21 ส.ค. 2021 เวลา 07:08 • ประวัติศาสตร์
แพ้ง่ายเกินไปไหม!? เผย 5 ปัจจัย ที่ทำให้รัฐบาลอัฟกันพ่ายแพ้ต่อกลุ่มตาลีบันอย่างง่ายดาย!!
2
หลังจากเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน ค.ศ.2001 รัฐบาลสหรัฐฯ ภายใต้การบริหารประเทศของ จอร์จ ดับเบิลยู บุช. ได้ประกาศทำสงครามต่อต้านการก่อการร้าย และได้ส่งทหารเข้าไปกวาดล้างกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถาน โดยรัฐบาลสหรัฐฯ เชื่อว่ากลุ่มตาลีบันเป็นผู้ให้การสนับสนุนนายโอซามา บิน ลาเดน และสมาชิกกลุ่มอัลเคดา ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ 9/11
ภาพถ่ายประวัติศาสตร์ ในวินาทีที่ ปธน. จอร์จ ดับเบิ้ลยู. บุช ทราบข่าวการก่อการร้ายบนแผ่นดินสหรัฐฯ โดยกลุ่มตาลีบัน
หลังจากขับไล่กลุ่มตาลีบันออกจากประเทสอัฟกานิสถานได้สำเร็จ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและการทหารให้กับรัฐบาลอัฟกานิสถาน นับตั้งแต่วันนั้นจนถึงตอนนี้ก็กินระยะเวลานานกว่า 20 ปี ที่สหรัฐฯ ส่งกำลังทหารเข้าไปประจำการในประเทศอัฟกานิสถาน เพื่อทำการช่วยเหลือรัฐบาลอัฟกานิสถานในการกวาดล้างและไล่ล่าพวกตาลีบันที่ยังเหลือ
1
ขณะเดียวกัน ก็ยังมีทหารจากชาติสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือ NATO ที่ถูกส่งเข้ามาเพื่อสนับสนุนการรบในครั้งนี้ด้วย แต่ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า สหรัฐฯ คือเจ้าภาพหลักในงานนี้ โดยสถิติรายงานว่าเมื่อปี ค.ศ.2011 พวกเขามีกำลังทหารประจำการในอัฟกานิสถานมากกว่า 110,000 นาย เลยทีเดียว
1
ทหารสหรัฐฯ ได้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกองทัพอัฟกันมาตลอด 20 ปี เพื่อต่อสู้กับกลุ่มตาลีบันด้วยตัวเอง
ไม่เพียงเท่านี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังทุ่มเทงบประมาณเพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนรัฐบาลอัฟกานิสถาน โดยคาดหวังว่าสักวันหนึ่ง พวกเขาจะสามารถดูแลตัวเองได้ในอนาคต ในวันที่กองทัพสหรัฐฯ ถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน
3
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? เพราะกว่า 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ทุกสมัยได้ทุ่มเทกำลังทหารและงบประมาณให้กับอัฟกานิสถาน พวกเขาช่วยฝึกทหารและจัดหาอุปกรณ์ทันสมัยให้กับรัฐบาลอัฟกัน เพื่อรบกับกลุ่มตาลีบัน แต่ว่าหลังจากที่กองทัพสหรัฐฯ ถอนกำลังจากอัฟกานิสถานในปี ค.ศ.2021 รัฐบาลอัฟกันก็พ่ายแพ้ต่อกลุ่มตาลีบันอย่างง่ายดาย โดยกลุ่มตาลีบันสามารถยึดเมืองสำคัญ ๆ ของประเทศจากรัฐบาลได้ทีละเมือง จนกระทั่งสามารถยึดกรุงคาบูล เมืองหลวงของประเทศได้ในท้ายที่สุด
1
ภาพประชาชนชาวอัฟกันหลายร้อยคน ที่นั่งแออัดเบียดเสียดกันบนเครื่องบินขนส่งของกองทัพสหรัฐฯ
หลายคนน่าจะได้เห็นภาพประชาชนชาวอัฟกันพยายามหลบหนีออกจากประเทศโดยอาศัยเครื่องบินขนส่งของกองทัพสหรัฐฯ ด้วยความหวาดกลัวว่าจะถูกกลุ่มตาลีบันทำร้าย และล้างแค้นชาวอัฟกันทุกคนที่เคยช่วยเหลือสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ก่อนหน้า ผ่านทางสื่อจากหลายช่องทางกันแล้วมาบ้าง
1
อะไรคือสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้รัฐบาลอัฟกันพ่ายแพ้ต่อกลุ่มตาลีบันอย่างง่ายดาย ทั้ง ๆ ที่พวกเขามีพี่เลี้ยงอย่างสหรัฐฯ ค่อยให้การช่วยเหลืออยู่อย่างใกล้ชิด วันนี้เราจะมาหาคำตอบในเรื่องนี้กัน
1
1. ความล้มเหลวของหน่วยข่าวกรอง
กลุ่มตาลีบันสามารถยึดครองประเทศอัฟกานิสถานได้อย่างรวดเร็ว ชี้ชัดได้ว่าหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ล้มเหลวในการประเมินสถานการณ์ บิล ร็อคจิโอ รายงานกับสื่อดังอย่าง CNBC ไว้ดังนี้ว่า
2
'นี่คือความล้มเหลวที่ใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์วันตรุษญวน ที่รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรถูกโจมตีอย่างในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อปี ค.ศ.1968 เลยทีเดียว'
4
แผนผังความคืบหน้าในการรุกคืบเพื่อยึดประเทศอัฟกานิสถานของกลุ่มตาลีบัน
บิล ร็อคจิโอ กล่าวว่า กลุ่มตาลีบันได้เตรียมพร้อมอาวุธยุทโธปกรณ์และวางแผนเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อแผนการบุกครั้งใหญ่ หลังจากที่กองทัพสหรัฐฯ ถอนกำลังออกไปจากอัฟกานิสถาน โดยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองสหรัฐฯ เชื่อว่า ด้วยศักยภาพของรัฐบาลท้องถิ่นอัฟกันและกองกำลังทหารของพวกเขาจะสามารถต้านทานการบุกของพวกตาลีบันได้นานราว 6 เดือน – 1 ปี
แต่หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ประเมินสถานการณ์ผิดพลาด เมื่อกลุ่มตาลีบันใช้เวลาเพียง 90 วันเท่านั้นในการยึดครองประเทศและยึดกรุงคาบูล
เห็นได้ชัดเลยว่า หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ ประเมินศักยภาพของกลุ่มตาลีบันเอาไว้ต่ำเกินไป และประเมินศักยภาพของรัฐบาลอัฟกันไว้สูงจนเกินไปนั่นเอง
ภาพของผู้นำกลุ่มตาลีบันที่ได้ยึดทำเนียบประธานาธิบดีแห่งอัฟกานิสถาน ที่ถูกแพร่ภาพไปทั่วโลก
2. ไม่มีแรงจูงใจในการสู้รบ
กลุ่มตาลีบันแทบไม่ต้องใช้กำลังความรุนแรงในการบุกยึดกรุงคาบูล เพราะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นหลายคนเลือกที่จะยอมแพ้ นี่คือคำกล่าวของ แจ็ค วัตลิง นักวิจัยด้านสงครามทางบกและวิทยาศาสตร์ทางการทหารของสถาบัน Royal United Service Institute ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
ทหารชั้นผู้น้อยของรัฐบาลอัฟกัน ไม่มีแรงจูงใจในการรบกับกลุ่มตาลีบันเพื่อปกป้องประเทศ กล่าวคือพวกเขาขาดเจตจำนงที่จะต่อสู้ เพราะพวกเขาไม่เชื่อว่ารัฐบาลอัฟกันจะให้การสนับสนุนพวกเขา ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยมีรายงานข่าวเกี่ยวกับการคอรัปชั่นของรัฐบาลและกองทัพอัฟกัน ว่าเงินสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่เคยตกไปถึงมือทหารชั้นผู้น้อยเหล่านี้เลยด้วยซ้ำ และนั่นอาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พวกเขาไม่มีใจที่จะสู้รบเพื่อปกป้องประเทศ
5
แจ็ค วัตลิง นักวิจัยด้านการทหารจากสถาบัน Royal United Service Institute
ขณะเดียวกัน กลุ่มตาลีบันได้ยื่นข้อเสนอต่อทหารชั้นผู้น้อยที่ถูกผู้บังคับบัญชาที่ฉ้อฉลเอารัดเอาเปรียบทหารชั้นผู้น้อยด้วยการจับกลุ่มสมาชิกครอบครัวของผู้บังคับบัญชาเพื่อนำตัวมาลงโทษ บ้างก็ลอบสังหารบุคคลสำคัญ ๆ ในกองทัพเป็นตัวอย่าง พร้อมกับกล่าวว่า ถ้าทหารชั้นผู้น้อยเหล่านั้นยอมจำนน พวกเขาจะรอด ครอบครัวของพวกเขาจะปลอดภัย เพราะเหตุนี้เองกองทัพอัฟกันจึงพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว เพราะทหารเหล่านี้ไม่มีแรงจูงใจที่จะต่อสู้ให้กับรัฐบาลที่ไม่ได้สนใจใยดีพวกเขาเลยแม้แต่น้อยนั่นเอง
2
แม้จะได้รับการสนับสนุนจากพี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ แต่กองทัพอัฟกันกลับไร้ประสิทธิภาพจนพ่ายแพ้ต่อกลุ่มตาลีบันได้อย่างง่ายดาย
3. พี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ถอดใจ
เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศถอนกำลังทั้งหมดจากอัฟกานิสถาน นั่นเปรียบเสมือนการส่งสัญญาณไปยังตำรวจและทหารอัฟกันว่าจุดจบใกล้มาถึงแล้ว จนนำมาสู่การล่มสลายอย่างเฉียบพลัน
สตีเฟน บิดเดิ้ล ศาสตราจารย์ด้านกิจการระหว่างประเทศและกิจการสาธารณะของ Columbia University ได้กล่าวเอาไว้ว่า
'หลังจากที่เห็นคนอื่นยอมแพ้กันหมดแล้ว คงไม่มีใครอยากเห็นตัวเองเป็นคนสุดท้ายที่ยังยืนหยัดต่อสู้อีก'
3
นั่นคือคำกล่าวที่ทำให้เราได้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น เมื่อไม่มีพี่ใหญ่อย่างสหรัฐฯ คอยอุ้มชู รัฐบาลอัฟกันก็แทบหมดสภาพในการรักษาอธิปไตยของชาติทันที ส่วนหนึ่งเพราะพวกเขาไม่เคยเรียนรู้ที่จะยืนหยัดต่อสู้ด้วยตนเอง
1
ในเมื่อชาวอัฟกันไม่ยอมสู้เพื่อตัวของพวกเขาเอง แล้วทำไมชาวอเมริกันต้องไปสู้เพื่อพวกเขาด้วย? คำกล่าวของ ปธน.โจ ไบเดน
ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอย่าง โจ ไบเดน ได้ออกมาแถลงการณ์ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ว่า
'ทหารอเมริกันไม่สามารถต่อสู้และล้มตายในสงครามที่แม้แต่ชาวอัฟกันไม่เต็มใจสู้เพื่อตัวของพวกเขาเอง พวกเราให้โอกาสเขาทุกอย่างในการกำหนดอนาคตตัวเองแล้ว แต่พวกเราไม่สามารถให้เจตจำนงในการต่อสู้เพื่ออนาคตแก่พวกเขาได้' โจ ไบเดน กล่าวอย่างแข็งกร้าว
