Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เล่าเรื่องการตลาด
•
ติดตาม
21 ส.ค. 2021 เวลา 07:52 • ธุรกิจ
รู้หรือไม่ว่า...
นับตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย. 64 เป็นต้นไป
ธุรกิจที่ยิงแอดโฆษณาบน Facebook
ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากมูลค่าแอดในแต่ละครั้ง
.
นับเป็นเรื่องใหญ่ที่แบรนด์ นักการตลาด หรือคนค้าขายออนไลน์ต้องรู้ไว้ เมื่อผู้ใช้บริการมีหน้าที่ต้องประเมินภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการยิง Facebook Ads ในแต่ละครั้งเอง หลังจากที่ทาง Facebook ออกมาประกาศว่าจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป
.
เพื่ออธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ หากกรณีที่เราตั้งงบการยิงแอดโฆษณาไว้ 1,000 บาท จะถูกหักไปเป็นค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% หรือคิดเป็นมูลค่า 70 บาท แปลว่าใช้ยิงเเอดได้จริงๆ เพียงประมาณ 930 บาทนั่นเอง อ่านถึงตรงนี้อาจจะคิดว่าแค่ 7% อาจไม่ได้รู้สึกกระทบอะไร แต่หากเทียบกับยอดสะสมรายเดือน หรือ รายปี อาจเป็นมูลค่าที่สูญหายไปไม่น้อย
.
ไม่เพียงแต่ธุรกิจ หรือ แบรนด์ที่ได้รับผลกระทบ แต่อาจรวมไปถึงการปรับเพิ่มของต้นทุนสินค้า ซึ่งส่งผลให้ราคาขายของสินค้าเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และสุดท้าย ผู้ที่ได้รับผลกระทบอาจกลายเป็นผู้บริโภค ดังนั้นควรคำนึงถึงต้นทุนและวางแผนให้ดี
.
Facebook ได้ออกนโยบายเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หลังจากที่นาย เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าเรื่องการจัดเก็บภาษี e-Service ในอัตรา 7% ต่อปี จากแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ให้บริการทางออนไลน์แก่ผู้ใช้บริการในประเทศไทย และมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
.
การออกมาประกาศเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับธุรกิจออนไลน์ในครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก หากย้อนกลับไปก่อนหน้านี้จะพบว่า กรมสรรพกร ได้มีการเพิ่มมาตรการเรียกเก็บภาษีสำหรับรายได้จากการขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และคาดว่าต่อไปคงจะได้เห็นการเรียกเก็บในกลุ่มธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มเติมอย่างแน่นอน
.
ที่มา
- พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ.2564
- กรุงเทพธุรกิจ
https://bit.ly/3z2jIk8
#เล่าเรื่องการตลาด #ภาษีFacebook
ติดตามบทความใหม่ๆ ได้ที่
FB :
https://www.facebook.com/photo/?fbid=206042618208203&set=a.204826338329831
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย