Multi-Factor Authentication (MFA) คือ การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยในการยืนยันตัวตนของ User เช่น
จะเห็นได้ว่าหลักการ IAM เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจที่มีนโยบายให้พนักงานทำงานภายนอกองค์กร ( Work from home) โดย IAM เป็นระบบที่เน้นการทำงานแบบอัตโนมัติ ไม่ยุ่งยาก มีความปลอดภัยสูง ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะช่วยเพิ่มการแข่งขันและความยืดหยุ่นทางธุรกิจ สร้างโอกาสในการทำกำไรสามารถบริหารและจัดการพนักงานภายในองค์กรเป็นสัดส่วน อีกทั้งระบบนี้จะช่วยให้ User , Vender และ Partner ทางธุรกิจสามารถทำงานร่วมกันในระบบเดียวกันอย่างปลอดภัยโดยไม่จำกัดอุปกรณ์ สถานที่ เวลา ที่สำคัญไร้ความกังวลในการถูกโจมตีจากภัยคุกคามทางไซเบอร์อีกด้วย