1
ต่อมา ประธานาธิบดีอัฟกันอย่าง อัชราฟ กานี ได้หลบหนีออกจากประเทศ โดยให้เหตุผลว่าเขาต้องการหลีกเลี่ยงความรุนแรงและการนองเลือด ขณะที่กลุ่มตาลีบันได้เข้ายึดกรุงคาบูลและยึดทำเนียบประธานาธิบดีพร้อมกับประกาศว่าสงครามกลางเมืองได้ยุติลงแล้ว
4
อัชราฟ กานี ประธานาธิบดีแห่งอัฟกานิสถาน
4. การทุจริตและการคอรัปชั่นของรัฐบาลและกองทัพอัฟกัน
1
การทุจริตและการคอรัปชั่นของรัฐบาลและกองทัพอัฟกัน คือปัจจัยสำคัญที่ทำให้กลุ่มตาลีบัน ที่มีจำนวนน้อยกว่าสามารถเอาชนะได้อย่างง่ายดาย แจ็ค วัตลิง นักวิจัยด้านสงครามทางบกและวิทยาศาสตร์ทางการทหารของสถาบัน Royal United Service Institute ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ กล่าวสรุปไว้ดังนี้ว่า
1
'กองทัพแห่งชาติอัฟกันประกอบด้วยหน่วยงานจำนวนมากที่มีการทุจริตอย่างเป็นระบบ ไม่มีคำสั่งและการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหน่วยของพวกเขามีกันกี่คน อุปกรณ์ส่วนใหญ่ของพวกเขาถูกถอดออกไป บางส่วนก็โดนขโมยไป บางส่วนก็ถูกขายทิ้ง ดังนั้นกองทัพอัฟกันจึงไม่มีความพร้อมในการรบเลยแม้แต่น้อย'
1
นอกจากนี้ วัตลิง ยังกล่าวด้วยว่า ทหารชั้นผู้น้อยของกองทัพอัฟกันได้รับเงินเดือนที่น้อยเกินไป พวกเขาขาดแคลนเสบียงและอาหาร ไม่ได้รับเบี้ยเลี้ยงที่สมน้ำสมเนื้อจากรัฐบาลกลาง บางคนก็แทบไม่ได้ปฎิบัติหน้าที่ และขาดการชี้นำที่ดีจากผู้บังคับบัญชา จนทำให้สงครามกับกลุ่มตาลีบันที่ผ่านมามีผู้บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก
3
ขณะเดียวกัน ยังมีกลุ่มทหารอัฟกันบางส่วน ที่แอบขโมยอาวุธยุทโธปกรณ์ไปขายให้กลุ่มตาลีบันไว้ต่อสู้กับทหารอัฟกัน รวมไปถึงยังมีรายงานการหนีทหาร และยอดจำนวนทหารที่สูงเกินจริงในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นช่องทางในการทุจริตอีกด้วย
ภาพของกลุ่มตาลีบันที่สามารถยึดหัวเมืองสำคัญ ๆ ของประเทศได้อย่างง่ายดายปรากฎอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก
5. รัฐบาลสหรัฐฯ มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัฟกานิสถาน น้อยเกินไป
ประเด็นสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ ล้มเหลวในอัฟกานิสถาน มาจากการที่พวกเขาขาดความเข้าใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งกล่าวได้ว่าประเทศแห่งนี้มีความแตกต่างอย่างมากกับสิ่งที่ชาติตะวันตกอย่างสหรัฐฯ เข้าใจโดยสิ้นเชิง
'ไม่เคยมีรัฐบาลกลางในประเทศอัฟกานิสถาน คิดหรือว่าพวกเขา (สหรัฐอเมริกาและชาติพันธมิตร NATO) จะสร้างอะไรแบบนั้นได้? มันเป็นเรื่องที่งี่เง่ามาก!' อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ และอดีตทหารผ่านศึกอัฟกานิสถานกล่าวถึงเหตุการณ์ที่กลุ่มตาลีบันสามารถยึดประเทศอัฟกานิสถานได้ในระยะเวลาอันสั้น ท่ามกลางความตกตะลึงของชาวอเมริกันเป็นจำนวนมาก
