22 ส.ค. 2021 เวลา 12:35 • ประวัติศาสตร์
• The Otsu Incident
เมื่อซาร์นิโคลัสที่ 2 เกือบถูกสังหารที่ญี่ปุ่น!?
ย้อนกลับไปในปี 1890 ประเทศรัสเซียหรือที่ในช่วงเวลานั้นคือจักรวรรดิรัสเซีย ได้ถูกปกครองโดยพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander III)
ตามธรรมเนียมปฏิบัติของราชสำนักรัสเซีย จะมีการส่งรัชทายาทหรือเชื้อพระวงศ์เดินทางไปศึกษาดูงาน (รวมไปถึงท่องเที่ยว) ตามประเทศต่าง ๆ
ดังนั้นพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 จึงได้ส่งพระราชโอรสของพระองค์ ซึ่งก็คือองค์รัชทายาทแกรนด์ดยุกนิโคลัส อเล็กซานโดรวิช (Grand Duke Nicholas Alexandrovich ) เดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศ
1
ซึ่งแกรนด์ดยุกนิโคลัสในวัย 22 พรรษาองค์นี้ ในเวลาต่อมาพระองค์ก็จะขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (Nicolas II) ผู้เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของรัสเซียนั่นเอง
ในการเดินทางครั้งนี้ นิโคลัสก็ได้เดินทางไปยังประเทศต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ อินเดีย สิงคโปร์ จีน รวมไปถึงสยาม โดยนิโคลัสยังได้เดินทางไปพร้อมกับเจ้าชายจอร์จแห่งกรีซและเดนมาร์ก (George of Greece and Denmark) ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระองค์
เมื่อถึงเดือนเมษายน 1891 นิโคลัสพร้อมด้วยเจ้าชายจอร์จก็ได้เดินทางมาถึงจุดหมายปลายทางสุดท้ายซึ่งก็คือญี่ปุ่น โดยขบวนของนิโคลัสก็ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากทางเจ้าชายอาริสุกาวะ ทาเคฮิโตะ (Arisugawa Takehito) เชื้อพระวงศ์และตัวแทนจากญี่ปุ่น ที่จะดูแลการเดินทางของนิโคลัสตลอดเวลาที่อยู่ในญี่ปุ่น
นิโคลัสขณะนั่งอยู่บนรถลากที่ญี่ปุ่น
แต่สำหรับนิโคลัสพระองค์ยังไม่รู้ว่า ที่ญี่ปุ่นนี้พระองค์กำลังจะเผชิญกับภัยอันตรายร้ายแรง จนเกือบจะทำให้พระองค์สิ้นชีพซะแล้ว ...
1
... ในช่วงเช้าของวันที่ 28 เมษายน 1891 ขบวนเดินทางของนิโคลัสได้วางแผนที่จะเดินทางไปยังกรุงเกียวโต โดยขบวนจะต้องเดินทางผ่านเมืองเล็ก ๆ ที่มีชื่อว่าโอสึ (Otsu)
1
โดยถนนในเมืองโอสึมีความคับแคบเป็นอย่างมาก และด้วยความที่ขบวนของนิโคลัสมีผู้ติดตามที่นั่งโดยสารอยู่บนรถลากมากกว่า 50 คัน รวมไปถึงมีชาวญี่ปุ่นที่อยู่แน่นขนัดอยู่สองข้างทาง ดังนั้นขบวนเดินทางของนิโคลัสจึงตัองค่อย ๆ เดินทางผ่านถนนในเมืองโอสึอย่างช้า ๆ
1
บรรยากาศถนนที่คับแคบของเมืองโอสึ
และในตอนนั้นเองก็ได้เกิดเหตุที่ไม่มีใครคาดคิดขึ้น เมื่อมีชายญี่ปุ่นคนหนึ่งได้ถือดาบยาวซามูไร ได้วิ่งพุ่งเข้ามาที่รถลากที่มีนิโคลัสนั่งประทับอยู่ ก่อนที่เขาจะใช้ดาบยาวเข้าทำร้ายนิโคลัส ท่ามกลางความตื่นตระหนกตกใจของผู้คนในบริเวณนั้น
2
เมื่อนิโคลัสถูกจู่โจมขนาดนี้ พระองค์จึงรีบลงจากรถลาก ก่อนที่จะวิ่งหนีเพื่อรักษาชีวิตของพระองค์ แต่ชายญี่ปุ่นคนนั้นก็ยังคงวิ่งตามเพื่อหมายจะเอาชีวิตขององค์รัชทายาทแห่งรัสเซีย
ในตอนนั้นเอง เจ้าชายจอร์จก็ได้รีบเข้ามาขวางเพื่อไม่ให้ชายผู้ก่อเหตุเข้าทำร้ายนิโคลัส โดยเจ้าชายจอร์จยังได้ใช้แท่งไม้ไผ่ที่อยู่ใกล้ ๆ เข้ามาปัดป้องและต่อสู้กับชายผู้ก่อเหตุ
เจ้าชายจอร์จวิ่งเข้ามาปกป้องนิโคลัส
สุดท้ายชายผู้ก่อเหตุก็ถูกคนขับรถลากของนิโคลัสกับเจ้าชายจอร์จจับกุมตัวไว้ได้ ส่วนทางด้านของนิโคลัสก็ได้ถูกนำตัวไปยังท่าเรือโกเบอย่างเร่งด่วน เพื่อนำไปรักษากับแพทย์ที่อยู่บนเรือลาดตระเวนของรัสเซีย
ซึ่งนับว่าโชคยังดี ที่นิโคลัสสามารถรอดชีวิตมาได้ แต่พระองค์ก็ได้รับบาดเจ็บโดยมีบาดแผลที่บริเวณหลังหู หน้าผาก รวมไปถึงที่ศีรษะ
หลังจากเกิดเหตุอันน่าสะเทือนขวัญ ก็ได้กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างมากในสังคมญี่ปุ่น รัฐมนตรีมหาดไทยและรัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นในตอนนั้นประกาศลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ ชาวญี่ปุ่นต่างประณามการกระทำของผู้ที่ก่อเหตุ พวกเขากลัวว่าเหตุการณ์ดังกล่าว จะทำความสัมพันธ์ของญี่ปุ่นกับรัสเซียสั่นคลอนได้
1
โดยสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิแห่งญี่ปุ่นก็ได้ทรงเดินทางมาที่กรุงเกียวโต เพื่อเยี่ยมพระอาการของนิโคลัส และแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ส่วนทางด้านของนิโคลัส พระองค์ก็ได้ทรงกล่าวในภายหลังว่า พระองค์ไม่ได้ถือโทษโกรธต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พระองค์มองว่าเหตุการณ์นี้ เป็นเพียงความน่าขยะแขยงของพวกหัวรุนแรงเท่านั้น
ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 1891 นิโคลัสก็ได้เดินทางกลับรัสเซีย โดยก่อนเดินทางกลับ พระองค์ยังได้ประทานรางวัลให้กับคนขับรถลาก 2 คน ที่สามารถจับตัวผู้ก่อเหตุ และช่วยชีวิตของพระองค์ไว้ได้
1
คิตาไกอิชิ อิติทาโร (Kitagaiichi Ititaro | ซ้าย) และ มูโกคาตา ซิซาบูโร (Mukokhata Dzisaburo | ขวา) คนขับรถลากที่ช่วยจับกุมผู้ก่อเหตุ
สำหรับชายผู้ก่อเหตุลอบปลงพระชนม์นิโคลัส แท้จริงแล้วเขาก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เพราะเขาก็คือเจ้าหน้าที่ตำรวจของญี่ปุ่น ที่ได้มาอารักขาความปลอดภัยในขบวนเดินทางของนิโคลัสนั่นเอง โดยชายคนนี้มีชื่อว่า สึดะ ซันโซ (Tsuda Sanzo)
สึดะ ซันโซ ชายผู้ก่อเหตุ
จากการสอบสวนพบว่า มูลเหตุที่ทำให้ซันโซก่อเหตุในครั้งนี้ ก็เป็นเพราะว่าซันโซมีแนวคิดชาตินิยมญี่ปุ่นแบบสุดโต่ง เขาจงเกลียดจงชังกับชาวตะวันตก และเขายังเชื่อว่าที่นิโคลัสเดินทางมาที่ญี่ปุ่น ก็เป็นแผนการที่รัสเซียวางไว้เพื่อที่จะเข้ายึดครองญี่ปุ่น
ซันโซถูกศาลพิพากษาให้จำคุกตลอดชีวิต แต่เมื่อถึงเดือนกันยายน 1891 ซันโซก็ได้เสียชีวิตลงในที่คุมขัง โดยเชื่อว่าเป็นเพราะเขาจงใจอดอาหาร
*** Reference
#HistofunDeluxe
โฆษณา