21 ส.ค. 2021 เวลา 03:06 • ปรัชญา
กาย อารมณ์ จิต
จืตของปุถุชน ที่อาศัย กายอยู่ จิตอยู่ในเรือนกาย อารมณ์นั้นอยู่ ข้างจิต จิตของเรายังไม่สะอาด ยังไม่เป็นจิต แท้จริง ซึ่งบางที่เค้าก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า อารมณ์นั้นอยู่เหนือจิต เหมือนเป็นของหนัก กดทับจิตเราไว้ อารมณ์นั้นให้ความรู้สึกนึกคิด ให้ทิฐิความคิด อารมณ์โลภโกรธหลง อารมณ์พอใจ อารมณ์ไม่พอใจ อารมณ์ราคะ ตัณหา มันเป็นลักษณะ เหมือนกับเราไปดื่มสุรายาเมา จิตสติของเรามันมึนเมาอ่อนต่ออารมณ์ แต่เราไม่รู้สึกตัว เพราะจิตเรามันเคยชิน หลงใหล ไหวไปตามอารมณ์ ตลอดเวลา ไม่เคย หยุดนิ่ง ถ้าทำกายให้นิ่งได้ จิตนิ่งได้ เราจะเข้าใจชัดเจน ว่าทิฐิความคิดเห็น ที่ออกมา เป็นลักษณะของเสียงนั้น มาจากอารมณ์ ลึกลงไป อารมณ์ที่ไหลออกมา ก็มาจากแม่ทั้งสี่ที่เราสะสมกรรม สร้างกรรมไว้เอง
ที่เรามีวจีกรรม ก็เนื่องด้วยอารมณ์ ทำตามอารมณ์ปรุงแต่งเป็นเสียงของกรรม ให้จิตผู้มีกรรม สร้างกรรม จมอยู่กับกรรม ที่สำคัญ เราจะแก้ไข เรื่องราวเหล่านี้ได้ อย่างไร มีทางเดียว คือ สะสมบุญกุศล กับ ปฏิบัติธรรมช่วยเหลือของตน ชำระสะสางสิ่งที่ไม่ดี ติดกับธาตุทั้งสี่ นั้นออกไป เหมือนเอา น้ำดีไป ชำระสะสางโคลนที่ติดกับสิ่งที่จิตคือตัวเราอาศัยอาศัยนั้นออกไป อารมณ์ทำให้หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน คำพูดคำจาเป็นอย่างไร กายสบายอารมณ์ไม่ไหลเข้าปรุงแต่ง จิตใจก็มีความสุข
แล้วทางไหนที่ทำอารมณ์ ไหลเข้ามาได้ ก็คือช่องทางผ่านวิญญาณหก สื่อมาให้จิตรับรู้ รับมาแล้ว กระทบภาพแสงสีเสียง ทางตา ทิฐิความคิดเห็นก็เกิด นั่นแหละ คืออารมณ์ ทีจะไปปรุงแต่งกดทับสติกดทับจิต แสดงกิริยากายวาจาใจตามอารมณ์ ที่ครองกายครองจิต เกิดเป็นสิ่งที่เค้าเรียกว่า ตัวกระทำ เรื่องของตัวกระทำ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดเข้าไปอีก ต้องอาศัยการประพฤติปฏิบัติธรรมลดละกรรมมาก ให้สีดำที่เก็บไว้ที่ธาตุทั้งสี่บางลง(ปกติเป็นสีดำแน่นเหนียว หนามาก) เป็นที่เค้าเรียกกันว่ากิเลสที่ร้อยรัดสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้หมุนเวียนไปตามกรรม ที่เราต้องแก้ไข จิตเราถึงจะเข้าไปเห็นเรื่องราวเหล่านี้ เห็นแล้วจะยิ่งกลัวกรรม ที่เป็นหลักฐาน ว่าเราสร้างเองทำเองทั้งนั้น จะทำยังไงจะแก้ไขได้ ตอนนั้น ที่จะกลัวการเกิด เกิดเมื่อไหร่ก็ทุกข์ ด้วยธาตุของกรรม ที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นสังขารกรรม หยุดเกิดได้เมื่อไหร่ ก็พบสุขที่แท้จริง
รู้จักกรรมได้แล้ว จึงคิดได้ว่าต้องหนีกรรม กรรมมันอยู่ที่ไหนนะ ถ้ารู้แล้วควรทำอย่างไร กับจิตของตัวเอง
โฆษณา