2
อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่มีชนเผ่า ภาษา ชาติพันธุ์ และนิกายทางศาสนามากมาย รัฐบาลสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรตะวันตกจาก NATO ส่งกำลังทหารเข้าไป เพื่อหวังเปลี่ยนแปลงให้พวกเขาเป็นประชาธิปไตยแบบที่ชาติตะวันตกนิยมเป็นส่วนใหญ่
ประเด็นก็คือ 'สหรัฐและชาติพันธมิตรล้มเหลวในขั้นพื้นฐานง่าย ๆ เลยว่า แท้จริงแล้ว ชาวอัฟกันต้องการอะไร? เราคิดว่าพวกเขาต้องการสิ่งที่ชาติตะวันตกมียังงั้นหรือ? เสรีภาพ? ประชาธิปไตย? ค่านิยมยิว? คริสเตียน? แล้วคิดหรือว่าชาวอัฟกันจะยอมเปลี่ยนแปลงโดยทันที นั่นไม่ใช่ประเด็น' ผู้สันทัดกรณีรายหนึ่งกล่าว
กลุ่มพันธมิตรชนเผ่าในอัฟกานิสถานทั้งหลายที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเป็นรัฐบาลกลาง พวกเขาขาดความภักดี หิวกระหายในอำนาจและเงินตรา แต่กลุ่มตาลีบันมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวปัชตุน (Pashtuns) ที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในอัฟกานิสถาน
1
กลุ่มตาลีบันที่ส่วนใหญ่มีสมาชิกเป็น ชาวปัชตุน (Pashtuns) กลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอัฟกานิสถาน
ผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า โดยพื้นฐานแล้ว รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนกลุ่มชนเผ่าที่เป็นส่วนน้อยให้ปกครองประเทศอัฟกานิสถาน โดยที่พวกเขาไม่มีความรู้ความเข้าใจในการรวมประเทศเป็นหนึ่งเดียวแม้แต่น้อย พวกเขาไม่เข้าใจหลักพลวัตของชนเผ่าในประเทศแห่งนี้ และไม่เคยคิดจะเข้าใจเสียด้วยซ้ำ ชาวตะวันตกคิดว่าชาวอัฟกันต้องการสิ่งที่ชาวตะวันตกมี แต่ไม่ใช่ มันขัดกับวัฒนธรรมและประสบการณ์จริงในชีวิตของชาวอัฟกันโดยสิ้นเชิง
2
นับตั้งแต่ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ได้เริ่มเจรจาหยุดยิงกับกลุ่มตาลีบันเมื่อต้นปี ค.ศ.2020 ได้ทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลอัฟกันดูแย่ลงไปอีก การเจรจาในครั้งนั้นของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้ทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาลอัฟกัน พร้อมกับสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มสุภาพสตรี ที่ยังจำภาพการกดขี่ข่มเหงของกลุ่มตาลีบันที่เป็นกลุ่มเคร่งศาสนา และจำกัดสิทธิเสรีภาพของผู้หญิงอย่างรุนแรง โดยกลุ่มตาลีบันเคยปกครองประเทศมาก่อนที่จะถูกกองทัพสหรัฐฯ ขับไล่ออกไปในปี ค.ศ.2001 จนทำใหพวกเธอสามารถกลับไปใช้ชีวิตและเรียนหนังสือได้อีกครั้ง
3
ยังมีความเห็นจากอดีตทหารผ่านศึกในอัฟกานิสถานแสดงความเป็นห่วงต่ออนาคตของชาวอัฟกันเหล่านี้ไว้ด้วยว่า
