21 ส.ค. 2021 เวลา 02:41 • ประวัติศาสตร์
วัดหลวงประชาบูรณะ อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
"วัดร้างสมัยทวารวดีที่นครชัยศรี"
วัดหลวงประชาบูรณะ เป็นวัดราษฎร์สังกัด
คณะสงฆ์มหานิกาย ตำบลท่าพระยา
อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
วัดหลวงเป็น วัดร้างมาจน ปี 2499 จากนั้น
พล.ต.ท.ประชา บูรณะธนิต ท่านมาพบ และ
ได้อุปถัมภ์ บูรณะฟื้นฟูวัด ให้มีพระจำพรรษา
ครั้นในงานทอดกฐินทางคณะกรรมการวัด
เห็นว่า ชื่อ "วัดหลวง" สั้นไปเลย เปลี่ยนชื่อเป็น
"วัดหลวงประชาบูรณะธนิต" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่
พล.ต.ท.ประชา บูรณะธนิต และทางวัดได้
จัดทำป้ายต้อนรับเป็นชื่อดังกล่าว
พอท่าน พล.ต.ท.ประชา บูรณะธนิต
มาถึงงานได้เห็นป้ายชื่อวัดใหม่
ท่านได้แนะนำให้ตัดคำว่า ธนิต ออกเป็น
"วัดหลวงประชาบูรณะ "
เนื่องจากเป็นการร่วมแรงร่วมใจของประชาชน
มิใช่ท่านเพียงคนเดียว วัดจึงมีชื่อว่า
"วัดหลวงประชาบูรณะ " เป็นต้นมา
ด้วยความกรุณาเอื้อเฟื้อข้อมูลจากท่าน
พระครูสังฆรักษ์สมชาย นาควโร เจ้าอาวาส
วัดหลวงประชาบูรณะ
ภายในวัดมีโบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่
ซากเจดีย์โบราณจำนวน 1 องค์ ส่วนฐานเป็น
รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างยาวด้านละ 18 เมตร
สูงประมาณ 3 เมตร ปัจจุบันทางวัดได้นำ
พระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้บนองค์เจดีย์
แล้วทำบันไดทางขึ้นไว้ทิศตะวันออก
ข้อมูลจากวาระสารเมืองโบราณ ระบุข้อมูล
เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยม ทรงปาละ กำหนด
อายุเจดีย์ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 13-15
 
พระอุโบสถอยู่ข้างซากพระเจดีย์
เป็นพระอุโบสถหลังใหม่
สร้างเมื่อ พศ. 2516 เป็นการสร้าง
ทับฐานอุโบสถหลังเก่า
ใบเสมาหินศิลาแลงโดยรอบมี
จำนวน 8 ใบ ทำจากหินทราย
สีแดงซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยอยุธยา
เสมาลักษณะดังกล่าวสันนิษฐาน
ว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับ
เสมาวัดสิงห์ และเสมาวัดท่าใน
ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน
เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิสร้างด้วยอิฐ
ฉาบปูนลงรักปิดทอง
พุทธศิลปะอู่ทอง รุ่น2 คือ พระพักตร์ค่อน
ข้างเหลี่ยม พระนาสิกแบน พระโอษฐ์แบะ
ปลายสังฆาฏิตัดตรงเหนือพระนาภี
ซึ่งวัดในระแวกกันเคียงกันก็มีปรากฎ
พระพุทธรูปแบบอู่ทองนี้ ได้แก่
วัดสิงห์และวัดท่าในซึ่งพระพุทธรูปทั้ง
3 องค์น่าจะมีการซ่อมแซมมาแล้ว
หลายครั้ง ตามกาลเวลา
โบราณวัตถุที่พบนอกเหนือจากนั้นที่น่าสนใจ
ได้แก่ กังสดานหิน (ระฆังทำด้วยหิน)
ซึ่งมักพบตามเมืองโบราณสมัยอาณาจักร
ทวารวดี เช่น นครปฐมเมืองเก่า
สุพรรณบุรี (อู่ทอง) ราชบุรี (เมืองคูบัว) เป็นต้น
เครดิตข้อมูล
วิกิพีเดีย วัดหลวงประชาบูรณะ
เพจ วัดหลวงประชาบูรณะ
วารสารเมืองโบราณ ปีที่8ฉบับที่3 หน้า28
เครดิตภาพถ่าย
เพจศฺรีทฺวารวตีศฺวร ปุณฺย
ภาพเก่าพระประธาน พ.พระพุทธ
โฆษณา