'ผมไม่เคยเสียใจกับสิ่งที่ผมได้ทำในอัฟกานิสถาน ผมรู้สึกเสียใจกับชาวอัฟกันที่ตอนนั้นพวกเขายังเป็นเด็ก แต่ตอนนี้พวกเขากำลังเติบโตเป็นวัยรุ่น และผมก็ทำได้เพียงแค่จินตนาการว่าพวกเขากำลังจะเผชิญหน้ากับอะไรต่อจากนี้'
1
ภาพของกองกำลังสหรัฐฯ ที่ปฎิบัติหน้าที่ในอัฟกานิสถาน
6. การปรับตัวของกลุ่มตาลีบัน **แถม**
ถึงแม้การถอนกำลังของกองทัพสหรัฐฯ จะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้รัฐบาลอัฟกันพ่ายแพ้ต่อกลุ่มตาลีบันอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังมีนักวิชาการบางส่วนที่มีความเห็นที่แตกต่างออกไป โดยพวกเขาอธิบายว่า กลุ่มตาลีบันเองก็มีการปรับตัวตามยุคสมัยมากขึ้นด้วยเช่นกัน
เคียสเทน ฟอนเทนโรสต์ ผู้อำนวยการของ Scowcroft Middle East Security Initiative กล่าวยืนยันถึงข้อนี้ว่า กลุ่มตาลีบันมีศักยภาพมากขึ้นนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 โดยเธอได้กล่าวกับสื่อ CNBC ไว้ดังนี้ว่า
1
เคียสเทน ฟอนเทนโรสต์ นักวิชาการจากสหรัฐฯ
'กลุ่มตาลีบันมีความเชี่ยวชาญมากขึ้นด้านการทหาร แต่ไม่ใช่ในแง่ของการบรรลุวัตถุประสงค์เดียวที่พวกเขามี นั่นคือการก่อตั้งรัฐอิสลามในประเทศอัฟกานิสถาน การพ่ายแพ้ของรัฐบาลอัฟกัน ไม่ได้เกิดจากการถอนตัวของกองทัพสหรัฐฯ'
เคียสเทน ฟอนเทนโรสต์ กล่าวอธิบายว่ากลุ่มตาลีบันได้วางกำลังล้อมกรุงคาบูล พร้อมกับตัดเส้นทางขนส่งสเบียงที่กองกำลังต้องหาร พร้อมกันนี้พวกเขายังมีสมาชิกใหม่เข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกับ พวกเขาก็ได้พัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามา
2
'กลุ่มตาลีบัน ใช้โซเชียลมีเดียได้ร้ายแรงพอ ๆ กับปืนสไนเปอร์ซุ่มยิง พวกเขาใช้สื่อโซเชียลในการกดดันและบีบบังคับผู้นำท้องถิ่น รวมถึงใช้แคมเปญข้อความที่เรียบง่ายและทรงประสิทธิภาพในการข่มขู่ชาวอัฟกันท้องถิ่นที่ทำงานใกล้ชิดกับสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรอื่น ๆ อีกด้วย' เคียสเทน ฟอนเทนโรสต์ กล่าว
1
นอกจากนี้ กลุ่มตาลีบันยังอนุญาตให้ผู้นำในแนวหน้าตัดสินใจด้วยตัวเอง และสามารถนำกองกำลังเข้าไปในดินแดนที่ยึดครองได้ เพื่อช่วยเหลือประชาชน และทำประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของกลุ่มตาลีบันใหม่
2
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้กลุ่มตาลีบัน สามารถเอาชนะกองกำลังอัฟกันและกองกำลังจากต่างชาติในแง่ของการดึงดูดที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ชาวอัฟกันร่วมมือกับพวกเขานั่นเอง
หลังจากนี้ ประเทศอัฟกานิสถานภายใต้การปกครองของกลุ่มตาลีบันที่ประกาศว่าพวกเขาได้ปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับโลกยุคใหม่ จะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป?
ข้อมูลจาก : BBC.COM. CNBC.COM
โฆษณา